ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
→‎ประวัติ: ปรับให้ข้อมูลถูกต้อง สอดคล้องกับข้อมูลที่เผยแพร่ใน pmdu.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ปัจจุบัน
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2
|วันก่อตั้ง = 22 เมษายน พ.ศ. 2560
|ต้นสังกัด = [[สำนักสำนักงานเลขาธิการคณะนายกรัฐมนตรี]]
|หัวหน้า1_ชื่อ = [[อำพน กิตติอำพน]]
|หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานกรรมการบริหาร
|หัวหน้า2_ชื่อ = [[อำพน กิตติอำพน]]
|หัวหน้า2_ตำแหน่ง = ผู้อำนวยการ
|หัวหน้า3_ชื่อ = ปกรณ์ นิลประพันธ์
|หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้อำนวยการ
|หัวหน้า4_ชื่อ = บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
|หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองผู้อำนวยการ
|หัวหน้า5_ชื่อ = นิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม
|หัวหน้า5_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|หัวหน้า6_ชื่อ = ดนุชา พิชยนันท์
|หัวหน้า6_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|หัวหน้า7_ชื่อ = อุดมพร เอกเอี่ยม
|หัวหน้า7_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|หัวหน้า8_ชื่อ = ณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์
|หัวหน้า8_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|หัวหน้า9_ชื่อ = ชุติมา หาญเผชิญ
|หัวหน้า9_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|หัวหน้า10_ชื่อ =
|หัวหน้า10_ตำแหน่ง = ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
|กองบัญชาการ = [[ทำเนียบรัฐบาล]] [[ถนนพิษณุโลก]]
|ชื่อในภาษาแม่_1 = Prime Minister Delivery Unit
|เว็บไซต์ = [http://www.pmdu.soc.go.th www.pmdu.soc.go.th]
|วันยุบเลิก = {{วันตาย-อายุ|2562|7|9|2560|4|22}}
}}
 
'''สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี''' ({{lang-en|Prime Minister Delivery Unit}} , ชื่อย่อ: สบนร. หรือ PMDU) เป็นหน่วยงานพิเศษในสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่มิใช่หน่วยราชการ และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีภารกิจหลัก คือ การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชาชนที่ทำตามระบบราชการปกติไม่สำเร็จ หรือมีความล่าช้า จนอาจเกิดความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง การทำงานของ สบนร. หรือ PMDU จึงเน้นการเพิ่มการทำงานแบบเป็นบูรณาการระหว่างหน่วยงานในทุกภาคส่วน มิใช่เพียงระหว่างหน่วยงานราชการ เพิ่มการเร่งรัดและติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ
'''สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี''' ({{lang-en|Prime Minister Delivery Unit}} , ชื่อย่อ: PMDU) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชนใน [[สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี]] และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]
 
นอกจากนี้ สบนร. หรือ PMDU ยังมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็น ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ตลอดจนสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลแก่ประชาชน
 
== ประวัติ ==
สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือ '''พีเอ็มดียู''' จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 ตาม '''ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐''' <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/110/1.PDF ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๑๑๐ ง พิเศษ หน้า ๑ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ </ref> โดยก่อนหน้านั้นสำนักงานแห่งนี้เคยอยู่ใน [[สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี]] ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๐ ต่อมาได้มีการโอนย้ายสำนักงานแห่งนี้มาอยู่ในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๘/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
 
ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 สบนร. ได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 9/2562 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562
กระทั่งวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ '''ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรียกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๒''' โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/178/T_0001.PDF ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรียกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๒] </ref> ส่งผลให้สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรีต้องถูกยุบเลิกไปในที่สุด
 
กระทั่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ...
 
== อำนาจและหน้าที่ ==
สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในการดำเนินภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงบูรณาการ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชาชนที่ทำตามระบบราชการปกติไม่สำเร็จ หรือมีความล่าช้า จนอาจเกิดความเสียหายต่อประชาชนในวงกว้าง ตลอดจนรวบรวมข้อมูล รับฟังข้อคิดเห็น ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล หรือเรื่องอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ตลอดจนสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสำคัญของรัฐบาลแก่ประชาชน
สำนักงานพีเอ็มดียูมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
(๑) รับผิดชอบงานวิชาการและธุรการให้แก่ คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เลขานุการ ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ รวมตลอดทั้งคณะกรรมการกลั่นกรองอื่น ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
 
(๒) ประสานงาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล มติของ ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ รวมตลอดทั้งคณะกรรมการกลั่นกรองอื่น ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
 
(๓) วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล หรือมติของ ป.ย.ป. คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ รวมตลอดทั้งคณะกรรมการกลั่นกรองอื่น ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
 
(๔) กลั่นกรอง วิเคราะห์ และเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องที่จะเสนอต่อ ป.ย.ป. เพื่อพิจารณา หรือตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
 
(๕) สร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่
 
(๖) หน้าที่และอำนาจอื่นตามมติ ป.ย.ป. หรือมติคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
 
== คณะกรรมการบริหารสำนักงาน ==
ตามข้อ ๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับนี้ได้กำหนดให้มี '''คณะกรรมการบริหารสำนักงาน''' คณะหนึ่งประกอบไปด้วย
 
(๑) ผู้อำนวยการ เป็นประธานกรรมการ
 
(๒) รองผู้อำนวยการ เป็นรองประธานกรรมการ
 
(๓) ผู้ช่วยผู้อำนวยการซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งจำนวนไม่เกินหกคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร เป็นกรรมการบริหาร
 
(๔) ผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งในสำนักงาน เป็นเลขานุการและผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
 
== กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ==
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คนตามข้อ ๘ แห่ง '''ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๖๐''' ดังต่อไปนี้
 
(๑) นาย[[ชวลิต ชูขจร]]
 
(๒) พลตรี [[นิมิตต์ สุวรรณรัฐ]]
 
(๓) นาง[[มิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์]]
 
(๔) นางสาว[[วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์]]
 
(๕) นาย[[สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ]]
 
(๖) นาย[[สุพศิน สุเมธิวิทย์]]
 
== ที่ปรึกษาประจำสำนักงาน ==
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๖๑ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาสำนักงาน ผู้ช่วยอำนวยการและผู้ทรงคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้
 
(๑) พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร
 
(๒) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์
 
(๓) นายธีรศานต์ สหัสสพาศน์
 
<br />
(๔) นายอลงกรณ์ ทาอุบล
 
== อ้างอิง ==