ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะขวิด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
[[ไฟล์:Limonia acidissima syn Limonia elephantum or Fernonia limonia (wood-apple) in Talakona forest, AP W IMG 8335.jpg|thumb|right|250px|เปลือกต้นมะขวิด]]
 
'''มะขวิด''' ภาคอีสานเรียกมะสัง ภาคเหนือเรียกมะฟิด เป็น[[ต้นไม้]]ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในกลุ่มไม้ยืนต้นผลัดใบ มีถิ่นกำเนิดใน[[ประเทศอินเดีย]] สูงถึง 12 [[เมตร]] กิ่งแขนงมีหนามเรียวแหลมตรง ยาว 4 [[เซนติเมตร]] ใบประกอบ แบบขนนกปลายคี่ ใบออกตรงข้าม มี 2-3 คู่ รูป[[ไข่]]กลับ ยาวถึง 4 ซม. ก้านใบและก้านใบย่อยมีปีกแคบ ๆ ยาวถึง 12 เซนติเมตร มีจุดต่อมน้ำมัน มีกลิ่นอ่อน ๆ เมื่อขยี้ ช่อดอกออกปลายยอดหรือซอกใบ มีทั้งดอก[[เพศ]]ผู้และดอกสมบูรณ์[[เพศ]] มี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมเขียว ชมพูหรือแดงเรื่อ ๆ อยู่กันหลวม ๆ ผลเปลือกแข็ง รูปกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 [[เซนติเมตร]] ผิวเป็นขุยสีออกขาวปนสีชมพู มีเนื้อมาก กลิ่นหอม มีเมือกหุ้มเมล็ด เมล็ดยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร เปลือกหนา มีขน
== การใช้ประโยชน์ ==
มะขวิด เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้สดชื่น เจริญอาหาร แก้อาการ[[ท้องเสีย]] และรักษาโรคทางเดินอาหาร โรคลักปิดลักเปิด แก้ฝีเปื่อยบวม ตกโลหิต และแก้พยาธิ ใบและดอก แก้ท้องร่วง แก้บวมและฟกช้ำ [[ตกโลหิต]] ขับลม เป็นยาฝาดสมาน และแก้พยาธิ ยาง แก้ทองเสีย สมานแผล และเจริญไฟธาตุ เปลือก แก้ฝีเปื่อย แก้บวม แก้อาการลงท้อง ตกโลหิด และแก้พยาธิ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มะขวิด"