ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 91:
 
=== กบฏไทรบุรีครั้งแรก ===
ในพ.ศ. 2363 [[พระเจ้าจิงกูจาจักกายแมง]]แห่งพม่ามีพระราชโองการให้เตรียมเกณฑ์ทัพจากเมือง[[มะริด]]และ[[ตะนาวศรี]]เข้ารุกรานไทย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อทรงทราบข่าวทัพพม่าจึงมีพระราชโองการให้จัดเตรียมทัพไปตั้งรับ ในขณะนั้นพระยานครฯ (น้อย) ล้มป่วยลง จึงมีพระราชโองการให้พระวิชิตณรงค์ไปรักษาการณ์เมืองนครศรีธรรมราช และให้[[พระพงษ์นรินทร์]]ซึ่งเป็นหมอหลวงเดินทางมารักษาอาการป่วยของพระยานครฯ และมีตราว่าหากทัพพม่าบุกเข้ามาให้พระยานครฯเป็นแม่ทัพ พระวิชิตณรงค์เป็นปลัดทัพ และพระพงษ์นรินทร์เป็นยกกระบัตรทัพ แต่สุดท้ายแล้วทัพพม่าก็ไม่ได้ยกมารุกรานแต่อย่างใด
 
ฝ่ายสุลต่านตวนกูปะแงหรันแห่งไทรบุรีเมื่อทราบข่าวว่าพม่าจะยกทัพมายังภาคใต้จึงติดต่อสัมพันธไมตรีกับฝ่ายพม่า ตนกูมอม (Tunku Mom) น้องชายของสุลต่านตวนกูปะแงหรันมาแจ้งความแก่พระยานครฯ (น้อย) ว่าตวนกูปะแงหรันลักลอบติดต่อกับพม่า ฝ่ายกรุงเทพฯจึงมีตราเรียกเข้ามาพบสุลต่านไม่ไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโองการให้พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ยกทัพไปตีเมืองไทรบุรี พระยานครฯ (น้อย) ยกทัพเรืองจากเมือง[[พัทลุง]]และ[[สงขลา]]เข้าโจมตีทางบกและยึดเมือง[[อาโลร์เซอตาร์]]เมืองหลวงของไทรบุรีได้สำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2364 สุลต่านตวนกูปะแงหรันหลบหนีไปยัง[[เกาะปีนัง]]หรือเกาะหมาก ซึ่งไทรบุรีได้ยกให้แก่อังกฤษให้เช่าตั้งแต่พ.ศ. 2329 เมื่อยึดไทรบุรีได้แล้วพระยานครฯ (น้อย) จึงตั้งให้บุตรชายคือพระภักดีบริรักษ์ (แสง) เป็นเจ้าเมืองไทรบุรีแทน และให้บุตรชายอีกคนคือนายนุชมหาดเล็กเป็นปลัดเมืองไทรบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระภักดีบริรักษ์ (แสง) เป็น''พระยาอภัยธิเบศร์''เจ้าเมืองไทรบุรี และแต่งตั้งนายนุชมหาดเล็กเป็น''พระเสนานุชิต''ปลัดเมืองไทรบุรี