ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ครอบครัวและบุตรธิดา
บรรทัด 89:
 
ในพ.ศ. 2354 เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) กราบทูลต่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ว่า ตนเองมีความชราภาพขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯจึงโปรดฯให้ตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) ขึ้นเป็นพระยานครศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเมื่ออายุได้สามสิบห้าปี เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนที่สามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และให้เลื่อนอดีตเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) เป็น''เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี'' จางวางเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นสุลต่านอาหมัดทัจอุดดินฮาลิมชาฮ์ (Ahmad Tajuddin Alim Shah) แห่งไทรบุรี หรือ "ตวนกูปะแงหรัน" (Tunku Pangeran) เกิดความขัดแย้งกับตนกูบิศนู (Tunku Bisnu) ผู้เป็นน้องชาย จนฝ่ายสยามต้องไกล่เกลี่ยด้วยการให้ตนกูพิศนุมาเป็นเจ้าเมือง[[สตูล]] ตนกูบิศนูเข้านอบน้อมต่อพระยานครฯ (น้อย) ต่อมาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์) ผู้เป็นบิดาบุญธรรมถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2357
 
เดิม[[รัฐกลันตัน]]เป็นเมืองขึ้นของ[[รัฐตรังกานู]] สุลต่าน[[มูฮัมหมัดที่ 1 แห่งกลันตัน|มูฮัมหมัด]] (Muhammad) แห่งกลันตันมีความขัดแย้งกับสุลต่านแห่งตรังกานู จึงร้องขอเข้ามายัง[[พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง)|พระยาวิเศษภักดี (เถี้ยนจ๋ง)]] เจ้าเมืองสงขลา พระยาวิเศษภักดีไม่เห็นด้วย สุลต่านมูฮัมหมัดจึงร้องขอต่อเจ้าพระยานครฯ (น้อย) โดยตรงในพ.ศ. 2358 ขอเป็นประเทศราชต่อกรุงเทพฯโดยตรงไม่ผ่านตรังกานู จึงมีพระราชโองการให้เมืองกลันตันเป็นประเทศราชแยกต่างหากส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่กรุงเทพฯโดยตรงและขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช
 
=== กบฏไทรบุรีครั้งแรก ===
เส้น 103 ⟶ 105:
 
=== กบฏไทรบุรีครั้งหลัง ===
ในพ.ศ. 2375 ตนกูเด่นผู้เป็นหลานของอดีตสุลต่านตวนกูปะแปหรันปลุกระดมชาวเมืองไทรบุรีให้ลุกฮือขึ้นและเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีและพระเสนานุชิต (นุช) บุตรทั้งสองของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) หลบหนีไปยังเมืองพัทลุง เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่กรุงเทพมีคำสั่งให้พระสุรินทร์ซึ่งเป็นข้าหลวงใน[[กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ|กรมพระราชวังบวร]]ฯลงไปช่วง[[พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง)]] ในการเกณฑ์หัวเมืองปัตตานีมารบกับไทรบุรี และตัวเจ้าพระยานครฯจึงรีบรุดลงมายังเมืองนครฯ ฝ่ายบรรดาเจ้าเมืองปัตตานีห้าเมืองจากเจ็ดเมืองนำโดย[[พระยาตานี (ต่วนสุหลง)]] ทราบว่าต้องนำพลไปรบกับไทรบุรีจึงก่อการกบฏขึ้นบ้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพลงมาช่วยเจ้าพระยานครฯ เจ้าพระยานครฯยกทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรีคืนได้สำเร็จ ตนกูเด่นฆ่าตัวตาย
 
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพมาถึงเมืองสงขลาในเดือนมีนาคม พบว่าเจ้าพระยานครฯ (น้อย) เข้ายึดเมืองไทรบุรีได้แล้ว ทั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง) ยกทัพเข้าตีเมืองปัตตานี พระยาตานี (ต่วนสุหลง) สู้ไม่ได้จึงหลบหนีไปยัง[[กลันตัน]] ฝ่ายสยามยกตามไปต่อที่กลันตัน สุลต่าน[[มูฮาหมัดที่ 1 แห่งกลันตัน|มูฮาหมัด]] (Muhammad) มูฮัมหมัดแห่งกลันตันผู้เป็นญาติของพระยาตานีไม่สู้รบขอเจรจาแต่โดยดีและมอบตัวพระยาตานีให้แก่ฝ่ายสยาม หลังจากปราบกบฎไทรบุรีลงได้แล้ว เจ้าพระยานครฯจึงให้พระยาอภัยธิเบศร์และพระเสนานุชิตบุตรทั้งสองครองเมืองไทรบุรีตามเดิม
 
ต่อมาในพ.ศ. 2380 [[กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย]]สิ้นพระชนม์ เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และข้าราชการกรมการของหัวเมืองปักษ์ใต้เดินทางไปยังกรุงเทพฯเพื่อร่วมพระราชพิธี ในหลานสองคนของตวนกูปะแงหรันได้แก่ตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad) และตนกูมูฮาหมัดอากิบ (Tunku Muhammad Akib) ร่วมมือกับหวันหมาดหลีซึ่งเป็นโจรสลัดใน[[ทะเลอันดามัน]] นำทัพเรือเข้าบุกยึดเมืองไทรบุรีในเดือนกุมพาพันธ์พ.ศ. 2381 นำไปสู่[[กบฏหวันหมาดหลี]] พระยาอภัยธิเบศร์และพระเสนานุชิตหลบหนีไปตั้งมั่นที่เมืองพัทลุง ในขณะนั้นเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ล้มป่วยอยู่ที่กรุงเทพจำต้องรีบรุดเดินทางลงมายังเมืองนครฯเพื่อปราบกบฏไทรบุรีอีกครั้งพร้อมกับพระวิชิตไกรสร เจ้าพระยานครฯล้มป่วยอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดให้[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต)]] ยกทัพมาช่วยเจ้าพระยานครฯ พระยาอภัยธิเบศร์ พระเสนานุชิต และพระวิชิตไกรสรเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้อีกในเดือนเดียวกันนั้นเอง
เส้น 111 ⟶ 113:
=== ถึงแก่อสัญกรรม ===
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมที่เมืองนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2381<ref>[http://nanagara.net/s_name.html ประวัติสกุล ณ นคร] สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560</ref> หลังจากที่เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) จัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ โดยยกตนกูอาหนุ่มซึ่งเป็นญาติของตวนกูปะแงหรันขึ้นเป็นสุลต่านแห่งไทรบุรี และให้ชาวมลายูเข้าปกครองเมืองไทรบุรีอีกครั้ง การปกครองไทรบุรีโดยตรงของเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาสิบแปดปีจึงสิ้นสุดลง ส่วนพระยาอภัยธิเบศร์และพระเสนานุชิตนั้น พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ตั้งให้พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เป็นเจ้าเมืองพังงา และให้พระเสนานุชิต (นุช) เป็นปลัดเมืองพังงา นอกจากนี้พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ยังตั้งให้บุตรชายคนที่สองของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) คือ [[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)|พระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง)]] ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนที่สี่ ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระยานครศรีธรรมราช ส่วนบุตรชายคนโตของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) คือ[[เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร)|พระยาพัทลุง (น้อยใหญ่)]] โปรดฯเข้าไปช่วยราชการที่กรุงเทพฯ เนื่องจาก"''เป็นคนไม่ชอบกันกับพี่น้อง''"<ref>เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''</ref>
 
== ครอบครัวและบุตรธิดา ==
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) สมรสกับท่านผู้หญิงอิน ซึ่งเป็นธิดาของพระยาพินาศอัคคี เจ้าพระยานครฯ (น้อย) มีบุตรธิดากับภรรยาต่างๆรวมกันทั้งสิ้น 34 คน ยกตัวอย่างได้แก่;
 
* คุณหญิงน้อยใหญ่ เป็น[[เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ ในรัชกาลที่ 3]] ประสูติพระโอรสคือ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์|พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์]]ในพ.ศ. 2368
* คุณหญิงน้อยเล็ก เป็นเจ้าจอมน้อยเล็กในรัชกาลที่ 3
* คุณชายน้อยใหญ่ เป็นพระเสน่หามนตรี<ref>https://www.lampam.go.th/history.php</ref> ต่อมาเป็นพระยาพัทลุง ต่อมาเป็น[[เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร)|เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่)]] ต้นสกุลโกมารกุล ณ นคร
* คุณชายน้อยกลาง เป็นพระเสน่หามนตรี ต่อมาเป็น[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง)]] เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคนที่ 4
* คุณชายน้อยเอียด เป็นพระเสน่หามนตรี ต้นสกุลจาตุรงคกุล
* คุณชายแสง เป็นพระภักดีบริรักษ์ ต่อมาเป็นพระยาอภัยธิเบศร์เจ้าเมืองไทรบุรี ต่อมาเป็นเจ้าเมืองพังงา
* คุณชายนุช เป็นพระเสนานุชิตปลัดเมืองไทรบุรี ต่อมาเป็นปลัดเมืองพังงา ต่อมาเป็นพระยาเสนานุชิตเจ้าเมือง[[ตะกั่วป่า]]
 
== อ้างอิง ==