ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ราวปี พ.ศ. 2309 ก่อนเสียกรุง พระยาตากได้นำทหารในบังคับบัญชาตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าไปทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา เพื่อรวบรวมผู้คนและยุทธปัจจัยต่าง ๆ มาสู้รบกับกองทัพพม่าอีกครั้ง ในระหว่างนั้นยังได้ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองระยอง เมื่อ ''เจ้าตาก'' เตรียมกำลังรบจนพร้อมสรรพแล้ว จึงได้เคลื่อนพลกลับไปยังกรุงศรีอยุธยาทางด้านปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] เพื่อทำการขับไล่ทหารพม่าที่ยังคงเหลืออยู่ออกไปได้สำเร็จ
 
== เบื้องหลัง ==
== เบื้อ ==
{{ดูเพิ่มที่|การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง}}
การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งวันที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น 7 เมษายน พ.ศ. 2310{{Ref_label|A|I|none}} เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริม[[ป้อมมหาชัย]] และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 169.</ref>
 
หลังจากกรุงแตกแล้ว กองทัพพม่าได้พักอยู่ถึงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310<ref>ขจร สุขพานิช. หน้า 270.</ref> ก่อนจะรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติแล้วยกทัพกลับ ในบรรดาเชลยนั้นมี[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]ไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้[[นายทองสุก|สุกี้]]เป็นนายทัพ คุมพล 3,000 คน ตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินตามกลับไปภายหลัง