ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซี56 31"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Railway1234 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ประวัติ ==
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 [[กรมรถไฟหลวง|กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม]] ได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์เรื่องของทางรถไฟและสิ่งปลูกสร้าง,สะพาน, อาคารสถานี, ที่ทำการ, รถจักร, ล้อเลื่อน เนื่องจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของ[[สหประชาชาติ]]ได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิด[[รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50|มิกาโด]] (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ใน[[สหรัฐ|สหรัฐอเมริกา]] ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
 
นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ซี56_31"