ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจียง ไคเชก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 76:
'''เจียง ไคเชก''' ({{lang-roman|Chiang Kai-shek}}; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตาม[[ภาษาจีนมาตรฐาน]] คือ '''เจี่ยง จงเจิ้ง''' (蔣中正) หรือ '''เจี่ยง เจี้ยฉือ''' (蔣介石) เป็นชาวจีนที่เป็นนักการเมืองฝ่ายชาตินิยม นักปฏิวัติ และผู้นำทหารที่ทำหน้าที่เป็น[[ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน|ผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีน]]ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1975 ครั้งแรกใน[[สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)|จีนแผ่นดินใหญ่]]จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1949 ต่อมาที่เกาะ[[ไต้หวัน]]จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม
 
เขาเกิดในมณฑลเจ๊เกี๋ยง([[เจ้อเจียง]]) เจียงเป็นสมาชิก[[พรรคก๊กมินตั๋ง]](KMT) และเป็นนายทหารระดับยศร้อยโทของ[[ดร.ซุน ยัตเซ็น]]ในการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจ[[รัฐบาลเป่ย์หยาง]]และรวมชาติจีนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยความช่วยเหลือจากโซเวียตและ[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน|คอมมิวนิสต์]](พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC)) เจียงได้จัดตั้งกองทัพใหม่ให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมกวางตุ้งของดร.ซุน และหัวหน้า[[วิทยาลัยทหารแห่งสาธารณรัฐจีน|โรงเรียนการทหารหวงผู่]] ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของ[[กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน]](จากที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักกัรนคือกันคือ [[Generalissimo|จอมพลสูงสุด]]) เขานำ[[การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ]] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 ถึง 1928 ก่อนที่จะเอาชนะกลุ่มพันธมิตรขุนศึกต่างๆและรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้รัฐบาลชาตินิยมใหม่ ครึ่งทางของการทัพ [[แนวร่วมที่หนึ่ง|ความเป็นพันธมิตรของพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีน]]ได้แตกหักกันและเจียงได้ทำ[[การสังหารหมู่เซี่ยงไฮ้|การปราบปรามคอมมิวนิสต์]]ภายในพรรค ก่อให้เกิด[[สงครามกลางเมืองจีน|สงครามกลางเมือง]]กับ[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]] ซึ่งในที่สุดเขาได้ประสบความพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1949
 
ในฐานะที่เป็นผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนใน[[ทศวรรษหนานจิง]] เจียงพยายามที่จะรักษาความสมดุลที่ยากลำบากระหว่างการปรับปรุงจีนให้มีความทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ทุ่มเททรัพยากรเพื่อปกป้องประเทศชาติจาก[[อุบัติการณ์มุกเดน|ภัยคุกคามจากญี่ปุ่นที่กำลังจะเกิดขึ้น]] จึงได้พยายามหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับญี่ปุ่น ในขณะเดียวกันก็ได้ทำสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์จีนต่อไป เขาได้ถูกจับตัวใน[[อุบัติการณ์ซีอาน]]และจำเป็นต้องจัดตั้ง[[แนวร่วมที่สอง|แนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่น]]กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายหลังจาก[[เหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล]]ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้ระดมพลทหารจีนสำหรับ[[สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง]] เป็นเวลาแปดปีที่เขานำสงครามต่อต้านกับศัตรูที่มีความได้เปรียบที่เหนือกว่ามาก ส่วนใหญ่มาจากเมืองหลวง[[ฉงชิ่ง]]ในยามสงคราม ในฐานะผู้นำของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ที่สำคัญ เจียงได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ [[วินสตัน เชอร์ชิล]] และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา [[แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์]] ใน[[การประชุมไคโร]]เพื่อประชุมหารือเกี่ยวกับการยอมจำนนของญี่ปุ่น ไม่นานหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]สิ้นสุดลง เขาก็ได้เริ่มทำสงครามกลางเมืองอีกครั้งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำโดย[[เหมา เจ๋อตง]] ฝ่ายชาตินิยมของเจียงส่วนใหญ่ได้ประสบความพ่ายแพ้ในการรบแตกหักไม่กี่ครั้งในปี ค.ศ. 1948