ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bebiezaza (คุย | ส่วนร่วม)
เขียนใหม่เลย ต่อเมื่อวาน +ปรับแก้ +เนื้อหา +ภาพ
บรรทัด 2:
{{Infobox airport
|name = ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา<br>[[ไฟล์:Roundel of Thailand.svg|60px]]
|location = [[เทศบาลนครอำเภอเมืองนครราชสีมา|อำเภอเมือง]] [[จังหวัดนครราชสีมา]]
|image = Korat Royal Thai Air Force Base - overhead.jpg
|caption = 4 พฤศจิกายน 2531
บรรทัด 23:
}}
 
'''ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา''' ({{lang-en|Korat Royal Thai Air Force Base}}) {{airport codes||VTUN}} ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมา [[จังหวัดนครราชสีมา]] เป็นที่ตั้งของกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]] ตั้งอยู่ห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร บริเวณทางตอนใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งในช่วง[[สงครามเวียดนาม]] ท่าอากาศยานนี้ถูกใช้เป็นฐานทัพของทหารสหรัฐในประเทศไทย
 
ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2529<ref>[https://minisite.airports.go.th/nakhonratchasima/content295.html?Action=view&DataID=194 ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานนครราชสีมาของกรมท่าอากาศยาน]</ref> แต่หลังจากนั้นปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ลง หลังจากเปิด[[ท่าอากาศยานนครราชสีมา]] ปัจจุบันใช้ในด้านการทหารเท่านั้น
 
== ฝูงบิน ==
ในปัจจุบัน กองบิน 1 มี 3 ฝูงบินย่อย คือ<ref>[https://wing1.rtaf.mi.th/images/history/AirCraffHistory-2.png อากาศยานที่เข้าประจำ ณ กองบิน 1]</ref>
* ฝูงบิน 101 โดยยังไม่ได้รับการบรรจุอากาศยานเข้าประจำการ
* ฝูงบิน 102 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)
* ฝูงบิน 103 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)
 
== โคปไทเกอร์ (Cope Tiger) ==
การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศจาก 3 ประเทศ ได้แก่ [[ประเทศไทย]] [[สาธารณรัฐสิงคโปร์]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน และหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย<ref>[https://wing1.rtaf.mi.th/index.php/exercise/cope-tiger การฝึกผสมโคปไทเกอร์]</ref>
 
== ประวัติ ==
[[File:Korat_Map_Detailed_1973.jpg|thumb|right|แผนที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2516]]
กองบิน 1 นครราชสีมามีประวัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เดิมเรียกว่า'''กองบินใหญ่ทหารบกที่ 1''' ขึ้นกับกรมอากาศยานทหารบก ตั้งอยู่ที่[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]ฝั่งตะวันตก (บริเวณอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ในปัจจุบัน)<ref>[https://wing1.rtaf.mi.th/index.php/2017-02-01-01-28-28/2017-02-01-01-56-55 ประวัติความเป็นมากองบิน 1]</ref>
=== กองบิน 1 ดอนเมือง ===
กองบิน 1 นครราชสีมามีประวัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 24602461 เดิมเรียกว่า'''กองบินใหญ่ทหารบกที่ 1''' ขึ้นกับกรมอากาศยานทหารบก ตั้งอยู่ที่[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]ฝั่งตะวันตก (บริเวณอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ในปัจจุบัน)<ref>[https://wing1.rtaf.mi.th/index.php/2017-02-01-01-28-28/2017-02-01-01-56-55 ประวัติความเป็นมากองบิน 1]</ref>
 
จากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น'''กองโรงเรียนการบินที่ 1''' หลังจากนั้นได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาการจัดหน่วยในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2479 ลงวันที่ 15 เมษายน 2479 ให้เปลี่ยนชื่อเป็น'''กองบินน้อยที่ 1''' และถือเป็นวันสถาปนากองบิน 1 ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น'''กองบิน 1'''ในวันที่ 1 ตุลาคม 2506
 
=== สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น ===
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 [[ประเทศญี่ปุ่น]] ได้สร้างลานบิน ณ พื้นที่ที่ตั้งของกองบิน 1 ในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานกองกำลังหนุนสำหรับกองกำลังของญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบ [[ประเทศไทย]]ได้เอาพื้นที่ลานบินคืน โดย[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]]ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วต่อจากญี่ปุ่น
 
ในวันที่ 24 ตุลาคม 2519 กองบิน 1 ได้ย้ายกองบินมาประจำอยู่ที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา จนถึงปัจจุบัน<ref>[https://wing1.rtaf.mi.th/index.php/2017-02-01-01-28-28/2017-02-01-01-56-55 ประวัติความเป็นมากองบิน 1]</ref> โดยในช่วงสงครามเย็น [[สหรัฐอเมริกา]]ได้เข้ามาขอใช้พื้นที่ของกองบิน 1 ในการทำสงครามกับ[[ประเทศเวียดนามเหนือ]] จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม
 
== ดุเพิ่ม ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่}}