ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวอังคาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 76:
{{ใช้ปีคศ}}
 
'''ดาวอังคาร''' ({{lang-en|Mars}}) เป็น[[ดาวเคราะห์]]ลำดับที่สี่จาก[[ดวงอาทิตย์]] เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองใน[[ระบบสุริยะ]]รองจาก[[ดาวพุธ]] ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตาม[[มาร์ส|เทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน]] มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมี[[ไอเอิร์น(III) ออกไซด์|ออกไซด์ของเหล็ก]]ดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มี[[สีพื้นผิวดาวอังคาร|สีออกแดงเรื่อ]]<ref name="nasa_hematite" /> ดาวอังคารเป็น[[ดาวเคราะห์คล้ายโลก|ดาวเคราะห์หิน]]ที่มี[[บรรยากาศ]]เบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้ง[[หลุมอุกกาบาต]]บน[[ดวงจันทร์]] และภูเขาไฟ​ ที่มีแนวโน้มว่าจะมีแร่เหล็กอยู่เป็นจำนวนมากภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจน[[แพน้ำแข็งอาร์กติก|พิดน้ำแข็งขั้วดาว]]ที่ปรากฏบน[[โลก (ดาวเคราะห์)|โลก]] [[คาบการหมุนรอบตัวเอง]]และวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของ[[ภูเขาไฟโอลิมปัส|โอลิมปัสมอนส์]] [[ภูเขาไฟ]]ใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของ[[เวลส์มาริเนริส]] แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ [[แอ่งบอเรียลิส]]ที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่<ref name="northcratersn" /><ref name="northcraterguard" /> ดาวอังคารมี[[ดาวบริวารของดาวอังคาร|ดาวบริวาร]]สองดวง คือ [[โฟบอส]]และ[[ดีมอส]]ซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็น[[ดาวเคราะห์น้อย]]ที่ถูกจับไว้<ref>{{cite web |title=Mars Moon Mystery |author=Millis, John P. |url=http://space.about.com/od/mars/a/Mars-Moon-Mystery.htm|work=space.about.com}}</ref><ref name=adler>{{cite journal |author=Adler, M.; Owen, W. and Riedel, J. |date=2012 |url=http://www.lpi.usra.edu/meetings/marsconcepts2012/pdf/4337.pdf |bibcode=2012LPICo1679.4337A |work=Concepts and Approaches for Mars Exploration, held June 12–14, 2012 in Houston, Texas. LPI Contribution No. 1679, id.4337 |title=Use of MRO Optical Navigation Camera to Prepare for Mars Sample Return |volume=1679 |page=4337}}</ref> คล้ายกับ[[ทรอย (ดาราศาสตร์)|ทรอย]]ของดาวอังคาร เช่น [[5261 ยูเรกา]]
 
ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ ''[[มาริเนอร์ 4]]'' เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะใน[[ละติจูด]]ขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็น[[ภาพลวงตา]] แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ<ref name="marswater" /> ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว<ref name="specials1" /> และที่ละติจูดกลาง<ref name="jsg.utexas.edu" /><ref name="esa050221" /> ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคาร''[[สปิริตโรเวอร์|สปิริต]]'' พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอด''[[ฟีนิกซ์ (ยานอวกาศ)|ฟีนิกซ์]]'' พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008<ref name="spacecraft1" />