ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังต้องห้าม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 161:
ตามธรรมเนียม พระราชวังต้องห้ามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก ({{linktext|外|朝}}) หรือส่วนหน้า ({{linktext|前|朝}}) ประกอบด้วยส่วนทางใต้ ถูกใช้ในวัตถุประสงค์ด้านการพระราชพิธี และเขตพระราชฐานชั้นใน ({{linktext|内|廷}}) หรือวังหลัง ({{linktext|后|宮}}) ประกอบด้วยส่วนทางเหนือ ถูกใช้เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์ และถูกใช้ในการบริหารกิจการรัฐประจำวัน (มีเส้นแบ่งโดยประมาณสีแดงตามแผนผังด้านบนเป็นเส้นแบ่งเขต) โดยทั่วไปแล้ว พระราชวังต้องห้ามมีแกนแนวตั้งเป็นสามแฉก อาคารที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ที่แฉกตรงกลางในแนวเหนือ–ใต้<ref name="Yu 25"/>
 
เมื่อเข้าจาก[[ประตูอู่]] จะพบกับพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีแม่น้ำสีทองที่คดเคี้ยวไหลผ่าน ซึ่งมีสะพานข้ามทั้งหมดห้าสะพาน เมื่อข้ามสะพานไป เบื้องหน้าจะเป็น[[ประตูไท่เหอ]] (F) ตั้งอยู่ โดยด้านหลังถัดไปจากประตูคือพื้นที่จตุรัสของพระตำหนักไถ่เหอ<ref name="Yu 49"/> ซึ่งเป็นพระตำหนักที่ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูงจากจตุรัสนี้ โดยมีพระตำหนักทั้งหมดสามองค์ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาว ซึ่งเป็นจุดสนใจของพระราชวังที่ซับซ้อนนี้ ประกอบด้วย (จากด้านทางใต้) [[พระตำหนักที่นั่งไท่เหอ]] ({{linktext|太|和|殿}}) [[พระที่นั่งจงเหอ]] ({{linktext|中|和|殿}}) และ[[พระที่นั่งเป่าเหอ]] ({{linktext|保|和|殿}})<ref name="Yu 48">p. 48, Yu (1984)</ref>
 
พระตำหนักไท่เหอ (พระตำหนักบรรสารสูงสุด) (G) เป็นพระตำหนักที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่สูงกว่าปริมณฑลโดยรอบประมาณ 30 เมตรเศษ พระตำหนักนี้เป็นศูนย์กลางพระราชอำนาจขององค์ฮ่องเต้ และเป็นโครงสร้างไม้ที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในประเทศจีน มีมุขกว้างเก้ามุขและมุขลึกห้ามุข <!--nine bays wide and five bays deep--> ซึ่งเลข 9 และ 5 เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงองค์ฮ่องเต้<ref name="DPM Elements">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/ |title=Yin, Yang and the Five Elements in the Forbidden City |accessdate=2007-07-05 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070701213540/http://www.dpm.org.cn/ |archivedate=1 July 2007 |df=dmy }}</ref> บนเพดานตรงกลางของพระตำหนักนั้นเป็นช่องทึบที่ถูกตกแต่งอย่างประณีตด้วยมังกรกำลังม้วนตัว ที่ปากของมังกรนั้นห้อยด้วยลูกโลหะทรงกลมปิดทองคำที่ถูกจัดไว้คล้ายกับโคมระย้า เรียกว่า "กระจก[[หวงตี้|ซวนหยวน]]"<ref name="Yu 253">p. 253, Yu (1984)</ref> ในสมัยราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์นี้ขึ้นเพื่อไว้ทรงบริหารราชกิจของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ชิง ฮ่องเต้เสด็จพระราชดำเนินมายังพระตำหนักนี้บ่อยครั้งขึ้น ทำให้พระตำหนักนี้ถูกใช้งานบ่อยขึ้น และพระตำหนักไถ่เหอนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการพระราชพิธีเท่านั้น เช่น [[พิธีราชาภิเษก|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] พระราชพิธีสถาปนา และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส<ref name="DPM Taihedian">{{cite web|url=http://www.dpm.org.cn/china/c/c2/c2a.htm |title=太和殿 (Hall of Supreme Harmony) |accessdate=2007-07-25 |author=The Palace Museum |language=Chinese |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20070617181501/http://www.dpm.org.cn/China/c/c2/c2a.htm |archivedate=17 June 2007 |df=dmy }}</ref>