ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิมพิสารราชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 28:
}}
{{เจ้าผู้ครองนครแพร่แห่งราชวงศ์เทพวงศ์}}
'''พระยาพิมพิสารราชา''' หรือ '''เจ้าหลวงพิมพิสาร''' ทรงเป็น[[รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่|เจ้าผู้ครองนครแพร่]] องค์ที่ 24 (องค์ที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์เทพวงศ์]]) ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองนครแพร่ต่อจาก[[พระยาอินทวิไชย]]ผู้เป็นราชมาตุลาของพระองค์แม่เจ้าบัวไหล
แม่เจ้าบัวไหล เป็นราชเทวีในเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ องค์ที่ 22 และเป็นแม่เจ้าหลวงแห่งนครแพร่
 
แม่เจ้าบัวไหล
แม่เจ้าบัวไหล.jpg
พระนาม
แม่เจ้าบัวไหล
พระอิสริยยศ
พระชายาในเจ้านครแพร่
ฐานันดรศักดิ์
แม่เจ้า
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ
พ.ศ. 2390 นครน่าน
พิราลัย
พ.ศ. 2475 เมืองเชียงราย
พระบิดา
พระยาไชยสงครามพะเยา
พระมารดา
เจ้านางอิ่น (ชาวไทยอง)
พระสวามี
เจ้าพิริยเทพวงษ์
พระราชบุตร
7 องค์
พระประวัติ
ราชโอรส-ธิดา
ราชกรณียกิจ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แม่เจ้าสุชาดาราชเทวี เป็นพระธิดาในพระยาศรีสุริยวงศ์ (มังไชย) เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 18 และเป็นพระชายาในพระยาเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 19.
 
==พระประวัติ==
เส้น 159 ⟶ 130:
{{อายุขัย||2429}}
[[หมวดหมู่:เจ้าผู้ครองนครแพร่]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์เทพวงศ์]]ประวัติ
ภาพคุ้มเจ้าหลวงในอดีต เมื่อราว 100 ปี ก่อน
ภาพคุ้มเจ้าหลวงในอดีต เมื่อราว 100 ปี ก่อน
คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าพิริยเทพวงษ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น และจัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในปีพ.ศ. 2435 คุ้มนี้งดงามใหญ่โตเพราะเงินคงคลังในสมัยพระยาพิมพิสารราชานั้นมีมาก ตกมาถึงรุ่นเจ้าพิริยเทพวงษ์ผู้เป็นลูก จึงสามารถสร้างคุ้มใหม่หลังใหญ่ได้ แม้ว่าในปี พ.ศ. 2433 เป็นปีที่เมืองแพร่ฝนแล้งราษฎรทำนาได้หนึ่งส่วน เสียสี่ส่วนต้องเปิดคลังหลวงไปช่วยราษฎรก็ตาม แต่เมืองแพร่ยังมีเงินมากพอที่จะสร้างสถาปัตยกรรมงดงามล้ำค่าหลังนี้ขึ้นมาได้[1]
 
ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในเมืองนครแพร่ ทำให้เจ้าพิริยเทพวงษ์ได้หลีภัยการเมืองไปอยู่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และไม่ได้มาอีกจนถึงพิราลัย สยามจึงได้ยึดราชสมบัติ และคุ้มของเจ้าหลวง และได้ใช้เป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯ ที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวงเคยมีคอกม้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เมื่อปี พ.ศ. 2454 พระยานิกรกิตติการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่คนที่ 4 ได้ย้ายโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ โรงเรียนหนังสือไทยตัวอย่างตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มาตั้งอยู่ตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวง โดยโรงเรียนนี้เมื่อแรกก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า "โรงเรียนเทพวงษ์" ตามนามของเจ้าพิริยเทพวงษ์ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 เมื่ออาคารเรียนไม้สักสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากมหาชนชาวเมืองแพร่ทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดีและได้รับบริจาคไม้สัก 100 ท่อน จากพระยาบุรีรัตน์ คุ้มวงศ์บุรี กรมที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" ลงวันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายและเป็นพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แต่ต่อมาโรงเรียนก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล คือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ในปัจจุบัน ส่วนคุ้มเจ้าหลวงก็กลายเป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ จนเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ คุ้มเจ้าหลวง หลังนี้ยังเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบัน และสาธารณะ ประจำปี 2540
 
ปัจจุบัน คุ้มเจ้าหลวงเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เข้าชมเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา โดยไม่เสียค่าเข้าชม[2]