ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Ajkangxi (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Horus
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Ajkangxi (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 143:
อดีต[[อาณาจักรปัตตานี|รัฐสุลต่านปัตตานี]]ซึ่งกินอาณาเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทยปัจจุบัน ได้แก่ [[จังหวัดปัตตานี]] [[จังหวัดยะลา]] [[จังหวัดนราธิวาส]] ตลอดจนบางส่วนของ[[จังหวัดสงขลา]]ที่อยู่ใกล้เคียง และส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของ[[ประเทศมาเลเซีย]]ส่วนที่อยู่ปลายคาบสมุทรมลายูปัจจุบันถูกราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์พิชิตในปี พ.ศ. 2328 [[สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452]] ยืนยันการปกครองของสยามเหนือดินแดนดังกล่าว ทว่า ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 รัฐบาลรัตนโกสินทร์ปล่อยให้ดินแดนดังกล่าวมีอำนาจปกครองตัวเองเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการคงกฎหมายอิสลาม จนในปี 2486 จอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม]] ริเริ่มกระบวนการ[[การแผลงเป็นไทย|แผลงเป็นไทย]] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกลืนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศ รวมทั้งชาวปาตานี<ref>[Thanet Aphornsuvan, ''Rebellion in Southern Thailand: Contending Histories'' {{ISBN|978-981-230-474-2}}] pp.35</ref> ในปี 2487 มีการใช้บังคับกฎหมายแพ่งของไทยในภูมิภาคปาตานีแทนการปกครองแบบอิสลามท้องถิ่นเดิม หลักสูตรในโรงเรียนมีการทบทวนให้ยึดไทยเป็นศูนย์กลาง และสอนเป็นภาษาไทย ศาลมุสลิมตามประเพณีถูกแทนที่ด้วยศาลแพ่งที่รัฐบาลกลางในกรุงเทพมหานครเห็นชอบ การกลืนวัฒนธรรมแบบบังคับนี้เป็นที่ระคายเคืองต่อชาวมาเลย์ปาตานี<ref>Umaiyah Haji Umar, ''The Assimilation of the Bangkok-Melayu Communities ''.</ref>
 
[[ไฟล์:Sultanate of Patani002.png|250px|thumbnail|แผนที่ของอาณาจักรปัตตานีก่อนรวมเข้ากับสยาม]]
ในปี 2490 [[หะยีสุหลง]] ผู้ก่อตั้งขบวนการประชาชนปาตานี เริ่มการรณรงค์ร้องทุกข์ โดยเรียกร้องอัตตาณัติ สิทธิทางภาษาและวัฒนธรรม และการใช้กฎหมายอิสลาม<ref name=RAND>{{cite web|url=https://www.hrw.org/reports/2007/thailand0807/3.htm|title=A Brief History of Insurgency in the Southern Border Provinces|work=Human Rights Watch|date=|accessdate=28 November 2014|archive-url=https://web.archive.org/web/20141205150439/http://www.hrw.org/reports/2007/thailand0807/3.htm|archive-date=5 December 2014|dead-url=no|df=dmy-all}}</ref> ในเดือนมกราคม 2491 สุหลงถูกจับฐานกบฏร่วมกับผู้นำท้องถิ่นอื่น และถูกตราว่าเป็น "ผู้แบ่งแยกดินแดน"<ref name=RAND/> ในเดือนเมษายน 2491 เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและชาวบ้านไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู เรียก [[กบฏดุซงญอ]] ต่อมา สุหลงได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในปี 2495 ก่อนหายตัวไปภายใต้พฤติการณ์น่าสงสัยในปี 2497<ref name=RAND/>