ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนประชาสงเคราะห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
| abbr= ป.ส. หรือ P.S.
| code =
| establish_date = พ.ศ. 2448 ไม่เป็นทางการ <br> 1 พฤษภาคม 2488 ({{อายุปีและวัน|1941|5|1}}) เป็นทางการ
| founder = มุขนายกเกียรตินาม ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง
| type = [[โรงเรียนเอกชน|สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน]]
| group = [http://www.escd.or.th/main/ โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี (รสจ.)]<br>
โรงเรียนสังกัด สช. ประเภทสามัญศึกษา
| head_name = ผู้อำนวยการ
บรรทัด 32:
== ประวัติ ==
=== บุกเบิก ===
ในช่วงแรกโรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ ก่อตั้งแบบไม่เป็นทางการขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2448 โดย '''ฯพณฯ เรอเน มารี แปรรอส''' มาเป็นเจ้าอาวาสที่[[โบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่|โบสถ์นักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่]] ในสมัยแรก<ref>http://www.escd.or.th/main/index.php/9-2019-01-29-09-10-10/2-2019-01-29-09-17-05</ref> คุณพ่อแปรรอสมีการแบ่งฝั่งโรงเรียนเป็นฝ่ายชาย และหญิง โดยมีการได้เชิญครูเณรจาก[[สามเณาเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา|สามเณราลัยพระหฤทัย บางช้าง]] ที่ราชบุรีมาช่วยสอนฝั่งนักเรียนชาย ในส่วนของนักเรียนหญิงจะใช้และได้เชิญครูชีถวายตัวมาสอนฝั่งนักเรียนหญิง <br>
เวลาเรียนของเด็กนั้นจะเริ่มเรียนในช่วงฤดูร้อนไปถึงฤดูการทำนา หลังจากนั้นก็จะหยุดเรียนชั่วคราว เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนได้รับใช้บิดามารดาของตนในการดูแลวัวบ้าง ควายบ้าง ช่วยงานบ้างและอื่น ๆ หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำนาแล้ว ก็จะเรียนหนังสือต่อไป เด็กนักเรียนในสมัยของคุณพ่อแปรรอสมีประมาณ 60 คน
 
=== การขอเปิดโรงเรียนหลังสงคราม ===
[[ไฟล์:ใบขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน.jpg|thumb|ใบขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนประชาสงเคราะห์ของ ฯพณฯ ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เมื่อปีพ.ศ. 2488]]
การเรียนการสอนดำเนินการมาเรื่อย ๆ จนมาถึงสมัยของ '''บาทหลวงยาโกเบแจง เกิดสว่าง''' ได้เกิด[[สงครามอินโดจีน]]ขึ้นทำให้โรงเรียนต้องปิดตัวลงนักเรียนบางส่วนไม่ได้รับการศึกษาต่อ และนักเรียนบางส่วนได้คุณพ่อจากพนัสนิคมชักชวนไปเรียนต่อที่บ้านเณรศรีราชา จนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการอนุญาตให้โรงเรียนกลับมาเปิดการเรียนการสอนอีกครั้งโดยให้ชื่อโรงเรียนว่า '''โรงเรียนราษฎร์วัดนักบุญฟิลิปและยากอบประชาสงเคราะห์ หัวไผ่''' โดยมีการแยกฝั่งของโรงเรียนเช่นเดิมคือ ฝั่งประถม มี'''มาสเซอร์เกษร ทองเหลือง''' เป็นครูใหญ่ และฝั่งมัธยม มี'''มาสเซอร์เพิ่ม ศรีวิจารณ์''' เป็นครูใหญ่ มี'''บาทหลวงสนิท วรศิลป์''' เป็นผู้จัดการของโรงเรียน และมี '''ฯพณฯ ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง''' เป็นเจ้าของโรงเรียน มีการเก็บค่าเล่าเรียนฝั่งประถมปีการศึกษาละ 15 บาท ฝั่งมัธยมปีการศึกษาละ 30 บาท ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 บาทหลวงสนิท วรศิลป์ ได้ทำการรวมทั้ง 2 โรงเรียเข้าด้วยกันให้ชื่อว่าโรงเรียนประชาสงเคราะห์ หัวไผ่ โดยมี'''นายเจริญ ยุ่นประยงค์''' เป็นครูใหญ่ <ref>{{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = อนุสรณ์ 60 ปี โรงเรียนประชาสงเคราะห์ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 1941 - 2001 | URL = | พิมพ์ที่ = มปท. | จังหวัด = ชลบุรี | ปี = 2544 | ISBN = | หน้า = 60}}</ref>
 
=== ปัจจุบัน ===