ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พฤษภาทมิฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและปรับภาษาในบทความ
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
→‎การต่อต้านของประชาชน: เพิ่มข้อมูลในบทความ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 71:
 
== การต่อต้านของประชาชน ==
พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า ''"เสียสัตย์เพื่อชาติ"'' และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัรรมนูญรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย
 
การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ [[ฉลาด วรฉัตร|ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร]] และ [[จำลอง ศรีเมือง|พลตรีจำลอง ศรีเมือง]] (หัวหน้า[[พรรคพลังธรรม]]ในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนาย[[ปริญญา เทวานฤมิตรกุล]] เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วย[[พรรคประชาธิปัตย์]], [[พรรคเอกภาพ]], [[พรรคความหวังใหม่]]และ[[พรรคพลังธรรม]]โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
บรรทัด 77:
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
 
กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน ณ สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30 น.<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/1.PDF</ref>รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน[[กรุงเทพมหานคร]] [[จังหวัดปทุมธานี]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]] และ[[จังหวัดนนทบุรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF</ref>,ประกาศ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/4.PDF ประกาศ ห้ามมิให้ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน]</ref>และประกาศให้วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/2.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการ]</ref>พร้อมกับปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในจังหวัดที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 3 วัน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/8.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาปิดเรียน (วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)]</ref><ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/9.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องให้สถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชนงดการเรียนการสอน และกิจกรรมนิสิต - นักศึกษา]</ref>และงดการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ เนื่องจากวันหยุดราชการ โดยให้ตรวจระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แทน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/059/10.PDF ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง งดการตรวจร่างกายและเอกซเรย์]</ref> โดยให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลายการชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน
 
เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้(เคลื่อนกำลังครั้งสำคัญครั้งหนึ่งและควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่องยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์[[เหวง โตจิราการ]], นายแพทย์[[สันต์ หัตถีรัตน์]], นาย[[สมศักดิ์ โกศัยสุข]], นาง[[ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ]], นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนาย[[วีระ มุสิกพงศ์]] โดยตั้งข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการใน[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]] พ.ศ. 2495 และระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและเริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง
 
19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่น การทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร เป็นต้น
 
วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศอย่าง[[ซีเอ็นเอ็น]]และ[[บีบีซี เวิลด์นิวส์|บีบีซี]]ได้รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชนเอกชนในประเทศ