ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 75:
=== เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ===
[[ไฟล์:Lanchakon - 028.jpg|thumb|[[ตราสุริยมณฑล]]เทพบุตรชักรถ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานให้เป็นตราประจำสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ต่อมาเป็นตราประจำ[[ประวัติกระทรวงการคลังไทย|กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ]]]]
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2394 โปรดฯให้เรียกเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ว่า''เจ้าพระยาอัครมหาอุดม บรมวงศเสนาบดี'' ไปก่อน ต่อมาจึงมีพระราชโองการให้จารึกแผ่นสุพรรณบัฏเนื้อแปด แต่งตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ขึ้นเป็นเป็น''สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ วรุตมพงศนายก สยามดิลกโลกานุปาลนนารถ สกลราชวราณาจักราธิเบนทร ปรเมนทรมหาราชานุกูล สรรพกิจมูลมเหศวรเชษฐามาตยาธิบดี ศรีสรณรัตนธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร''<ref name=":0" /> ที่ศักดินา 30,000 พระราชทานกลด เสลี่ยงงา พระแสงประดับพลอยลงยาราชาวดี เป็นเครื่องยศอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม สำเร็จราชการทั้งสี่ทิศตลอดทั่วพระราชอาณาจักร ใช้[[ตราสุริยมณฑล]]เทพบุตรชักรถ รวมทั้งถือตราคชสีห์และตราบัวแก้วด้วยในเวลาเดียวกัน เป็นเกียรติยศสูงสุดที่ขุนนางได้รับในสมัยรัตนโกสินทร์ คนทั่วไปกล่าวขานนามสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่" ในขณะที่พระยาศรีพิพัฒนโกษา (ทัต บุนนาค) น้องชายของเจ้าพระยาพระคลังฯ ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็น[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ]] คนทั่วไปเรียกขานนามว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย"
 
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์มีบุตรชายทั้งสองช่วยราชการได้แก่ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม ช่วยราชการในกรมกลาโหม (ต่อมาคือ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]]) และเจ้าพระยาผู้ช่วยราชการกรมท่า (ขำ บุนนาค) ช่วยราชการในกรมท่า (ต่อมาคือ [[เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี]]) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์เป็นหนึ่งในคณะผู้ปรึกษาฝ่ายสยามในการทำ[[สนธิสัญญาเบาว์ริง]] (Bowring Treaty) ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2398