ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบินไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
== ประวัติ ==
{{บทความหลัก|ประวัติการบินไทย}}
<!-- เดี๋ยวจะมารวบบทความกับคงต้องใส่เฉพาะเหตุการณ์สำคัญสั้น ๆ + กำลังแก้บทความ "ประวัติการบินไทย" -->
=== เริ่มก่อตั้ง ===
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 [[รัฐบาลไทย]]ดำเนินการให้ ''[[บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด]]'' ({{lang-en|Thai Airways Company Limited}}; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับ [[สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม|สายการบินสแกนดิเนเวียน]] ({{lang-en|Scandinavian Airlines System}}; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ [[24 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2502]] จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 ''บริษัท การบินไทย จำกัด'' จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
บรรทัด 42:
=== พ.ศ. 2540 : ก่อตั้งพันธมิตรการบิน และ ขยายเส้นทางบิน ===
 
วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 การบินไทย ร่วมกับสายการบิน[[ลุฟต์ฮันซา]], [[แอร์แคนาดา]], [[สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม|เอสเอเอส]], และ [[ยูไนเต็ดแอร์ไลน์]] ก่อตั้งพันธมิตรการบินแห่งแรก และใหญ่ที่สุด [[สตาร์อัลไลแอนซ์]] ขึ้น จากนั้นจึงเริ่มขยายที่หมายการบินใหม่ไปยัง [[เฉิงตู]], [[ปูซาน]], [[เชนไน]], [[เซียะเหมิน]], [[มิลาน]], [[มอสโก]], [[อิสลามาบาด]], [[ไฮเดอราบัด]] และ [[ออสโล]]
 
ในวันที่ 29 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2545 การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ แวะกรุง[[เอเธนส์]] ไปกรุง[[เจนีวา]]
 
ในปี พ.ศ. 2548 การบินไทยได้เปิดเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพ {{ndash}} [[นิวยอร์ก]] ด้วยเครื่องบินแบบ [[แอร์บัส เอ 340|แอร์บัส เอ 340-500]] ถือเป็นเที่ยวบินตรงเส้นทางแรกสู่[[สหรัฐอเมริกา]] ต่อมาได้เปลี่ยนเที่ยวบินตรงไปยัง[[ลอสแอนเจลิส]]แทน แต่เนื่องด้วยเครื่องบินรุ่นนี้ใช้น้ำมันมากจึงได้ระงับไปในปี พ.ศ. 2551 แม้จะมีผู้โดยสารจองที่นั่งกว่าร้อยละ 80 ก็ตาม
 
ในปี พ.ศ. 2549 การบินไทยได้ย้ายฐานการปฏิบัติการไปยังสนามบินใหม่ [[สนามบินสุวรรณภูมิ]] พร้อมกันนี้ การบินไทยได้ปรับภาพลักษณ์ของสายการบินใหม่ ตั้งแต่นำเครื่องบินรุ่นใหม่มาปฏิบัติการบิน ปรับปรุงที่นั่งรุ่นเก่าให้เป็นรุ่นใหม่ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนการให้บริการภาคพื้น และ บนเครื่องบินอีกด้วย เปิดเส้นทางใหม่ไป [[โจฮันเนสเบิร์ก]] ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549
 
=== พ.ศ. 2550 : ปรับฝูงบิน และ ครบรอบ 50 ปีการบินไทย ===
ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี การบินไทย [[ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์|ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์]] ผู้อำนวยการใหญ่ ในขณะนั้น ได้ตั้งเป้าหมายในอนาคตของการบินไทย โดยสร้างแผนงานในการนำฝูงบินใหม่ มาทดแทนฝูงบินเก่า และปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น โดยวางแผนซื้อเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 787 และ แอร์บัส เอ350 รวมไปถึงการนำเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 747 และ 777 มาปรับปรุงห้องโดยสารใหม่อีกด้วย
 
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ TG8830 จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปกลับ[[ท่าอากาศยานนานาชาติไคโร]]<ref>[http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000014808 กต.ส่งเครื่องบินรับคนไทยในอียิปต์ รอบ 2 คาดถึงไทยพรุ่งนี้เช้า]</ref>
 
การบินไทย กลับมาบินสู่ [[ลอสแอนเจลิส]] อีกครั้งในวันที่ [[1 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2555]] โดยแวะพักที่[[โซล]] ด้วยเครื่องบินแบบ [[แอร์บัส เอ 340|แอร์บัส เอ 340-600]] และปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย [[โบอิง 777|โบอิง 777-200ER]] สำหรับเส้นทาง กรุงเทพ {{ndash}} โซล {{ndash}} ลอสแอนเจลิส
 
วันที่ 24 กันยายน 2556 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ บมจ.การบินไทย ดำเนินโครงการลงทุนจัดตั้งสาย[[การบินไทยสมายล์]] โดยจัดตั้ง บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยในเครือของ บมจ.การบินไทย ซึ่ง บมจ.การบินไทย ถือหุ้นร้อยละ 100 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สายการบินไทยสมายล์เป็นสายการบินภูมิภาค มีเครือข่ายการเชื่อมต่อผู้โดยสารทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.การบินไทยในขณะนั้นมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 51.03 และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงทำให้บริษัท ไทยสมายล์มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย<ref>http://www.gprocurement.go.th/wps/wcm/connect/b301d121-214d-476b-b62e-a8b200938e3a/mof04213_c106_020359.pdf?MOD=AJPERES&CACHEID=ROOTWORKSPACE-b301d121-214d-476b-b62e-a8b200938e3a-lZDGI7S หนังสือกรมบัญชีกลาง ลงวันที่ 2 มีนาคม 2559]</ref>
 
[[ไฟล์:Thai Airways Building.JPG|160px|thumb|สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต]]
 
=== พ.ศ. 2558 : ยกเลิกเครื่องบิน ยกเลิกเที่ยวบิน ครบรอบ 55 ปี การบินไทย ===
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 การบินไทยและการบินไทยสมายล์มีเครื่องบินที่ทำการบินรวมกันมากถึง 102 ลำ มากที่สุดในประวัติศาสตร์
 
วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินจาก[[ท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ]]มา[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ในเที่ยวบิน TG991 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย
 
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747-400BCF เที่ยวบินจาก[[อัมสเตอร์ดัม|ท่าอากาศยานนานาชาติอัมสเตอร์ดัม สคิปโฮล]]มา[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ในเที่ยวบิน TG899 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย
 
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747-400BCF เที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG897 แฟรงเฟิร์ต-กรุงเทพ
ก่อนปลดประจำการเครื่องบินรุ่นดังกล่าวและปลดเครื่องบินแบบ A340-600 ลำสุดท้ายในวันที่ 28 มีนาคม<ref>http://airlineroute.net/2015/02/18/tg-346-mar15/</ref>ให้บริการเที่ยวบินสุดท้ายในเที่ยวบิน TG923 แฟรงก์เฟิร์ตมากรุงเทพ
 
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินจาก[[ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว]]มา[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] เป็นเที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG975 และกลับมาบินอีกครั้ง ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559
 
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558 ในเที่ยวบิน TG949 บริการเส้นทางไป[[ท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัส]]มา[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]เที่ยวบินสุดท้ายก่อนยกเลิก และ บริการเที่ยวบินจาก[[ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส]]มา[[ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน]]มา[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] เที่ยวสุดท้าย ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ในเที่ยวบิน TG693 <br>การบินไทย เปิดโฆษณา ปลายทางคือคุณ เป็นเพลงฉลองครบรอบ 55 ปี และจัดโปรโมชั่นให้ผู้โดยสาร<ref>http://thaiairways.com/offers/royal-orchid-plus-promotions/th/Celebration-Miles.htm</ref> และจัดงาน TG Online Market Fair ครั้งที่ 1<ref>http://www.thailandexhibition.com/TradeShow-2015/6273</ref>ในวันที่ 28-29 เมษายน พ.ศ. 2558
 
ในปี พ.ศ. 2560 การบินไทยบริการเที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไป[[อัลมะดีนะฮ์]]และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไป[[เจดดาห์]] เป็นครั้งแรกเพื่อบริการผู้โดยสารที่ไปทำพิธีฮัจญ์
 
=== พ.ศ. 2563 : โควิด-19 และฟื้นฟูกิจการ ===
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563 สำนักข่าวนิกเกอิรายงานว่า การบินไทยอาจเป็นสายการบินแห่งชาติรายแรกของโลกที่ล้มละลายท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากปัญหาขาดสภาพคล่องซึ่งสะสมมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติ โดยบริษัทเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง 70,000 ล้านบาท<ref>[https://asia.nikkei.com/Business/Transportation/Thai-Airways-on-financial-brink-as-government-debates-rescue Thai Airways on financial brink as government debates rescue]</ref> ทั้งนี้ผลดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปีพบขาดทุนต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2561 ขาดทุน 11,569 ล้านบาท และปี พ.ศ. 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท ด้านสำนักบริหารหนี้สาธารณะรายงานว่า ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัทมีหนี้สะสม 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 101,511 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 47,209 ล้านบาท<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878475 คนร.อุ้มการบินไทย คงสภาพรัฐวิสาหกิจ]</ref> แม้ว่ากระทรวงการคลังจะออกเงินกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาทที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้ แต่จำนวนดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทคงสภาพคล่องไปได้ถึงสิ้นปี พ.ศ. 2563 เท่านั้น<ref>[https://www.bbc.com/thai/international-52480759 โควิด-19 : วิกฤตโรคระบาดทำสายการบินทั่วโลก ลดคน-ลดเงินเดือน-ขอรัฐช่วย]</ref>
 
วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ประชุม[[สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ|คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ]] มีมติเป็นเอกฉันท์ให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการ และได้มีการเสนอ[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62|คณะรัฐมนตรี]]ในวันรุ่งขึ้น<ref>{{Cite web|url=https://mgronline.com/business/detail/9630000051637|title=คนร.กลับลำ เคาะ “การบินไทย” ยื่นศาลล้มละลายฟื้นฟูกิจการ|author=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|website=mgronline.com|date=18 พฤษภาคม 2563|accessdate=20 พฤษภาคม 2563}}</ref> ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อ[[ศาลล้มละลายกลาง]] ซึ่งมีผลให้การบินไทยในฐานะลูกหนี้สามารถหยุดพักชำระหนี้ได้โดยอัตโนมัติ เพื่อเริ่มต้นขั้นตอนเจรจาเจ้าหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะมีการดำเนินการรวมทั้งหมด 10 ขั้นตอน<ref>{{Cite web|url=https://www.thansettakij.com/content/435090|title=เปิด 10 ขั้นตอน "การบินไทย" ยื่นศาลล้มละลาย ฟื้นฟูกิจการ|author=[[ฐานเศรษฐกิจ]]|website=www.thansettakij.com|date=20 พฤษภาคม 2563|accessdate=20 พฤษภาคม 2563}}</ref>
 
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 บมจ.การบินไทย ได้มีหนังสือแจ้ง[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]]ว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ (จำนวน 1,113,931,061 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 51.03 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ) ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ลงต่ำกว่าร้อยลง 50 ของจำนวนจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระทั้งหมดของบริษัทฯ แล้ว โดยจำหน่ายหุ้นร้อยละ 3.17 ให้แก่กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง แต่ยังคงเผ็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (ร้อยละ 47.86) ทั้งนี้ ภายหลังการลดสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว บริษัทฯ ได้หลุดพ้นสภาพการเป็น[[รัฐวิสาหกิจไทย|รัฐวิสาหกิจ]]ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง<ref>[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/881854?fbclid=IwAR3ZEbBuO0XCKOrJPxwja1NvBH-JYXsn_HmBvoSmQ1DZDaAysSZ1CELDcgw 'การบินไทย' พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว หลัง 'คลัง' ขายหุ้นให้วายุภักษ์วันนี้] เว็บไซต์หนังสือพิมพ์[[กรุงเทพธุรกิจ]] (เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563)</ref><ref>[‘การบินไทย’ แจ้งตลาดหลักทรัพย์ กรณี ‘คลัง’ ขายหุ้นลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ หลุดเป็นรัฐวิสาหกิจ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563)</ref>
 
== ข้อมูลบริษัท ==