ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ลบเนื้อหาขาดอ้างอิง
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Talad Plu in 2019.jpg|thumb|ตลาดพลู ปี 2562]]
'''ตลาดพลู''' เป็นชุมชนและทางแยกตั้งอยู่บริเวณ[[ถนนเทอดไท]] แขวงตลาดพลู [[เขตธนบุรี]] ติดกับ[[คลองบางกอกใหญ่]] แต่เดิมเป็นพื้นที่ของชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่[[สมัยกรุงธนบุรี]] ต่อมาเมื่อย้ายราชธานีไปยังฝั่งพระนคร ชาวจีนบางส่วนที่ตลาดพลูจึงได้ย้ายไป[[สำเพ็ง]] และมีชาวมุสลิมจากภาคใต้ย้ายเข้ามาแทนที่<ref name=แต/> ได้ริเริ่มการทำสวนพลูที่นี่ ทั้งชาวมุสลิมและชาวจีนต่างทำสวนพลูจนเป็นอาชีพที่แพร่หลาย เกิดเป็นตลาดซื้อขาย[[พลู (พืช) |พลู]]ที่เรียกว่า "ตลาดพลู" จนบัดนี้<ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9500000043802 ชมวัดงาม เที่ยวย่านถิ่นเก่าที่ "ตลาดพลู"]โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2550 15:15 น.</ref>
 
''ตลาดพลูยุคที่ 1'' อาณาเขตของตลาดพลูในอดีต ด้านตะวันตกจะเริ่มนับจากคลองบางสะแก ทิศเหนือติดคลองบางกอกใหญ่ ทิศตะวันออกจะติดคลองสำเหร่ และด้านทิศใต้จรดคลองวัดบางสะแกใน (ก่อนจะเปลี่ยนจากคลองเป็นถนนซอยรัชดาภิเษก-ท่าพระ 13 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2532) อาณาเขตที่กล่าวถึงนี้มาจากจุดจอดขายหมากพลู ซึ่งมีมากมายเรียงรายตามแนวคลองบางใหญ่ แต่จุดที่นิยมในการซื้อขายมากที่สุดคือบริเวณชายคลองบางกอกใหญ่จากท่าน้ำวัดอินทรามถึงปากคลองบางสะแก จนถูกเรียกติดปากของคนในยุคนั้นว่า ย่านตลาดพลู ตลาดพลูยุคที่ 1 จึงเป็นยุคของพื้นที่ๆผลิตหมากพลูเป็นหลัก ชาวบ้านต่างประกอบอาชีพปลูกหมากพลู ยังไม่ใช่ย่านการค้าที่เจริญมากนัก (ยุคก่อน พ.ศ. 2475)
 
''ตลาดพลูยุคที่ 2'' ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง หลังจากปี 2475 จนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายผู้อยู่อาศัยในย่านตลาดพลู ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงการทำมาหากินของคนในพื้นที่ จากพื้นที่ปลูกหมากพลูเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัยของคนจีนและคนจากจังหวัดใกล้เคียง โดยผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากการประกาศยกเลิกการกินหมากพลูในยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้ชาวบ้านที่มีพื้นที่ดินในตลาดพลูหันมาปลูกอาคารเรือนไม้ 2 ชั้น ให้เช่าอาศัย โดยผู้อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกมักจะเป็นคนจีนที่หนีค่าครองชีพที่สูงในย่านหัวลำโพง หรือเยาวราช ฝั่งพระนคร มาพักอาศัยในย่านตลาดพลูนี้แทน (รูปแบบของเรือนไม้นี้ยังสามารถพบเห็นได้บริเวณริมทางรถไฟ ระหว่างสถานีรถไฟตลาดพลูจนถึงจุดตัดข้ามทางรถไฟซอยเทอดไท 33) ในช่วงเวลานี้ศูนย์กลางความเจริญของตลาดพลูอยู่บริเวณ วัดราชคฤห์ ซึ่งมีที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเดิมอยู่ และในเวลานั้นตลาดพลูไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กทม. แต่ขึ้นอยู่กับ จังหวัดธนบุรี (ยังมีหลักฐานหนึ่งที่หลงเหลือให้ระลึกถึงนั่นคือ ผ้าพันคอลูกเสือของ นร.ในกรุงเทพ หากเป็น นร.ฝั่งพระนครจะใช้ผ้าพันคอรูป ปราสาท แต่ถ้าเป็น นร.ฝั่งธน มักจะใช้ผ้าพันคอรูป พระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งก็คือตราประจำจังหวัดธนบุรีนั่นเอง)
 
ตลาดพลูในยุคที่ 2 มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือ 1.บริเวณสวนของชาวบ้านใกล้วัดบางสะแกในเป็นจุดที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรถูกยิงตก โดยบริเวณใกล้เคียงกับตลาดพลูในช่วงเวลานั้นคือ สามแยกไฟฉาย และ โรงเรียนชิโนรส เป็นที่ตั้งของไฟฉายขนาดใหญ่และปืนต่อสู้อากาศยานเพื่อปกป้องการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตร เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นเหตุการณ์เดียวตลอดช่วงสงครามที่มีเครื่องบินถูกยิงตกในกรุงเทพ
 
2.หลังสงครามโลกสงบลง ตลาดพลูก้าวสู่ยุคภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ เนื่องจากประเทศจีนได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ คนจีนที่จัดการเรียนการสอนหรือเป็นครูภาษาจีนจึงถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษว่ามีการสนับสนุนการกระทำอันส่งเสริมลัทธิคอมมิวนิสต์หรือไม่ ฝ่ายภาครัฐได้จัดตั้งกองโรงเรียนราษฏร์เพื่อตรวจสอบการเรียนการสอนของโรงเรียนจีนทั่วประเทศ มีอำนาจในการยุบหรือยกเลิกการอนุญาตการสอนของโรงเรียนได้ทันที และในการตรวจโรงเรียนฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะ[[โรงเรียนกงลี้จงซัน]] มักจะมีผลตรวจในระดับเรียบร้อยดีทุกครั้ง จนนักข่าวและสื่อมวลชนในยุคนั้นต่างเอาเหตุการณ์นี้มาเป็นวลี ประชดประชันว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" (โรงเรียนกงลี้จงซัน อยู่ท่ามกลางชุมชนชาวจีนซึ่งในเวลานั้นถือว่าเป็นรองแค่เยาวราชของฝั่งพระนครและในยุคที่เป็นจังหวัดธนบุรี ตลาดพลูมีสถานะไม่ต่างจากเยาวราชของจังหวัดกรุงเทพ)
 
3.คำเล่าขานว่าในยุคสมัยหนึ่งคนกรุงเทพเปิดประตูบ้านค้างไว้ก็ไม่ต้องกลัวขโมยเพราะประชาชนไม่กล้าทำผิด จุดเริ่มของคำเล่าขานนี้มาจากเหตุการณ์ไฟไหม้เรือนไม้ตลาดพลู ริมทางรถไฟ ในยุคจอมพลสฤษดิ์ (ปัจจุบันคือบ้านพักพนักงานรถไฟใต้สะพานตลาดพลู ไม่ไกลจากสถานีรถไฟตลาดพลูนัก) จุดเกิดเหตุคือเรือนไม้ที่ปลูกกันเรียงรายยาวขนานกับเส้นทางรถไฟ บ้านต้นเหตุเป็นร้านขายยา โดยจอมพลสฤษดิ์ได้ลงมาไต่สวนเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยตัวเองและในท้ายที่สุดเจ้าของร้านขายยาบ้านต้นเพลิงได้ถูกตัดสินประหารชีวิต
 
''ตลาดพลูในยุคที่ 3'' ยุคแห่งเรื่องราวและจุดแวะพักของนักแสวงโชค ตลาดพลูในช่วงเวลานี้กินเวลายาวนานตั้งแต่ปี 2505 - 2530 หลังจากมีการประกาศใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมมากมาย ส่งผลกระทบทางอ้อมให้มีคนจำนวนมากต้องหลีกหนีกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในฝั่งกรุงเทพ โดยเฉพาะกับชาวจีนจำนวนหนึ่งที่ตัดสินใจมาอาศัยอยู่ในย่านตลาดพลูโดยมากจะเริ่มจากการเช่าอาศัยอาคารเรือนไม้ที่สร้างขึ้นอย่างมากมายจนเกิดเป็นชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนวัดใหม่จีนกัน ชุมชนซอยคุณพระ ชุมชนวัดโพธิ์นิมิตร ชุมชนวัดบางสะแกนอก และชุมชนหลัง รสพ. หรืออู่รถเมล์สาย 103 นอกจากชาวจีนแล้วยังมีชาวบ้านในจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี ต่างก็เข้ามาปักหลักทำมาหากินกันเป็นจำนวนมากในตลาดพลู การหล่อหลอมของชาวบ้านไทยและจีนนี้ปรากฏผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในยุคนั้นคือ ขบวนแห่เทียนของวัดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ วัดขุนจันทร์ วัดราชคฤห์ วัดอินทราราม วัดโพธิ์นิมิตรและวัดเวฬุราชิน ชาวบ้านต่างรวมใจจัดขบวนแห่เทียนเข้าพรรษานี้ร่วมกัน ในยุคนั้นการดูขบวนแห่เทียนเหล่านี้ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชม. และจะมีการละเล่นต่างๆมากมายตลอดเส้นทาง มีขบวนแห่ป้ายที่ทำจากแผ่นผ้าปักด้วยด้ายขนาดใหญ่เป็นอักษรมงคลของจีนร่วมในขบวนความยาวของขบวนหลายสิบเมตร จากอดีตจนถึงปัจจุบันผู้พิมพ์ก็ยังไม่เคยเห็นการแห่ป้ายนี้จากที่ใดในประทศไทยเลย (ขบวนแห่เหล่านี้เริ่มหายไปจากตลาดพลูประมาณปี 2530)
 
ความพิเศษของชุมชนตลาดพลูในยุคนี้คือ ผู้คนต่างอยูร่วมกันในเรือนไม้ห้องแถวและเริ่มมีการก่อสร้างอาคารพานิชโครงสร้างปูนผสมไม้ตามซอยต่างๆเช่น ซอยวัดโพธิ์นิมิตร ซอยวัดใหม่จีนกัน ซอยโรงเจ และซอยวัดบางสะแกนอก ในแต่ละซอยจะมีคนหลากหลายอาชีพมาอยู่ร่วมกัน ทั้งช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างทาสี ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า มีทั้งคนไทยและจีนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ในส่วนของซอยวัดบางสะแกนอก จะเป็นแหล่งรวมของช่างอัญมณี ช่างทอง ที่ทำงานให้กับร้านเพชรและร้านทองต่างๆในย่านเยาวราช โดยมากจะเป็นช่างจากจังหวัดราชบุรี อำเภอดำเนินสะดวก
 
''ตลาดพลูยุคที่ 4'' ดินแดนแห่งอาหาร ช่วงเวลาของยุคนี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 2531-2550 ถือเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของชุมชนตลาดพลู เมื่อมีการตัดถนนรัชดาภิเษก-ท่าพระ ผ่ากลางชุมชนซอยคุณพระ ซึ่งเป็นชุมชนเรือนไม้ขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดพลูและมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือ เหตุการณ์เพลิงไหม้ชุมชนซอยคุณพระ ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีผู้เสียชีวิตหลายราย และทำให้คนในชุมชนหลายร้อยครอบครัวต้องไร้บ้าน ส่งผลกระทบให้คนจำนวนมากต้องออกจากตลาดพลูเพื่อหาที่อยู่ใหม่ (เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดต่อจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ในสมัยจอมพล ป.) ปัจจุบันบริเวณชุมชนซอยคุณพระเดิมนี้คือ ที่ตั้งของสะพานรัชดา-ท่าพระ ตั้งแต่ตีนสะพานจนถึงบริเวณจุดตัดรถไฟตลาดพลู ส่วนหนึ่งของซากชุมชนที่เหลืออยู่คือ บริเวณที่ว่างรกร้างด้านข้างสะพานรัชดา-ท่าพระ นั่นเอง ที่ว่างแห่งนี้ในอดีตคือจุดถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง GOOD MORNING, VIETNAM ในปี 1987 บริเวณนี้ในอดีตมีเศษซากห้องแถวเรือนไม้ที่ถูกไฟไหม้ให้จำลองเป็นเหตุการณ์ของสงครามในภาพยนตร์ได้ (ส่วนหนึ่งที่ทำให้เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้รุนแรงมากนั่นคือความล่าช้าในการดับเพลิง จากเหตุการณ์นี้คือที่มาของการจัดตั้ง สถานีดับเพลิงย่อยตลาดพลู นั่นเอง)
 
เมื่อบ้านที่เคยอยู่อาศัย อาชีพที่เคยทำถูกเพลิงไหม้ไปหมด ประกอบกับวิกฤติครั้งสำคัญของประเทศไทยคือ วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ทำให้อาชีพต่างๆในอดีตที่เคยรุ่งเรืองในตลาดพลูค่อยๆเลือนหายไป เช่น กลุ่มช่างทอง อัญมณีในซอยวัดบางสะแกนอกหรือกลุ่มช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ต่างต้องยุติอาชีพของตนลงและเปลี่ยนมาทำการค้าขายแทน จุดเปลี่ยนนี้คือจุดสำคัญที่ทำให้ชุมชนตลาดพลู เป็นดินแดนของอาหารในเวลาต่อมา เมื่อคนในชุมชนต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีชีวิตเดิมของชุมชนมีการประกอบอาหารกันเองในครอบครัวอยู่แล้ว ทางเลือกหนึ่งของคนกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มาจากจังหวัดราชบุรีคือการหันมาประกอบอาชีพขายอาหารแทนนั่นเอง ช่วงเวลานี้ศูนย์กลางของตลาดพลูได้เกิดขึ้นบริเวณใต้สะพานตลาดพลูเพราะเป็นจุดคมนาคมที่สำคัญมากของคนฝั่งธน เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายของผู้คนในชุมชนริมทางรถไฟจากย่านบางบอน บางขุนเทียน หากต้องการเข้าสู่กรุงเทพชั้นในผู้คนจะเดินทางไปสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ แต่หากต้องการเข้าสู่ย่านจรัลสนิทวงศ์ ถนนตก บางไผ่ ราชฎร์บูรณะ ผู้คนจะลงสถานีรถไฟตลาดพลูเพื่อเดินทางต่อไปย่านดังกล่าว หากต้องการเดินทางด้วยรถโดยสารไปฝั่งพระนครไม่ว่าจะสนามหลวง รถเมล์สาย 9 / เยาวราช รถเมล์สาย 4 / นนทบุรี รถเมล์สาย 103 / ประชาชื่น รถเมล์สาย 66 / สาธุประดิษฐ์ รถเมล์ 205 / อนุเสาวรีย์ รถเมล์สาย 108 หรือแม้แต่การโดยสารเรือสาธารณะ ธงเหลือง สะพานพุทธ-ตลาดบางแค ธงเขียว รร.ราชินี-พาณิชยการธนบุรี
 
ในอดีต ตลาดพลูเป็นย่านที่มีความคึกคักมาก มีโรงภาพยนตร์ 2 โรง จนมีคำกล่าวว่า "[[ย่านเยาวราช|เยาวราช]]มีอะไร ตลาดพลูก็มีอย่างนั้น"<ref name=ตลา>{{cite web|url=https://talk.mthai.com/journey/450001.html|work=[[เอ็มไทยดอตคอม]]|author=thepureway|date=2017-09-27|title=Line กนก รากเหง้าหรืออำนาจเงิน ของดีย่านธนบุรี}}</ref>