ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลนีโญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 3:
เอลนีโญก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้ว ปรากฏการณ์เอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มักถูกเรียกย่อเหลือเพียง "เอลนีโญ" ซึ่งเป็นคำใน[[ภาษาสเปน]] ซึ่งแปลว่า "เด็กชาย" และหมายความถึงบุตรพระคริสต์ เนื่องจากมีการสังเกตว่าความอุ่นขึ้นผิดปกตินี้มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาล[[คริสต์มาส]]<ref name="DFG">{{cite web |url=http://www.dfg.ca.gov/marine/elnino.asp |title=El Niño Information |work=California Department of Fish and Game, Marine Region }}</ref> ลักษณะที่เกิดจากเอนโซเป็นไปได้ว่าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอันเป็นผลกระทบของ[[ปรากฏการณ์โลกร้อน]] และเป็นเป้าหมายสำหรับการวิจัยในการนี้
 
== สภาวะตกกะปิปกติ ==
[[ไฟล์:Normal cond.jpg|frame|right|สภาวะปกติ]]
โดยปกติ บริเวณ[[เส้นศูนย์สูตร]]เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู (ชายฝั่ง[[ทวีปอเมริกาใต้]]) ไปทางตะวันตกของ[[มหาสมุทรแปซิฟิก]] แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือ[[สาธารณรัฐอินโดนีเซีย|ประเทศอินโดนีเซีย]] ทำให้มีฝนตกมากใน[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]และ[[ทวีปออสเตรเลีย]]ตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมา ทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู