ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขี้เหล็ก"

เพิ่มขึ้น 162 ไบต์ ,  3 ปีที่แล้ว
เพิ่มส่วนดูเพิ่มและลิงค์เชื่อมบทความ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วนดูเพิ่มและลิงค์เชื่อมบทความ
บรรทัด 23:
|}}
 
'''ขี้เหล็ก''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Senna siamea| (Lam.) Irwin & Barneby}})<ref>[http://www.flowersofindia.in/catalog/slides/Siamese%20Cassia.html Senna siamea]</ref> จัดเป็นพืชใน[[วงศ์]] Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มลายู-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทาง[[พฤกษศาสตร์]]ของต้นขี้เหล็กเป็น[[ไม้ยืนต้น]]ขนาดเล็กถึงปานกลาง [[ผลัดใบ]] สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆเรื่อ ๆ [[ใบประกอบ]]เป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ [[กลีบเลี้ยง]]มี 3-4 กลีบ [[กลีบดอก]]มี 5 กลีบ [[เกสรตัวผู้]]10 อัน [[ผล]]เป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ [[เมล็ด]]รูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด [[เนื้อไม้]]มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการ[[แพทย์แผนไทย]]ได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการ[[ท้องผูก]] ใช้แก้อาการ[[นอนไม่หลับ]] ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มี[[รังแค]] ช่วย[[เจริญอาหาร]] บำรุง[[น้ำดี]] และบำรุง[[โลหิต]] เป็นต้น
 
ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.[[อวย เกตุสิงห์]] ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆอื่น ๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้[[แอลกอฮอล์]]เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มี[[ฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง]] เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอตทิงงัม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่า[[บาราคอล]] (barakol) ซึ่งมีฤทธิ์กล่อมประสาทและลดความกังวล แต่ภายหลังมีการพบว่ามีพิษต่อตับด้วยเช่นกัน<ref>https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12930029</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
 
* [[รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด]]
 
== อ้างอิง ==
11,721

การแก้ไข