ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
พลตรี '''หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล''' (พ.ศ. 2464 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2545) อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศมาเลเซีย ประเทศสมาพันธรัฐสวิส และ[[นครรัฐวาติกัน]] เป็นโอรสของ[[หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล]] และเป็นพระนัดดาสืบตระกูลใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] สมรสกับนางมัณฑนา ดิศกุล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม กุญชร ณ อยุธยา) มีบุตรชายคนเดียว คือ [[หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล]]
 
หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล เป็นทายาทสายตรงผู้สืบทอดดำรงรักษา[[วังวรดิศ]] ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ท่านได้ทุ่มเทเวลากว่า 20 ปีภายหลังเกษียณอายุราชการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศมาเลเซีย สมาพันธรัฐสวิส และนครรัฐวาติกัน ในความทุ่มเท เสียสละ ไม่เคยมีความโลภโมโทสันที่จะขายพื้นที่วังวรดิศหรือให้เช่าตามสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ทั้งที่มีผู้มาติดต่อขอซื้อและขอเช่าเป็นจำนวนมาก แต่ได้ดำริก่อตั้ง 'วังวรดิศ' เป็น [[พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์]] และเสด็จปู่ของหม่อมราชวงศ์สังขดิศ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตามที่ [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวพระราชดำริแก่เอกอัครราชทูต หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล เมื่อครั้งที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ประเทศสมาพันธรัฐสวิส รวมทั้งการให้เป็น [[โรงเรียนดำรงราชานุภาพ]] เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูกหลานเยาวชน ครูอาจารย์ อีกทั้งหลักสูตร 'การเป็นคนไทยที่ดี ตามรอยพระยุคลบาท' ให้กับข้าราชการจากหลายส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตราบจนปัจจุบัน ที่บุตรชายคนเดียว คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [[ผู้บริหารราชการพลเรือนครุฑทองคำ]] (พ.ศ.2554-2555) สมรสกับนางอัมพร ดิศกุล ณ อยุธยา มีบุตรชายคนเดียว คือ นายวรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา ได้สืบสานปณิธานของบิดาด้วยวิริยภาพ และยึดมั่นพระราชปรัชญาความพอเพียงในการครองตน ครองคน และครองงาน มีความเพียร ความเจียมเนื้อเจียมตัว ความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามคำสอนของบิดา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตลอดมา <ref>http://www.oursiam.net/content/view.php?id=59</ref>
 
พลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ด้วยโรคเกี่ยวกับโลหิตในสมอง เมื่อวันที่ [[22 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2545]]<ref>http://www.mfa.go.th/web/1107.php?id=3343</ref> พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ [[24 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2546]] ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมครอบครัวทายาทพลตรี หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล และสมาชิกในราชสกุลดิศกุล หาที่สุดมิได้