ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วอซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 72:
''วาซา'' ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีการรบทางทะเล จากยุคการรบด้วยวิธีการเทียบเรือเพื่อบุกขึ้นยึดเรือซึ่งเป็นพื้นฐานในการต่อสู้กับเรือของศัตรูในยุคนั้น สู่ยุคการจัดกระบวน[[เรือรบแนวเส้นประจัญบาน]]และมุ่งสู่ชัยชนะด้วยปืนใหญ่ที่เหนือกว่า เรือ ''วาซา'' ติดอาวุธปืนทรงพลังและสร้างท้ายเรือสูงซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถานียิงในการรบบนเรือของทหารประจำเรือ 300 นาย แต่ด้วยตัวเรือที่สูงและดาดฟ้าเรือชั้นบนสุดที่แคบทำให้ไม่เหมาะสำหรับการรบด้วยการบุกขึ้นเรือนัก ''วาซา'' ไม่ใช่เรือที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมา หรือไม่มีจำนวนปืนมากที่สุด แต่สิ่งที่ทำให้ ''วาซา'' เป็นเรือรบที่ทรงพลังที่สุดในเวลานั้น คือน้ำหนักรวมของกระสุนที่สามารถยิงได้ด้วยปืนใหญ่จากกราบเรือด้านเดียวคือ 588 ปอนด์ (267 กิโลกรัม) ซึ่งไม่นับรวมปืน ''Stormstycken'' หรือปืนที่ใช้ยิงกระสุนต่อต้านบุคคล นี่เป็นการรวมปืนใหญ่ที่มีขนาดโดยรวมใหญ่ที่สุดบนเรือรบลำเดียวในทะเลบอลติกในเวลาขณะนั้น บางทีอาจจะใหญ่ที่สุดในยุโรปเหนือทั้งหมด และคงสถิตินี้ไปจนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1630 เมื่อมีเรือถูกสร้างขึ้นและมีอำนาจยิงสูงกว่า ปืนใหญ่จำนวนมากถูกนำมาติดตั้งบนเรือที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับขนาดและจำนวนอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเปรียบเทียบกับ ''[[ยูเอสเอส คอนสทิทิวชัน]]'' ซึ่งเป็นเรือรบที่ถูกสร้างขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาหลัง ''วาซา'' 169 ปี มีอำนาจยิงเท่ากันแต่มีน้ำหนักมากกว่า 700 [[ตัน]]<ref>Hocker in Cederlund (2006), p. 49.</ref>
 
อย่างไรก็ตาม ''คอนสทิทิวชัน'' สร้างขึ้นหลังยุคยุทธนาวี ยึดตามกลยุทธเส้นแนวประจัญบาน ซึ่งเรือจะเรียงเป็นแนวเดียวและทั้งกลุ่มเรือจะหันปืนเรือด้านหนึ่งไปทางศัตรู ปืนจะโจมตีไปในทิศทางเดียวกันและอาจยิงไปที่เป้าหมายเดียวกัน ในศตวรรษที่ 17 ยุทธวิธีที่เกี่ยวข้องกองเรือขนาดใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนา การต่อสู้เป็นเรือลำต่อลำหรือเป็นกลุ่มเรือขนาดเล็กและมุ่งเน้นไปที่การขึ้นยึดเรือ ''วาซา'' แม้จะมีปืนเรือที่น่าเกรงขาม แต่ถูกสร้างด้วยบนพื้นฐานยุทธวิธีเหล่านี้ และดังนั้นปืนข้างลำเรือทั้งหมดนั้นจึงหันปืนไปในทิศทางเดียวกันอย่างคร่าวๆด้วยเจตนาที่ให้ปืนยิงได้อย่างอิสระ และปืนถูกจัดเรียงไปตามความโค้งของตัวเรือซึ่งหมายความว่า เรือจะมีปืนใหญ่ในทุกทิศทางและครอบคลุมทุกมุมอย่างแท้จริง<ref>The{{efn|ปืนใหญ่ท้ายเรือ guns facing fight aft, the ''(stern chasers'', were still not on board when the ship sank,) howeverยังไม่ได้ติดตั้งบนเรือเมื่อเรืออับปาง; Hocker (2011) pp. 58–59</ref>}}
 
วิชาปืนใหญ่ของกองทัพเรือในศตวรรษที่ 17 ยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้น ปืนใหญ่มีราคาแพงและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเรือรบ ซึ่งอาจมีอายุมากกว่าศตวรรษในขณะที่เรือรบส่วนใหญ่มีอายุใช้งานเพียง 15 ถึง 20 ปี ในสวีเดนและอีกหลายประเทศในยุโรป เรือจะไม่มีปืนเป็นของตนเองแต่จะได้รับอาวุธจากคลังแสงสำหรับทุกการรบ เรือมักจะติดตั้งปืนที่มีขนาดและอายุแตกต่างกันมาก สิ่งที่ได้ทำให้ ''วาซา'' มีอำนาจยิงสูงนั้น ไม่เพียงแต่ปืนจำนวนมากที่ถูกอัดลงไปในเรือที่ค่อนข้างเล็ก แต่ยังรวมถึงปืนหลัก 24 ปอนด์ จำนวน 46 กระบอกแบบใหม่ที่มีการออกแบบให้มีน้ำหนักเบาและได้มาตรฐาน หล่อเป็นชุดเดียวกันที่โรงหล่อปืนของรัฐในสตอกโฮล์มภายใต้การดูแลของเมดดาร์ดัส กัสส์ (Medardus Gessus) ผู้ก่อตั้งชาวสวิส ปืนหัวเรือ 24 ปอนด์ 2 กระบอกเป็นแบบเก่าและมีขนาดที่หนักกว่า ยังมีปืนขนาดหนักอีก 4 กระบอกซึ่งตั้งใจจะติดตั้งที่ท้ายเรือ แต่โรงหล่อปืนใหญ่ไม่สามารถทำการหล่อปืนได้ทันการต่อเรือ และ ''วาซา'' ก็ต้องรอเกือบปีหลังต่อเสร็จจึงจะหล่อเสร็จสิ้น เมื่อแล่นเรือในเดือนสิงหาคม 1628 ปืนแปดกระบอกจาก 72 กระบอกยังไม่ได้รับการส่งมอบ ปืนใหญ่ทั้งหมดในช่วงเวลานั้น จะต้องทำจากแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเองซึ่งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ปืนของ ''วาซา'' มีความแม่นยำและสม่ำเสมอในการผลิต ซึ่งขนาดมิติของปืนนั้นแปรผันไปเพียงไม่กี่มิลลิเมตร และปากกระบอกลำกล้องปืนแปรผันไม่เกิน 146&nbsp;มม. (5.7&nbsp;นิ้ว) อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหลือของ ''วาซา'' ประกอบด้วยปืน 3 ปอนด์ 8 กระบอก ปืนครกขนาดใหญ่ 6 กระบอก สำหรับใช้ในระหว่างการดำเนินการขึ้นยึดเรือและปืนฟอลคอนเน็ต 1 ปอนด์ 2 กระบอก รวมกับ[[ดินปืน]] 894 กิโลกรัม (1,970 ปอนด์) และกระสุนปืนชนิดต่างๆมากกว่า 1,000 นัด<ref>Hocker in Cederlund (2006), pp. 47–51.</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วอซา"