ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่เจ้าบัวไหล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เชลยศึกชาวไทลื้อชาวไทยอง
พีรวงค์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
 
== พระประวัติ ==
แม่เจ้าบัวไหล ประสูติเมื่อปี [[พ.ศ. 2390]] ที่เมืองนครน่าน เป็นธิดาในพระยาไชยสงคราม เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนทางพะเยา กับ เจ้านางอิ่น ชาวไทยอง <ref>[http://www.huglanna.com/index.php?topic=167.0 แม่เจ้าบัวไหล เทพวงศ์] จากเว็บไซต์ฮักล้านา</ref> มีเจ้าเชษฐาและเชษฐภคินีร่วมอุทร ได้แก่ 1.เจ้าจอมแปง (เจ้านางของ ซึ่งเป็นชายาเดิมพระยาไชยสงครามได้ขอไปอุปการะที่พะเยา) 2.เจ้าเทพรส รสเข้ม (ฝาแฝดกับเจ้าจอมแปง) 3.เจ้านางสามผิว (ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรงท้องร่วงตอนอายุ 13 ปี) ในตอนที่ท่านประสูตินั้น พระยาไชยสงคราม ถูกเรียกตัวจากเมืองน่านมายังกรุงเทพฯ เนื่องจากต้องคดี เรื่อง ช่วยเจ้าหลวงนครน่าน ยกพลไปกวดต้อนตีเอาเมืองหัวพันห้าทั้งหกที่แคว้นสิบสองปันนา กวาดต้อนเชลยศึกชาวไทลื้อชาวไทยอง มาไว้ที่เขตนาน้อยเมืองน่าน ดังนั้นจึงต้องเดินทางโดยเรือขณะที่น้ำน่านนองเต็มฝั่ง บิดาเลยตั้งชื่อให้ว่า "บัวไหล" <ref>[https://th-th.facebook.com/www.piriyalai.ac.th/posts/569634379742787 เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์และแม่เจ้าบัวไหล]</ref>
 
แม่เจ้าบัวไหล นั้น ได้รับการสถาปนาให้ดูแลเมืองแพร่ เป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่เจ้าพิริยเทพวงษ์ พิริยเทพวงษ์จะเสด็จกลับจากราชการที่ [[กรุงเทพมหานคร]] ชาวเมืองแพร่จึงเรียกขานเจ้าบัวไหลว่า "แม่เจ้าหลวง" และต่อมาได้รับการเสกสมรสและแต่งตั้งให้เป็นพระชายาของเจ้าผู้ครองนครแพร่ แม่เจ้าบัวไหลในตอนเด็ก ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเจ้านายตามขนบธรรมเนียมล้านนามาอย่างดี มีฝีมือในการเย็บปักผ้าและงานปักเย็บทุกชนิด ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 แม่เจ้าบัวไหลได้ปักผ้าม่านและหมอนขวาน ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ ถวาย เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ 5 ถึงกับได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้จัดห้องเฉพาะ แล้วพระราชทานให้ชื่อว่า "ห้องบัวไหล" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเกียรติประวัติอันสูงยิ่ง เพื่อแสดงถึงเจ้านายสตรีทางเหนือ เป็นผู้มีฝีมือในงานศิลปะปักเย็บอย่างยอดเยี่ยม และตามคำกราบบังคมทูลของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้กล่าวไว้ว่า บัวไหลเป็นผู้หญิงดีในเมืองลาวเฉียงเวลาเจ้านครแพร่ลงมากรุงเทพฯก็ว่าราชการบ้านเมืองแทนสามี
 
เมื่อวันที่ [[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2445]] ก็เกิดการจลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ต้องโทษกบฏและได้หลบภัยไปประทับที่[[หลวงพระบาง]] ประเทศลาว และไม่ได้กลับมาอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่พิราลัยที่นั่น ส่วนแม่เจ้าบัวไหลพร้อมด้วยบุตรหลานได้ถูกควบคุมตัวไปกรุงเทพฯ ตามพระบรมราชโองการ ภายใต้การควบคุมดูแลของ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ]] (พระยศขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นเวลา 4-5 ปี จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนบ้านเมืองได้ โดยในบั้นปลายของชีวิต แม่เจ้าบัวไหลได้ประทับกับราชธิดาองค์เล็กและบุตรเขย ที่จวนข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย และได้ถึงแก่พิราลัยที่เชียงราย เมื่อ [[พ.ศ. 2475]] สิริชนมายุได้ 85 ปี
บรรทัด 142:
**เจ้าอินทร์ทรงรัศมี เทพวงศ์ สมรสกับ นางอุไร เทพวงศ์ มีบุตรดังนี้
***นายจงรักษ์ เทพวงศ์
 
== ราชกรณียกิจ ==
 
* พ.ศ.2416 แม่เจ้าบัวไหลได้ปักคัมภีร์ด้วยด้ายไหมถวามวัดไชยอาราม(วัดพระบาท) มีข้อความบทหนึ่งเขียนว่า "ให้ได้เป็นยอดนารีเทียม ธ ท้าว ตนปราบด้าวธรณีแท้ดีหลีเทอะ" แปลว่า ขอปรารถนาเป็นกษัตริย์ผู้หญิง หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นมเหสีเคียงคู่เจ้าหลวง
* แม่เจ้าบัวไหลได้ปักผ้าม่าน และหมอนขวาน ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ ถวายรัชกาลที่ 5
* พ.ศ. 2454 แม่เจ้าบัวไหลเป็นแม่งานใหญ่ในการรับเสด็จสมเด็จฯพระพันปีหลวงคราวเสด็จเมืองแพร่
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
เส้น 153 ⟶ 159:
[[หมวดหมู่:เจ้านายฝ่ายเหนือ]]
[[หมวดหมู่:มเหสี]]
[[หมวดหมู่:พระภรรยาเจ้าในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ]]
[[หมวดหมู่:สกุลเทพวงศ์]]
[[หมวดหมู่:วงศ์วรญาติ]]