ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวลี ผกาพันธุ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 38:
สวลี ผกาพันธุ์เกิดวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่[[กรุงเทพมหานคร]] มีชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์ เป็นลูกครึ่งที่เกิดแต่บิดาชาวเดนมาร์กชื่อ ยอร์ช ฮอฟแมนน์ กับมารดาชาวไทยชื่อ น้อม จิตต์ธรรม มีพี่น้องสองคน<ref name="รี่">กาญจนาวดี ไชยสงค์. ''[https://sites.google.com/site/kanjanawadeechaiyasong/prawati-swn-taw/kab-nak-rxng-ni-dwngci สวลี ผกาพันธ์ นักร้องในดวงใจ]''. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556</ref> สวลีสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจาก[[โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม]] เมื่อปี พ.ศ. 2483 จากนั้นได้เรียนต่อเพิ่มเติมทางด้าน[[ชวเลข]] และพิมพ์ดีด เมื่อเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดอยู่ที่เทศบาลนครกรุงเทพ และบริษัทสหไทยวัฒนา
 
.
==สู่วงการบันเทิง==
ความสนใจทางด้านการขับร้องและดนตรี เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม และด้วยความเป็นผู้มีน้ำเสียงดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการร้อง[[เพลงชาติไทย|เพลงชาติ]]ทุกวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ขณะที่อายุได้ 17 ปี และกำลังทำงานที่บริษัทสหไทยวัฒนานั้น คุณมยุรี จันทร์เรือง ครูสอนวิชาขับร้องที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ได้ชวนไปดูการฝึกซ้อมละครของ[[คณะผกาวลี]] ซึ่งเป็นของญาติ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ ครู[[ลัดดา สารตายน]] (ศิลปบรรเลง) ผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง
 
ครูมยุรีได้เล่าให้ครูลัดดาฟังว่าเชอร์รี่ร้องเพลงได้ดี ครูลัดดาจึงลองทดสอบเสียงโดยให้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์[[สายฝน]] ปรากฏว่าเป็นที่พอใจ จึงชวนมาร้องเพลงสลับฉากละครในตอนเย็นหลังเลิกงาน เพลงแรกในชีวิตมีชื่อว่าเพลง ''หวานรื่น'' ผลงานเพลงของครู[[ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง]] โดยร้องคู่กับ [[วลิต สนธิรัตน์]] ในวันนั้น นอกจากจะเป็นวันที่เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักร้องแล้ว ยังเป็นวันที่ครูลัดดาได้ตั้งชื่อให้ท่านใช้ในการแสดงว่า ''สวลี'' แปลว่า "น้ำผึ้ง"<ref name="ผกา">{{cite press release |title=แด่พลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์|url=http://www.ryt9.com/s/tpd/795395|publisher=ไทยโพสต์|language=ไทย|date=16 กุมภาพันธ์ 2553|accessdate=4 กุมภาพันธ์ 2556}}</ref> ส่วนนามสกุล ''ผกาพันธุ์'' นั้น [[สด กูรมะโรหิต]] เป็นผู้ตั้งให้ในเวลาต่อมา โดยมีความหมายว่า "เผ่าพันธุ์ของดอกไม้" ซึ่งนำมาจากชื่อจริงของเธอคือ "เชอร์รี่"<ref name="ผกา"/> จากนั้นมาได้มีโอกาสร้องเพลงสลับฉากเพิ่มขึ้นกับเริ่มแสดงเป็นตัวประกอบ มีบทพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ และร้องเพลงในเรื่อง
 
เมื่องานการขับร้องเพลงและการแสดงละครมีมากขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาทำงานด้านการบันเทิงอย่างเต็มตัว ต่อมาไม่นานได้รับบทนางเอกครั้งแรกใน ''ความพยาบาท'' ทำให้มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้แสดงนำอีกหลายเรื่องจนคณะผกาวลีเลิกกิจการลงจึงได้ย้ายไปแสดงอยู่กับคณะอัศวินการละคร เป็นนางเอกเรื่อง ''[[มโนราห์]]'' คู่กับ [[สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์]] และเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ''[[บ้านทรายทอง]]'' บทประพันธ์อมตะตลอดกาลของ [[ก.สุรางคนางค์]] (ซึ่งต่อมาเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกหลายครั้ง) รับบทเป็น “[[พจมาน]]” คนแรก และได้ร้องเพลงไพเราะ ''หากรู้สักนิด'' ผลงานการประพันธ์ของ [[หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์]] เป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงกับคณะเทพศิลป์ และคณะศิวารมย์เป็นครั้งคราว
 
หลังจากมีประสบการณ์ในวงการละครเวทีมาระยะหนึ่ง สวลีและ [[อดีศักดิ์ เศวตนันทน์]] สามี ตั้งคณะละคร ''นันทน์ศิลป'' เปิดการแสดงที่ศาลาเฉลิมนคร <ref>ศุกรหัศน์ (เฉลิม เศวตนันทน์)กับเรื่องของศิลปิน ,ok nation.net</ref>และต่อมาในชื่อ '''[[คณะชื่นชุมนุมศิลปิน]]''' ประสบความสำเร็จเป็นอันดีจนถึงปลายยุคละครเวที [[ส.อาสนจินดา]] ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกที่เคยร่วมงานละครเวทีกันมาก่อนมาแสดงภาพยนตร์ที่เตรียมสร้างโดยมีสวลีเป็นนางเอกอยู่ระยะหนึ่งกับมีโอกาสทำหน้าที่พากย์หนังด้วย ระยะนี้เริ่มร้องเพลงบันทึก[[แผ่นเสียง]] ผลงานล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ''ลมหวน โรครัก ,หน้าชื่นอกตรม ,รักมีกรรม ฯลฯ''
 
เมื่อมีการก่อตั้งไทยทีวี [[ช่อง 4]] [[บางขุนพรหม]] สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] ปี [[พ.ศ. 2498]] คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ได้เข้ามาจัดรายการโทรทัศน์เป็นคณะแรก ด้วยการจัดรายการเพลง ซึ่งมี ครู[[สมาน กาญจนผลิน]] เป็นผู้ควบคุมวง และนักร้องที่มีชื่อเสียง เช่น [[สุเทพ วงศ์กำแหง]], [[ชรินทร์ นันทนาคร]], [[นริศ อารีย์]], [[พูลศรี เจริญพงษ์]], [[อดิเรก จันทร์เรือง]] ฯลฯ และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ยิ่งไปกว่านั้นทั้งยังเป็นผู้พากย์หนังทีวีชุด ''แลสซี่ สุนัขแสนรู้'' อีกด้วย ส่วนงานบันทึกเสียงยังมีประจำทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงคู่ นักร้องที่เคยร่วมงานด้วยซึ่งค่อนข้างหาฟังยากในปัจจุบันคือ [[ชาญ เย็นแข]] ในบทเพลง สายน้ำผึ้ง , ม.ร.ว.[[ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์]] และ สมยศ ทัศนพันธ์
 
ด้วยประสบการณ์หลายด้านในวงการบันเทิงที่ประสบความสำเร็จถึงจนเป็นหนึ่งในทำเนียบแห่งศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่งของประเทศไทย<ref>[http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=824&stissueid=2444&stcolcatid=2&stauthorid=9 สาขาศิลปการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) พุทธศักราช ๒๕๓๒]</ref>
 
== ผลงานเด่น ==