ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BenBoonnak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8884487 สร้างโดย BenBoonnak (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] [[เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)]]{{ผู้นำประเทศ
| name = เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
| image = Tipakornvong 1.JPG|200px|เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)
| imagesize =
| birth_date = [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2356]]
| birth_place =
| death_date = [[12 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2413]] (57 ปี)
| death_place =
| order =
บรรทัด 28:
| party =
}}
'''เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)''' ([[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2356]] - [[12 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2413]]) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่[[สมัยรัตนโกสินทร์]] ผู้ช่วยปลัดกรมท่า ปลัด[[กรมพระตำรวจ]] ผู้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ นักเขียน[[พระราชพงศาวดาร]] ผู้แต่งและผู้ตีพิมพ์หนังสือรวมทั้ง[[หนังสือแสดงกิจจานุกิจ]] หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[ภูมิศาสตร์]]และ[[ศาสนา]]ที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 37:
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีเข้ารับราชการในแผ่นดิน[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ในตำแหน่งนายพลพัน[[มหาดเล็ก]]หุ้มแพร ต่อมาได้เลื่อนเป็น''จมื่นราชามาตย์พลขันธ์'' ปลัดพระกรมตำรวจ
 
ถึงสมัยรัชกาลที่4 ได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยา ช่วยราชการกรมเจ้าท่า (ช่วยท่านบิดา) เมื่อ [[พ.ศ. 2394]] เมื่อท่านบิดาคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ซึ่งว่าราชการกรมท่าถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการกรมท่าแทนเมื่อ [[พ.ศ. 2408]] และเลื่อนให้เป็น ''เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกศาธิบดี'' แต่ทรงเปลี่ยนให้ใหม่เป็นเจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดีในภายหลัง เนื่องจากทรงพบว่านามที่ทรงตั้งให้เป็น "[[กาลกรรณี]]"
 
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีลาออกจากราชการสมัยปลายรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2410]] เนื่องจากมีปัญหาป่วยด้วยโรคตา ครั้นเมื่อถึงสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่งด้วยเห็นว่าเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์สูง เป็นผู้มีอัธยาศัยดี เที่ยงธรรม จึงโปรดสถาปนาให้มีอำนาจได้สำเร็จราชการในกิจการต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาคิดอ่านราชการแผ่นดินด้วย เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดีรับราชการต่อมาได้อีกเพียง 2 ปี ก็ถึงแก่พิราลัย
 
== ผลงาน ==
เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีรับราชการมาถึง 3 แผ่นดิน เมื่อครั้งเป็นจหมื่นราชามาตย์ดำรงตำแหน่งปลัดกรมพระตำรวจ ได้ทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายสำคัญ ๆ มากมาย รวมทั้งการจับผู้ร้ายแถบด่านปัจจมิตร เมื่อ [[พ.ศ. 2380]] ซึ่งจับผู้ร้ายได้มากถึง 30 คน ครั้งเมื่อโปรดให้ไปจับ[[ฝิ่น]]ทางหัวเมืองปักษ์ใต้ก็สามารถปราบและจับฝิ่นได้ตั้งแต่[[ประจวบคีรีขันธ์]]ไปถึงเมือง[[ถลาง]] นำฝิ่นที่จับได้มาเผาที่หน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ซึ่งได้โปรดเกล้าให้นำกลักฝิ่นมาหล่อเป็น[[พระพุทธรูป]]พระประธานใน[[ศาลาการเปรียญ]] [[วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร]] เมื่อระหว่าง [[พ.ศ. 2387]] ถึง [[พ.ศ. 2391]] ก็ได้ทำการปราบปราม[[อั้งยี่]]ขายฝิ่นตั้งแต่ปากน้ำ[[บางปะกง]] หัวเมืองชายทะเลตะวันตก รวมทั้งการปราบ[[จีนตั้วเหี่ย]]ที่เมือง[[ฉะเชิงเทรา]]
 
ในด้านการต่างประเทศเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดีได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะผู้แทน 5 ท่านเจรจากับเซอร์[[เซอร์จอห์น เบาริง]] ในพระนาม ซึ่งผู้แทนคณะนี้ประกอบด้วย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท]] สมเด็จเจ้าพระยาบรมบรมมหาประยูรวงศ์ผู้บิดา [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และเจ้าพระยารวิวงศ์โกษาธิบดี (ยศของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีขณะนั้น)
 
== ครอบครัว ==
บรรทัด 62:
[[หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยา]]
[[หมวดหมู่:สกุลบุนนาค]]
[[หมวดหมู่:ผู้เขียนบันทึกเหตุการณ์]]