ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยเชื้อสายจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 85:
 
== ภาษาและวัฒนธรรม ==
[[กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้|กลุ่มภาษาไทย]] และ[[กลุ่มภาษาจีน]]นั้นมีหลักภาษาที่ใกล้กันโดยกลุ่มภาษาไทยจะวาง[[คำวิเศษณ์]]ใว้ไว้ข้างหลังและวาง[[กริยาวิเศษณ์]]ใว้ไว้ข้างหลังกรรมในขณะที่กลุ่มภาษาจีนจะวางใว้ไว้ด้านหน้าทั้งคำนามและกริยา จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้[[ภาษาไทย]]ได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำ[[ภาษาหมิ่นใต้]]จำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาหมิ่นใต้ในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาว[[แต้จิ๋ว]]ที่อยู่ใน[[กรุงเทพมหานคร]]เป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับ[[การแผลงเป็นไทย|สังคมภายนอก]]และที่บ้านเองก็พูดภาษาหมิ่นใต้กับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาเหล่านี้กับลูกหลาน อย่างไรก็ตามยังมีลักษณะหลายประการที่ภาษาไทยถิ่นกรุงเทพแท้เทียบกับภาษาไทยถิ่นสุพรรณบุรีแล้วมีหลักภาษาไม่ตรงกันเช่นหลายครั้งวางกริยาวิเศษณ์ใว้หน้ากริยาหรือรูปขยายความก็วางใว้หน้าบทประธานและบทกรรมซึ่งเป็นการลอกลักษณะทางภาษามาจากภาษาหมิ่นใต้โดยเฉพาะบางสำนวนคือนำคำในภาษาหมิ่นใต้มาเป็นคำไทยอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเรื่องสำเนียงก็เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาไทยถิ่นกรุงเทพจะต่างจากภาษาไทยสำเนียงอื่นชัดเจนรวมถึงการผันวรรณยุกต์เพราะเมื่อเทียบกับภาษาหนังสือแล้วจะไม่ตรงกันเท่าไหร่ ทำให้เกิดความลำบากกับต่างชาติในการเรียนภาษาไทย ปัจจุบันประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติตาม ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
 
[[ฮ่อ|ชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือ]]เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้[[ภาษาจีนกลาง|ภาษาจีน]] พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม