ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
 
ผู้เขียนที่รักษาทัศนคติเป็นกลาง แยกแยะกับเรื่องส่วนตัวและมีอารยะปกติสามารถบรรลุความเห็นพ้องในบทความได้ผ่านกระบวนการที่อธิบายข้างต้น กระนั้น บางทีอาจพบทางตันไม่ว่าเพราะไม่สามารถหาเหตุที่สมเหตุสมผลในการระงับข้อพิพาทหรือเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายใช้อารมณ์ หรือมุ่งมั่นกับการเอาชนะข้อโต้แย้ง ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะการระงับข้อพิพาทที่จัดการได้ยาก ร่วมกับคำอธิบายกระบวนการทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่อาจช่วยได้
 
====โดยการชักชวนความเห็นภายนอก====
ปกติเมื่อผู้เขียนสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันในประเด็นหนึ่ง ๆ ได้ และการอภิปรายหน้าคุยล้มเหลว วิกิพีเดียมีกระบวนการที่สถาปนาไว้เพื่อดึงดูดผู้เขียนภายนอกเพื่อให้ความเห็น มักมีประโยชน์เพื่อแก้ไขทางตันที่ไม่ซับซ้อนและสุจริตใจ เพราะผู้เขียนที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถนำมาซึ่งทัศนะใหม่ ๆ และสามารถช่วยผู้เขียนที่เกี่ยวข้องให้เห็นข้อประนีประนอมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยตนเองไม่ได้ ทรัพยากรหลักมีดังนี้
 
;ความเห็นบุคคลที่สาม (3O): บุคคลภายนอกที่เป็นกลางจะให้คำแนะนำที่ไม่ผูกมัดในข้อพิพาทนั้น สงวนไว้สำหรับกรณีที่มีคู่พิพาทสองคน
;[[วิกิพีเดีย:กระดานประกาศประชาคม|กระดานประกาศประชาคม]] (RfC): วางประกาศที่ใช้ภาษาเป็นกลางและเป็นทางการในหน้าคุยของบทความเพื่อเชิญชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมซึ่งจะมีการรวมเข้าสู่กระดานประกาศ
;[[วิกิพีเดีย:สภากาแฟ|สภากาแฟ]]: การแจ้งข้อพิพาทด้วยคำที่เป็นกลางในที่นี้อาจช่วยดึงดูดผู้เขียนเพิ่มเติมที่อาจให้ความช่วยเหลือได้
 
การอภิปรายดังกล่าวหลายที่จะเกี่ยวข้องกับการหยั่งเสียง (poll) ในทางใดทางหนึ่ง แต่ความเห็นพ้องจะตัดสินจากคุณภาพของการให้เหตุผล (ไม่ใช่เพียงนับเสียงข้างมากอย่างเดียว) การหยั่งเสียงควรถือเป็นการอภิปรายอย่างหนึ่งไม่ใช่การออกเสียง (vote) การให้เหตุผลที่มีคำอธิบายจุดยืนโดยใช้นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียเป็นที่ตั้งจะได้รับน้ำหนักสูงสุด
 
==== การแทรกแซงของผู้ดูแลระบบและชุมชน====