ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม (ฮ้านโนม)
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 127:
* พระยาราชนิกูล และพระยาอภัยสงคราม นำทัพชาวลาว 2,000 คน ชาวเขมรป่าดง 11,000 คน รวม 13,000 คน ยกทัพจาก[[อุบลราชธานี]]ไปช่วยพระยาเดโชขุนนางกัมพูชาเจ้าเมืองกำปงสวาย
 
ทัพของพระยาราชนิกูลเดินทางออกจากเมืองพระตะบองในเดือนสิบสอง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2383) ร่วมกับทัพเขมรของพระยาเดโช เข้ายึดเมืองกำปงธมของฝ่ายญวนและตีทัพญวนที่ค่ายชีแครงแตกไป แต่หลังจากนั้นไม่นานองเตียนกุนเจืองมิญสางนำทัพมาตีทัพของพระยาราชนิกูลแตกไป ทัพของพระพิเรนทรเทพ (ขำ) พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) และเจ้าพระยานครราชสีมาออกจากเมืองโพธิสัตว์ในเดือนสิบสองเช่นกันเข้าล้อมเมืองโพธิสัตว์ไว้ทั้งสี่ด้าน เมืองโพธิสัตว์มี "องเดดก" อาจหมายถึงเลวันดึ๊ก (Lê Văn Đức, 黎文德) ป้องกันอยู่ส่งทหารญวนจากเมืองโพธิสัตว์ออกมาสู้รบ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้ขุนสนามเพลาะใช้ปืนระดงยิงใส่ป้อมเมืองโพธิสัตว์ฝ่ายญวนเสียชีวิตจำนวนมาก เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯทราบข่าวว่าทัพของพระยาราชนิกูลที่กำปงสวายถูกองเตียนกุนตีแตกไปแล้วและองเตียนกุนกำลังจะยกทัพมาช่วยเมืองโพธิสัตว์ จึงปรึกษากับเจ้าพระยานครราชสีมาว่าถ้าไม่สามารถยึดเมืองโพธิสัตว์ได้ก่อนที่องเตียนกุนจะมาถึงควรเจรจาสงบศึก เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเจรจาสงบศึกกับองเดดกเลวันดึ๊กองเดดก เลวันดึ๊กองเดดกยินยอมถอนกำลังออกจากเมืองโพธิสัตว์และทำสัญญาให้ฝ่ายเวียดนามทั้งหมดล่าถอยไปอยู่ที่เมืองโจดกอีกด้วย สร้างความไม่พอใจให้แก่องเตียนกุน เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงยอมให้ขุนนางญวนเดินทางออกจากเมืองโพธิสัตว์ไปแต่โดยดี เมื่อยึดเมืองโพธิสัตว์ได้แล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯเห็นว่าเมืองโพธิสัตว์มีเสบียงน้อยจึงให้ขุนนางเขมรรักษาเมืองและถอยทัพกลับไปอยู่ที่พระตะบอง
 
พระเจ้ามิญหมั่งมีพระราชโองการให้ "องตาเตียงกุน"ฝั่มวันเดี๋ยน (Phạm Văn Điển, 范文典) ยกทัพมาช่วยองเตียนกุน ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2384 โปรดฯให้นักองค์ด้วงไปที่เมืองพระตะบอง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯป่าวประกาศให้ชาวกัมพูชามาสวามิภักดิ์ต่อนักองค์ด้วง [[นักองค์แบน]]พระเชษฐภคินีของนักองค์มีมีหนังสือลับถึงนักนางเทพพระมารดาที่เมืองพระตะบองว่าจะหลบหนีมาอยู่ฝ่ายสยาม ฝ่ายเวียดนามจับได้เจืองมิญสางจึงนำนักองค์แบนไปทารุณกรรมที่เมืองล่องโห้และสำเร็จโทษนักองค์แบนด้วยการถ่วงน้ำในแม่น้ำโขง พระยาจักรี (หลง) และพระยายมราช (หู) ขุนนางเขมรฝ่ายญวนพยายามทูลขอโทษพระจักรพรรดิมิญหมั่งที่เมืองเว้แต่กลับถูกจับกุมและเนรเทศไปเมือง[[ฮานอย]] พระจักรพรรดิมิญหมั่งสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2384 ทัพของเจืองมิญสางและฝั่มวันเดี๋ยนที่เมืองพนมเปญมี 20,000 คน ฝั่มวันเดี๋ยนยกทัพ 3000 คน เข้าตีเมืองโพธิสัตว์แต่ไม่สำเร็จ เจ้าพระยาบดินทรฯจึงให้นักองค์ด้วยไปรักษาเมืองโพธิสัตว์ในเดือนมีนาคม ในเดือนเมษายนเจืองมิญสางนำนักองค์อิ่ม นักองค์มี รวมทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนางเขมรซึ่งถูกจองจำอยู่ที่เว้มายังเมืองพนมเปญเพื่อเกลี้ยกล่อมชาวกัมพูชาอีกครั้ง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงส่งนักองค์ด้วงไปอยู่ที่เมืองอุดงมีชัยเพื่อเกลี้ยกล่อมชาวเขมรเช่นกันโดยมีพระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) เป็นผู้นำทัพถึงเมืองอุดงในเดือนพฤษภาคม
บรรทัด 163:
* เหงียนกงเญินนำทัพบกจาก[[จังหวัดเต็ยนิญ]] (Tây Ninh, 西寧) ตามหลังสองทัพก่อนหน้านี้
 
เมื่อเดือนหก (พฤษภาคม) พ.ศ. 2388 นักองค์ด้วงค้นพบว่าพระยาจักรี (มี) ขุนนางกัมพูชามีหนังสือโต้ตอบกับฝ่ายเวียดนามให้เวียดนามยกทัพขึ้นมาแล้วตั้งเจ้าสตรีขึ้นครองกัมพูชาแทน จึงให้ประหารชีวิตพระยาจักรี (มี) รวมทั้งพรรคพวกรวมสิบเอ็ดคน ฝ่ายญวนเมื่อทราบว่าฝ่ายสยามทราบข่าวสงครามแล้วจึงเริ่มยกทัพเรือเข้าตีกัมพูชาในเดือนกรกฎาคม โตว๋นเอวิ๋นนำทัพเรือเข้ายึดเมืองกำพงตระแบกได้มาตั้งที่บึงกษัตริย์สระ (ខ្សាច់ស) เมืองบาพนม และเหงียนหวั่งฮว่างมาตั้งที่ค่ายโพธิ์พระบาท กองกำลังฝ่ายกัมพูชาไม่อาจต้านทานได้ถอยร่นมา ฝ่ายกรุงเทพฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) รีบรุดนำทัพออกไปเมืองอุดงมีชัยในเดือนกรกฎาคมโดยให้พระยาราชสุภาวดี (โต) อยู่ที่เมือง[[กบินทร์บุรี]]คอยส่งเสบียง หวอวันสายมีคำสั่งให้เหงียนวันเจืองผู้รักษาเมืองโจดกนำกำลังขึ้นไปหนุน เหงียนวันเจืองปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่าต้องป้องกันเมืองโจดก หวอวันสายจึงต้องเดินทางจากไซ่ง่อนมาบัญชาการด้วยตนเอง เหงียนวันเจืองนำทัพเรือขึ้นไปหนุนที่เมืองบาพนม พระจักรพรรดิเถี่ยวจิดำริจะฟื้นฟูมณฑลเจิ๊นเต็ยขึ้นอีกครั้งจึงแต่งตั้งให้หวอวันสายเป็น "องตาเตียนกุน" ตำแหน่งเดียวกับเจืองมิญสาง หวอวันสายเสนอให้ตั้งนักองค์ภิมธิดาของนักองค์อิ่มขึ้นครองเขมร แต่พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงไม่เห็นชอบด้วย
 
เกิดความขัดแย้งระหว่างเหงียนวันเจืองและหวอวันสาย เหงียนวันเจืองต้องการให้รีบเข้ายึดเมืองพนมเปญให้ได้ในฤดูน้ำหลากในขณะที่หวอวันสายต้องการรอให้กำลังพลมามากกว่านี้ เหงือนจิเฟืองและโตว๋นเอวิ๋นจึงงียนวันเจืองและโตว๋นเอวิ๋นยกทัพเรือจำนวน 2,000 คน ขึ้นไปตีเมืองพนมเปญในขณะที่หวอวันสายและเหงียนวันฮว่างอยู่ที่เมืองบาพนม เหงียนวันเจืองสามารถเข้ายึดเมืองพนมเปญได้ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2388 พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว) และกองกำลังสยามและเขมรต่างแตกถอนร่นจากพนมเปญไปยังเมืองอุดง เหงียนวันเจืองและโตว๋นเอวิ๋นรีบยกทัพขึ้นมาล้อมเมืองอุดง เนื่องจากหวอวันสายไม่ยอมยกทัพขึ้นมาช่วยเหงียนวันเจือง เหงียนวันเจืองจึงต้องแบ่งทัพ เหงียนวันเจืองตั้งอยู่ที่คลองพระยาลือ (ពញ្ញាឮ) ทางใต้ของเมืองอุดง ในขณะที่โตว๋นเอวิ๋นตั้งอยู่ที่กำพงหลวง (កំពង់លួង) ทางเหนือเพื่อปิดกั้นไม่ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯถอยกลับไปทางพระตะบองได้
 
ในการล้อมเมืองอุดงนั้นเอกสารฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนามให้รายละเอียดต่างกัน พงศาวดารไทยกล่าวว่าเมื่อฝ่ายเวียดนามเข้าโจมตีเมืองอุดงเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯสามารถนำทัพขับทหารเวียดนามออกไปได้และแบ่งกำลังออกไปตีค่ายกำพงหลวงและพระยาลือ ในขณะที่''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าทั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯและเหงียนวันเจืองต่างเห็นว่าการล้อมเมืองอุดงยืดเยื้อไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้นำไปสู่การเจรจาสงบศึก การเจรจาระหว่างสยามและเวียดนามเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2388 "องญวน"โตว๋นเอวิ๋นที่ค่ายพระยาลือส่งหนังสือมาถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ว่าให้นักองค์ด้วงส่งสาส์นไปถวายพระจักรพรรดิเถี่ยวจิยินยอมให้กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของเวียดนาม โดยฝ่ายเวียดนามนามจะส่งเจ้าสตรีและเชื้อพระวงศ์กัมพูชาคืนให้แก่นักองค์ด้วงและล่าถอยไปอยู่ที่เมืองพนมเปญ หลังจากการล้อเมืองอุดงเป็นเวลาห้าเดือน เหงียนวันเจืองและโตว๋นเอวิ๋นจึงถอนกำลังญวนทั้งหมดจากเมืองอุดงลงไปตั่งมั่นที่พนมเปญในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2389