ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ออลเทอร์นาทิฟร็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 75:
=== ยุคก่อนออลเทอร์นาทิฟร็อก (คริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970) ===
ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก่อนการเกิดของออลเทอร์นาทิฟร็อก อยู่ในช่วงกระแส[[โพรโตพังก์]]<ref>{{cite web | url=https://www.spin.com/2013/03/best-100-albums-1960s-sixties-alternative-list/ | title=The Top 100 Alternative Albums of the 1960s| date=March 28, 2013}}</ref> ต้นกำเนิดของออลเทอร์นาทิฟร็อก สามารถย้อนกลับไปได้ถึงอัลบัม ''[[เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์แอนด์นีโก]]'' (1967) ของ [[เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์]]<ref>[http://www.bbc.com/culture/story/20131125-do-the-velvets-beat-the-beatles BBC Culture "The Velvet Underground: As influential as The Beatles?"]</ref> ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่วงนออลเทอร์นาทิฟร็อกหลายวงในยุคหลัง<ref>[https://www.britannica.com/topic/the-Velvet-Underground Britannica.com]</ref> อัลบัม ''[[วีร์ออนลีอินอิตฟอร์เดอะมันนี]]'' (We're Only In It For The Money) ของ [[เดอะมาเทอส์ออฟอินเวนชัน]] (1968) ได้ถูกยอมรับว่าเป็นอัลบัมเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกยุคแรก<ref>{{cite web | url=https://www.discogs.com/Frank-Zappa-The-Mothers-Were-Only-In-It-For-The-Money/release/12367690 | title=Frank Zappa & the Mothers – We're Only in It for the Money}}</ref> ศิลปินเช่น [[ซิด บาร์เร็ตต์]] (Syd Barrett) มีอิทธิพลต่อออลเทอร์นาทิฟร็อกโดยทั่ว ๆ ไป<ref>{{cite web|author1=John Harris|title=Barrett's influence|url=https://www.theguardian.com/music/2006/jul/12/popandrock.sydbarrett2|website=[[The Guardian]]|date=July 12, 2006}}</ref> รวมทั้งวงคาบาเรต์วอลแทร์ (Cabaret Voltaire) เดอะโมโนโครมเซ็ต (The Monochrome Set) สเวลแม็ปส์ (Swell Maps) พอปกรุป (Pop Group) และพีไอแอล (PIL)<ref>{{cite web|url=http://pilofficial.com/bio.html|title=PiL Official – Bio – Public Image Ltd|website=pilofficial.com}}</ref> เป็นวงออลเทอร์นาทิฟร็อกในคริสต์ทศวรรษที่ 1970
 
=== คริสต์ทศวรรษ 1980 ===
[[ไฟล์:Padova REM concert July 22 2003 blue.jpg|alt=Male singer in white shirtsleeves and trousers, with a band behind him on a small stage.|thumb|left|หนึ่งในวงออลเทอร์นาทิฟยุคแรกที่ได้รับความนิยม วง [[อาร์.อี.เอ็ม.]] ที่ได้รับการเล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัย จนมีฐานแฟนเพลง ได้ก้าวสู่กระแสเพลงหลักได้]]
 
ช่วงปี 1984 วงดนตรีโดยมากมักจะเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอิสระที่มีเพลงร็อกหลากหลายรูปแบบและได้รับอิทธิพลเพลงร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นบางส่วน<ref>Reynolds, p.&nbsp;392–93.</ref>
 
ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1980 ออลเทอร์นาทิฟร็อกยังคงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใต้ดิน ขณะที่มีบางเพลงที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นเพลงฮิตหรืออัลบัมฮิต จนได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากสิ่งพิมพ์กระแสหลักอย่าง ''[[โรลลิงสโตน]]'' ออลเทอร์นาทิฟร็อกในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมากจะอยู่กับค่ายเพลงอิสระ ตีพิมพ์ใน[[แฟนซีน]] หรือเล่นในสถานีวิทยุของวิทยาลัย วงออลเทอร์นาทิฟได้สร้างกลุ่มคนฟังใต้ดินโดยการออกทัวร์อย่างคงเส้นคงวา และออกอัลบัมต้นทุนต่ำอยู่เป็นประจำ อย่างในสหรัฐ วงใหม่ ๆ จะเจริญรอยตามแบบวงที่มาก่อน นี่ทำให้ขยายขอบเขตของเพลงใต้ดินในอเมริกา เพิ่มเติมเข้ากับแวดวงต่าง ๆ ในหลาย ๆ แห่งของสหรัฐ<ref name="American alt-rock"/> แม้ศิลปินออลเทอร์นาทิฟอเมริกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 จะไม่เคยมียอดขายอัลบัมที่ดี การลงทุนลงแรงของพวกเขาก็ถือได้ว่ามีอิทธิพลให้กับนักดนตรีออลเทอร์นาทิฟในยุคต่อมา และได้ปูพื้นฐานความสำเร็จให้แก่พวกเขาเอง<ref>
Azerrad (2001), p.&nbsp;3–5.</ref> เมื่อวันที่ 10 กันยายน 1988 เกิดชาร์ตเพลงออลเทอร์นาทิฟขึ้นบนนิตยสาร ''[[บิลบอร์ด]]'' เป็น 40 อันดับเพลงที่ถูกเล่นบ่อยที่สุดบนสถานีวิทยุออลเทอร์นาทิฟและโมเดิร์นร็อกในสหรัฐ เพลงอันดับ 1 เพลงแรกคือเพลง "[[Peek-a-Boo (song)|พีก-อะ-บู]]" ของ[[ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์]]<ref>{{cite |title=Top 10 Billboard Chart Milestones |work=Billboard magazine |page=17 |date=27 November 2004}}</ref> ในปี 1989 แนวเพลงนี้ได้รับความนิยมมากเพียงพอจนเกิดทัวร์รวมศิลปินอย่าง [[นิวออร์เดอร์]], [[Public Image Limited|พับลิกอิมเมจลิมิเตด]] และ [[เดอะชูการ์คิวส์]] ออกทัวร์กันในสหรัฐ<ref>"Review/Rock; Arena-Size Bill of Alternative Rock". ''The New York Times''. July 21, 1989. "It was the final show on a package tour that brought what used to be post-punk ''alternative'' rock, the province of clubs and cult audiences, to the arena circuit across the United States."</ref>
 
อีกฟากหนึ่ง ออลเทอร์นาทิฟร็อกอังกฤษเริ่มมีความโดดเด่นขึ้นมาในช่วงที่สหรัฐอยู่ในช่วงแรก โดยเริ่มใส่ความเป็นป็อปมากกว่า (ดูได้จากอัลบัมและซิงเกิลที่โดดเด่น เช่นเดียวกับการเปิดกว้างที่มักใส่องค์ประกอบเพลงเต้นรำและวัฒนธรรมในคลับเข้ามาด้วย) และเนื้อเพลงให้ความสำคัญกับความเป็นชาวอังกฤษ ผลก็คือ วงออลเทอร์นาทิฟร็อกจำนวนหนึ่งประสบความสำเร็จด้านยอดขายในสหรัฐด้วย<ref name="British alt-rock">{{citeweb|url=http://www.allmusic.com/explore/essay/british-alternative-rock-t579 |title=British Alternative Rock |author=Stephen Thomas Erlewine |work=[[AllMusic]] |deadurl=bot: unknown |archiveurl=https://web.archive.org/web/20101028135054/http://www.allmusic.com/explore/essay/british-alternative-rock-t579 |archivedate=October 28, 2010 }}</ref> ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกได้รับการเปิดออกอากาศอย่างแพร่หลายบนวิทยุในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดีเจหลายคน อาทิ จอห์น พีล (ทำงานสถานีวิทยุออลเทอร์นาทิฟบน [[บีบีซีเรดิโอวัน]]), ริชาร์ด สกินเนอร์ และแอนนี ไนติงเกล นอกจากนี้ศิลปินยังมีกลุ่มผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่ทั้งในสหรัฐ โดยผ่านสถานีวิทยุแห่งชาติอังกฤษและสื่อดนตรีรายสัปดาห์ และยังมีวงออลเทอร์นาทิฟหลายวงประสบความสำเร็จที่ชาร์ตในสหรัฐนี้ด้วย<ref>Charlton, p. 349.</ref>
 
====เพลงใต้ดินในสหรัฐ ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980====
[[ไฟล์:SonicYouth.JPG|alt=A woman and a man playing guitar in performance. The woman on the left is dressed in a short dress and the man on the right is in jeans and a shirt.|thumb|left|[[Kim Gordon|คิม กอร์ดอน]] กับ [[Thurston Moore|เทิร์สตัน มัวร์]] จากวง[[Sonic Youth|โซนิกยูท]]]]
 
วงออลเทอร์นาทิฟอเมริกันยุคแรก ๆ อย่างเช่น [[The Dream Syndicate|เดอะดรีมซินดิเคต]], [[The Bongos|เดอะบอนโกส]], [[10,000 Maniacs|เทนเทาซันด์แมนิแอกส์]], [[อาร์.อี.เอ็ม.]], [[The Feelies|เดอะฟีลีส์]] และ[[Violent Femmes|ไวโอเลนต์เฟมส์]] ได้รวมเพลง[[พังก์]]เข้ากับเพลง[[โฟล์ก]] รวมถึงเพลงกระแสหลักมาไว้ด้วยกัน อาร์.อี.เอ็ม. เป็นวงที่ประสบความสำเร็จที่สุดโดยทันที อัลบัมเปิดตัวชุด ''[[Murmur (album)|เมอร์เมอร์]]'' (1983) เข้าใน 40 อันดับแรก และยังได้ฐานผู้ฟังเพลง[[แจงเกิลป็อป]]จำนวนมาก<ref>{{cite web|title=REM Biography|url=http://www.sing365.com/music/lyric.nsf/R-E-M-Biography/9B195AA5AA60344A482568940015EB16|publisher=Sing 365|accessdate=June 20, 2013|deadurl=yes|archiveurl=https://web.archive.org/web/20120702122250/http://www.sing365.com/music/lyric.nsf/R-E-M-Biography/9B195AA5AA60344A482568940015EB16|archivedate=July 2, 2012|df=mdy-all}}</ref> อีกหนึ่งในผู้อยู่ในกระแสเพลงแจงเกิลในต้นยุคคริสต์ทศวรรษ 1980 วง[[เพรสลีย์อันเดอร์กราวด์]]จาก[[ลอสแอนเจลิส]] นำซาวด์ในคริสต์ทศวรรษ 1960 มาฟื้นฟู เข้ากับความหลอน เสียงร้องอันกลมกลืนอิ่มเอิบ และกีตาร์ที่ประสานกันกับโฟล์กร็อก เช่นเดียวกับเพลงพังก์และเพลงใต้ดิน อย่างวง[[เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์]]<ref name="American alt-rock"/>
 
ค่ายเพลงอิสระอเมริกันอย่าง [[เอสเอสทีเรเคิดส์]], [[ทวิน/โทนเรเคิดส์]], [[ทัชแอนด์โกเรเคิดส์]] และ[[ดิสคอร์ดเรเคิดส์]] มีความโดดเด่นขึ้นมาจากการสลับเปลี่ยนจากเพลงฮาร์ดคอร์พังก์ที่โดดเด่นในกระแสเพลงใต้ดินอเมริกัน ไปสู่แนวเพลงที่หลากหลายมากขึ้นของเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อกที่กำลังโดดเด่นขึ้นมา<ref name=Reynolds390>Reynolds, p. 390.</ref> วงจาก[[มินนีแอโพลิส]] อย่าง [[ฮุสเกอร์ดุ]] และ[[เดอะรีเพลซเมนส์]] ก็เป็นหนึ่งในวงที่สลับเปลี่ยนแนวเพลงนี้ ทั้ง 2 วงเริ่มจากการเป็นวงพังก์ร็อก จากนั้นก็เปลี่ยนซาวด์ดนตรีให้ฟังดูมีเมโลดีมากขึ้น<ref name="American alt-rock"/> ไมเคิล แอเซอร์แรดยืนยันว่า ฮุสเกอร์ดุถือเป็นกุญแจสำคัญในการเชื่อมเปลี่ยนเพลงฮาร์ดคอร์พังก์และเพลงที่มีเมโลดี้มากขึ้น ทำให้ดนตรี[[คอลเลจร็อก]]ที่เกิดขึ้นมีความหลากหลาย แอเซอร์แรดเขียนไว้ว่า "ฮุสเกอร์ดุมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวให้เพลงใต้ดินที่มีเมโลดีและเพลงพังก์ร็อกให้ไม่เป็นเรื่องแย้งกัน"<ref>{{cite news|title=Indie music pioneer returns with a little help from his admirershis|url=http://www.smh.com.au/entertainment/music/indie-music-pioneer-returns-with-a-little-help-from-his-admirers-20130305-2fivn.html|accessdate=June 20, 2013|newspaper=[[Sydney Morning Herald]]}}</ref> วงยังได้สร้างตัวอย่างที่ดี ด้วยการเป็นวงอินดีอเมริกันวงแรกที่เซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ ยังได้ทำให้สร้างเพลงคอลเลจร็อกให้ "เป็นกิจการเพื่อการค้าอย่างชัดเจน"<ref>Azerrad (2001), p. 159.</ref> ขณะที่วงเดอะรีเพลสเมนส์ที่แต่งเพลงอกหักและเล่นคำมากกว่าที่จะพูดเรื่องการเมือง ก็ทำให้เกิดกระแสเพลงใต้ดินได้อย่างมาก แอเซอร์แรดเขียนว่า "ร่วมกับวง อาร์.อี.เอ็ม. แล้ว เดอะรีเพลสเมนส์เป็นหนึ่งในวงใต้ดินไม่กี่วงที่คนฟังเพลงกระแสหลักชื่นชอบ"<ref>Azerrad (2001), p. 196.</ref>
 
ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 กระแสออลเทอร์นาทิฟร็อกอเมริกันมีอิทธิพลกว้างขึ้นตั้งแต่เพลงออลเทอร์นาทิฟพอปแปลก ๆ ([[They Might Be Giants|เดย์ไมต์บีไจแอนส์]] และ [[Camper Van Beethoven|แคมเปอร์แวนบีโทเฟน]]) ไปจนถึง[[นอยส์ร็อก]] ([[Sonic Youth|โซนิกยูท]], [[Big Black|บิกแบล็ก]], [[The Jesus Lizard|เดอะจีสัสไลซาร์ด]]<ref>Erlewine, Stephen Thomas. [{{Allmusic|class=artist|id=the-jesus-lizard-mn0000089305|pure_url=yes}} "The Jesus Lizard Biography"]. [[AllMusic]]. Retrieved August 25, 2008.</ref>) และ[[อินดัสเทรียลร็อก]] ([[Ministry (band)|มินิสทรี]], [[Nine Inch Nails|ไนน์อินช์เนลส์]]) ซาวด์ดนตรีเหล่านี้ทำให้มีวงที่ตามมา อย่างวงจาก[[บอสตัน]]ที่ชื่อ [[พิกซีส์]] และวงจาก[[ลอสแอนเจลิส]]ที่ชื่อ [[เจนส์แอดดิกชัน]]<ref name="American alt-rock"/> ในช่วงเวลาเดียวกัน แนวย่อยเพลงกรันจ์กำเนิดขึ้นใน[[ซีแอตเทิล]] [[รัฐวอชิงตัน]] ในช่วงแรกใช้ชื่อว่า "เดอะซีแอตเทิลซาวด์" (The Seattle Sound) จนกระแสกระแสเพลงแนวนี้ได้รับความนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990<ref>http://rock.about.com/od/top10lists/tp/Most-Influential-Seattle-Bands.htm</ref> กรันจ์เป็นเพลงที่มีส่วนผสมดนตรีกีตาร์ที่ฟังดูเลอะเทอะและมืดมัว ที่ปะติดปะต่อเข้ากับ[[เฮฟวีเมทัล]]และพังก์ร็อก<ref>{{cite web|title=Genre&nbsp;– Grunge|publisher=[[AllMusic]]|url={{Allmusic|class=style|id=grunge-ma0000002626|pure_url=yes}}|accessdate=October 6, 2007}}</ref> มีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางโดยค่ายเพลงอิสระที่ชื่อ [[ซับป็อป]] วงกรันจ์ได้รับการกล่าวว่ามีแฟชั่นจากร้านราคาถูก มักเป็นเสื้อเชิร์ตสักหลาดและใส่รองเท้าบูตคอมแบต เข้ากับภูมิอากาศท้องถิ่น<ref name="success NYT">Marin, Rick. "Grunge: A Success Story". ''The New York Times''. November 15, 1992.</ref> วงกรันจ์ยุคแรกเช่น [[ซาวด์การ์เดน]] และ[[มัดฮันนีย์]] ที่ได้รับการกล่าวถึงในสหรัฐและสหราชอาณาจักรตามลำดับ<ref name="American alt-rock"/>
 
ในช่วงสิ้นทศวรรษ มีหลายวงออลเทอร์นาทิฟเริ่มเซ็นสัญญากับค่ายใหญ่ ขณะที่วงที่เซ็นกับค่ายใหญ่แรก ๆ อย่าง ฮุสเกอร์ดุ และเดอะรีเพลซ์เมนส์ ได้รับความสำเร็จเล็กน้อย ค่ายที่ได้เซ็นสัญญากับวงอย่าง อาร์.อี.เอ็ม. และเจนส์แอดดิกชัน ก็ได้รับแผ่นเสียงทองคำและแผ่นเสียงทองคำขาว ก่อให้เกิดการแจ้งเกิดของออลเทอร์นาทิฟในเวลาต่อมา<ref name=buzz>Azerrad (1994), p. 160.</ref><ref>Azerrad (1994), p. 4.</ref> บางวงอย่างเช่น พิกซีส์ ประสบความสำเร็จข้ามทวีป ขณะที่ในประเทศบ้านเกิดไม่ประสบความสำเร็จ<ref name="American alt-rock"/>
 
ในช่วงกลางทศวรรษ อัลบัม ''[[Zen Arcade|เซนอาร์เคต]]'' ของฮุสเกอร์ดุมีอิทธิพลด้านดนตรีต่อวงฮาร์ดคอร์ดโดยมีการพูดเรื่องส่วนตัว นอกจากนั้นกระแสเพลงฮาร์ดคอร์ใน[[วอชิงตันดีซี]] ที่เรียกเพลงเหล่านี้ว่า "อีโมคอร์" หรือ "อีโม" เกิดขึ้นมา และได้รับการพูดถึงเรื่องเนื้อเพลงที่เข้าถึงอารมณ์ส่วนตัวเป็นสาระสำคัญอย่างมาก (นักร้องบางคนร้องไห้) และยังเพิ่มเติมบทกวีแบบการเชื่อมโยงเสรี (free association) และโทนเพลงแบบสารภาพผิด วง[[ไรตส์ออฟสปริง]]ได้รับคำจำกัดความว่าเป็นวงอีโมวงแรก [[เอียน แม็กเคย์]]อดีตสมาชิกวง[[ไมเนอร์ทรีต]] ผู้ก่อตั้งค่ายดิสคอร์ดเรเคิดส์ ถือเป็นศูนย์กลางเพลงอีโมของเมือง<ref name=Allmusicemo>[http://www.allmusic.com/style/emo-ma0000004447 AllMusic emo genre essay]</ref>
 
====แนวเพลงอังกฤษและแนวโน้มในคริสต์ทศวรรษ 1980 ====
[[ไฟล์:Robertsmith.jpg|alt=Head and shoulders shot of man, with wild, tangled hair and lipstick on, playing in a stage spotlight.|thumb|[[Robert Smith (musician)|รอเบิร์ต สมิท]]แห่งวง[[เดอะเคียวร์]]]]
แนวเพลง[[กอทิกร็อก]]เริ่มพัฒนานอกเหนือจากโพสต์พังก์อังกฤษในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 กิตติศัพท์ว่าเป็น "รูปแบบเพลงร็อกใต้ดินที่มืดหม่นและเศร้าหมองที่สุด" กอทิกร็อกใช้ซาวด์เครื่องสังเคราะห์เสียงและกีตาร์เป็นพื้นฐานซึ่งเป็นผลมาจากโพสต์พังก์ เพื่อสร้าง "ลางสังหรณ์ ความโศกเศร้า และมักใช้ทัศนียภาพของเสียงแบบมหากาพย์" ผนวกกับเนื้อเพลงของแนวนี้ที่มักเอ่ยถึง วรรณกรรมจินตนิมิต, โรคภัย, สัญลักษณ์ทางศาสนา และเรื่องไสยศาสตร์เหนือธรรมชาติ<ref name="Goth">{{cite web|title=Genre&nbsp;– Goth Rock|publisher=[[AllMusic]] |url={{Allmusic|class=style|id=goth-rock-ma0000002623|pure_url=yes}}|accessdate=October 6, 2007}}</ref> วงแนวนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากกลุ่มโพสต์พังก์อังกฤษ 2 วง คือ [[จอยดิวิชัน]]กับ[[ซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์]]<ref>Reynolds, p. 352.</ref> ซิงเกิลเปิดตัวของ[[Bauhaus (band)|เบาเฮาส์]]ที่ชื่อ "เบลาลูโกซีส์เดด" (Bela Lugosi's Dead) ออกขายปี 1979 ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์ของแนวเพลงกอทิกร็อก<ref>Reynolds, p. 359.</ref> อัลบัมวง[[เดอะเคียวร์]]หลายอัลบัมที่ "หดหู่น่าสลดใจ" อาทิ ''[[Pornography (album)|พอร์โนกราฟี]]'' (1982) ก็ทำให้วงมีสัณฐานในแนวเพลงนี้ อีกทั้งยังปูฐานรากให้มีกลุ่มผู้ฟังติดตามกลุ่มใหญ่<ref>Reynolds, p. 357–58.</ref>
 
วงออลเทอร์นาทิฟร็อกอังกฤษกุญแจดอกสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 คือวงจากแมนเชสเตอร์ที่ชื่อ [[เดอะสมิทส์]] นักข่าวดนตรี ไซมอน เรย์โนลส์ ชี้ว่าเดอะสมิทส์และวงอเมริกันร่วมสมัย อาร์.อี.เอ็ม. ถือเป็น "2 วงสำคัญออลต์-ร็อกของวันนั้น" แสดงความเห็นว่า "พวกเขาเป็นวงยุค 80 ที่ให้ความรู้สึกถึงการต่อต้านยุค 80 แต่เพียงผู้เดียว" เรย์โนลส์พูดถึงเดอะสมิทส์ว่า "ทีท่าทั้งหมดนั้นมีนัยยะต่อผู้ฟังชาวอังกฤษที่ไร้ยุค เหมือนถูกขับไล่จากดินแดนพวกเขา"<ref>Reynolds, p. 392.</ref> เสียงกีตาร์ที่เดอะสมิทส์ได้นำมาใช้ในยุคนั้น คือดนตรีโดดเด่นด้วยเสียงสังเคราะห์ ถูกมองว่าเป็นสัญญาณจบของยุคนิวเวฟและเป็นการมาถึงของออลเทอร์นาทิฟร็อกในสหราชอาณาจักร แม้วงจะประสบความสำเร็จไม่มากบนอันดับเพลงและมีงานในระยะสั้น เดอะสมิทส์ก็สำแดงอิทธิพลไปทั่วกระแสเพลงอินดีในอังกฤษจนสิ้นศตวรรษ ซึ่งหลายวงก็ได้รับหลักเกณฑ์เนื้อเพลงของนักร้องวง[[มอร์ริสซีย์]] และแนวทางการเล่นกีตาร์แข็งกร้าวของ[[จอห์นนี มาร์]]<ref name="British alt-rock" /> เทปคาสเซตต์รวมเพลง ''[[ซีเอตตีซิก]]'' ออกพิเศษโดยนิตยสาร ''[[เอ็นเอ็มอี]]'' ในปี 1986 มีศิลปินอย่าง [[ไพรมัลสกรีม]], [[เดอะเวดดิงพรีเซนต์]] และวงอื่น ๆ ก็มีอิทธิพลในการพัฒนากระแสอินดีป็อปและอินดีอังกฤษมาโดยตลอด<ref>{{cite news | author=Hann, Michael | date=October 13, 2004 | title=Fey City Rollers | work=The Guardian | url=https://www.theguardian.com/music/2004/oct/13/popandrock| accessdate=July 19, 2009 | location=London}}</ref><ref>{{cite news | author=Hasted, Nick | date=October 27, 2006 | title=How an NME cassette launched indie music | work=The Independent | url=https://www.independent.co.uk/arts-entertainment/music/news/how-an-nme-cassette-launched-indie-music-421802.html | accessdate=July 19, 2009 | location=London}}</ref>
 
ยังมีอีกหลายรูปแบบของออลเทอร์นาทิฟร็อกที่พัฒนาขึ้นในสหราชอาณาจักรในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซาวด์ของวง[[เดอะจีซัสแอนด์แมรีเชน]]ได้รวมเอา "เสียงเศร้า" ของวง[[เดอะเวลเวตอันเดอร์กราวด์]] เข้ากับเมโลดี้เพลงป็อปของ[[เดอะบีชบอยส์]] และงานผลิตแบบ[[วอลล์ออฟซาวด์]]ของ[[ฟิล สเปกเตอร์]]<ref>{{cite web|url=https://www.rollingstone.com/music/artists/the-jesus-and-mary-chain/biography|title=The Jesus and Mary Chain Biography|work=[[Rolling Stone]]|accessdate=July 20, 2012}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.britannica.com/EBchecked/topic/303087/the-Jesus-and-Mary-Chain?anchor=ref666600|title=Encyclopædia Britannica: the Jesus and Mary Chain|accessdate=July 20, 2012}}</ref> ขณะที่[[นิวออร์เดอร์]]เกิดขึ้นมาหลังจากวงโพสต์พังก์ จอยดิวิชัน สิ้นสลาย พวกเขาได้ทำการทดลองดนตรี[[เทคโน]]กับ[[เฮาส์ (แนวดนตรี)|เฮาส์]]<ref name="British alt-rock"/> เดอะแมรีเชน รวมถึงไดโนเสาร์จูเนียร์, ซีเอตตีซฺก และวงดรีมป็อป[[ค็อกโททวินส์]] เป็นผู้เป็นต้นแบบอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหว[[ชูเกซซิง]]ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้รับการขนานนามเรื่องสมาชิกของวงจ้องมองเท้าตัวเอง และเหยียบ[[กลุ่มเอฟเฟกต์|เอฟเฟกต์กีตาร์]]<ref>{{cite news|url=https://www.theguardian.com/music/2007/jul/27/popandrock|title=Diamond gazers|location=London|work=[[The Guardian]]|first=Jude|last=Rogers|date=July 27, 2007}}</ref> บนเวที มากกว่าที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม วงชูเกซซิงอย่าง [[มายบลัดดีวาเลนไทน์]] และ[[สโลว์ไดฟ์]]ได้สร้างสรรค์เสียงอึกทึกอันท้วมท้น "อย่างไม่สนใจซาวด์เพลง" ที่ร้องอย่างคลุมเครือ และเล่นเมโลดีที่มีท่อนริฟฟ์เสียงต่ำ เสียงบิด และเสียงสะท้อน อย่างยาวนาน<ref>{{cite web|title=Genre&nbsp;– Shoegaze|publisher=[[AllMusic]]|url={{Allmusic|class=style|id=shoegaze-ma0000004454|pure_url=yes}}|accessdate=October 6, 2007}}</ref> วงชูเกซซิงโดดเด่นขึ้นมาในสื่อเพลงอังกฤษในปลายทศวรรษ ร่วมไปกับกระแสเพลง[[แมดเชสเตอร์]] การแสดงส่วนใหญ่ที่ไนต์คลับในแมนเชสเตอร์ที่ชื่อ เดอะฮาเซียนดา มีเจ้าของคือนิวออร์เดอร์และแฟกทอรีเรเคิดส์ มีการแสดงวงแมดเชสเตอร์อย่างเช่น [[แฮปปี้มันเดส์]] และ[[เดอะสโตนโรสเซส]]ที่ผสมเข้ากับจังหวะเต้นรำ[[แอซิดเฮาส์]] กับความป็อปของเมโลดีกีตาร์<ref>{{cite web|title=Genre&nbsp;– Madchester|publisher=[[AllMusic]]|url={{Allmusic|class=style|id=madchester-ma0000005017|pure_url=yes}}|accessdate=October 12, 2007}}</ref>
 
=== ความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1990 ===