ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหมา เจ๋อตง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
'''เหมา เจ๋อตง''' หรือ '''เหมา เจ๋อตุง''' ({{zh-all|s=毛泽东|t=毛澤東|p=Máo Zédōng|w=Mao Tse-tung}}; 26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 – 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า '''ท่านประธานเหมา''' เป็น[[นักปฏิวัติ]][[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]ชาวจีนที่กลายเป็นบิดาผู้ก่อตั้ง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]](PRC) ซึ่งเขามีบทบาทเป็น[[ประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน]] ตั้งแต่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1949 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1976 ด้วยอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนิน ทฤษฎีของเขา ยุทธศาสตร์การทหาร และนโยบายทางการเมืองของเขามักเป็นที่รู้จักกันโดยรวมคือ [[ลัทธิเหมา]]
 
เหมาเป็นลูกชายของชาวนาเจ้าของที่ดินใน Shaoshan, มณฑลหูหนาน เขาเป็นฝ่ายชาตินิยมจีนและมีทัศนคติต่อต้านจักรวรรดินิยมในช่วงชีวิตแรกของเขา และได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ของการปฏิวัติซินไฮ่ในปี ค.ศ. 1911 และขบวนการ 4 พฤษภาคมในปี ค.ศ. 1919 หลังจากนั้นเขาได้นำลัทธิมากซ์-เลนินมาใช้ ในขณะที่ทำงานในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน(CPC) ได้นำการก่อการกำเริบเก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 1927 ในช่วงสงครามกลางเมืองจีนระหว่าง[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]และพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมาได้ช่วยในการก่อตั้งกองทัพกรรมากรและชาวนาจีนหรือก็คือกองทัพจีนแดงในปัจจุบัน ภายใต้การนำโดยนโยบายที่ดินที่หัวรุนแรงของเจียงซี-โซเวียต และท้ายที่สุดก็กลายเป็นหัวหน้าของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วง[[การเดินทัพทางไกล]] แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะเป็นพันธมิตรชั่วคราวกับพรรคก๊กมินตั๋งภายใต้แนวร่วมที่สองในช่วง[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง]](ค.ศ. 1937-1945) สงครามกลางเมืองจีนก็ได้กลับมาอีกครั้งหลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนน และในปี ค.ศ. 1949 กองทัพของเหมาเอาชนะรัฐบาลฝ่ายชาตินิยมมาได้ ซึ่งก็ได้หลบหนีไปยังเกาะไต้หวัน
 
วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เหมาได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นรัฐที่มีพรรคเดียวที่ถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปีต่อมา เขาได้ส่งเสริมการควบคุมผ่าน[[รณรงค์ต่อต้านเจ้าของที่ดิน]] [[ปราบปราม"ผู้ที่ต่อต้านการปฏิวัติ"]] และ[[รณรงค์สามต่อต้านและห้าต่อต้าน]] และได้รับชัยชนะทางจิตวิทยาใน[[สงครามเกาหลี]] ซึ่งแม้ว่าจะมีชาวจีนหลายล้านคนได้เสียชีวิตลงก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1958 เหมาก็ได้มีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้เศรษฐกิจที่ได้วางแผนเอาไว้ในประเทศจีน สร้าง[[รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับ ค.ศ. 1954|รัฐธรรมนูญฉบับแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน]] เปิดตัวโครงการอุตสาหกรรม และริเริ่มโครงการ"[[ระเบิดสองลูก หนึ่งดาวเทียม]]" ในอีกทางหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1955-1957 เหมาได้เปิดตัวขบวนการซูฟานและรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวา ซึ่งมีผู้คนอย่าง 550,000 คนที่ถูกข่มเหงรังแกในช่วงหลัง ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพวกปัญญาชนและผู้คัดค้าน ในปี ค.ศ. 1958 เขาได้เปิดฉากนโยบายก้าวกระโดด ที่มุ่งเป้าหมายไปที่เศรษฐกิจของจีนอย่างรวดเร็วจากเกษตรกรรมสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพงที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ และมีประชาชนเสียชีวิตถึง 20-46 ล้านคนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1958 และ ค.ศ. 1962 ในปี ค.ศ. 1963 เหมาเปิดตัวขบวนการนักศึกษาลัทธิสังคมนิยม และในปี ค.ศ. 1966 เขาได้ริเริ่ม[[การปฏิวัติทางวัฒนธรรม]]เป็นโครงการที่จะลบส่วนหนึ่งของ"การต่อต้านการปฏิวัติ" ในสังคมจีนซึ่งกินเวลานานถึง 10 ปี และที่ดูโดดเด่นที่สุดด้วยการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างรุนแรง การทำลายศิลปวัตถุทางวัฒนธรรม และยกย่องบูชาต่อเหมาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มีประชาชนสิบล้านคนถูกรังแกข่มเหงในช่วงการปฏิวัติ ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนโดยประมาณตั้งแต่หลายแสนถึงล้านคนรวมไปถึงหลิว เส้าฉี ประธานคนที่สองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายหลังจากล้มป่วยมาหลายปี เหมาได้เกิดอาการหัวใจวายในปี ค.ศ. 1976 และถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 82 ปี ในช่วงยุคสมัยเหมา ประชากรชาวจีนได้เติบโตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 550 ล้านคนเป็นมากกว่า 900 ล้านคน ในขณะที่รัฐบาลไม่ได้บังคับใช้นโยบายการวางแผนครอบครัวอย่างเคร่งครัด จึงได้บังคับให้ผู้สืบทอดต่อจากเหมาอย่างนาย [[เติ้ง เสี่ยวผิง]] ต้องใช้[[นโยบายลูกคนเดียว|นโยบายที่เข้มงวด]]เพื่อรับมือกับ[[การมีประชากรมากเกินไป|วิกฤตที่เกิดขึ้นมากเกินไป]]