ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มลงในหมวดหมู่แล้ว
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
'''พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า''' หรือ'''พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล''' เป็น[[อนุสรณ์สถาน]]ที่ระลึกถึง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนา[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ประดิษฐานอยู่ด้านหน้า[[หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]] <ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.</ref>
 
ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เคยถูกใช้พิมพ์บน[[ธนบัตรไทย]]แบบที่ 14 สกุล[[เงินบาท]] ชนิดราคา [[ธนบัตร 100 บาท|100 บาท]] ผลิตออกใช้วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2537<ref>ธนาคารแห่งประเทศไทย BOT. (2558). ธนบัตรแบบ ๑๔. Retrieved เมษายน 9, 2559, from เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย:https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/Banknote_Series14.aspx</ref>และธนบัตรไทยแบบที่ 15 รุ่นแรก ชนิดราคา 100 บาท ผลิตออกใช้วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 โดย[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]] เพื่อสื่อถึงพัฒนาการด้านการศึกษาครั้งใหญ่ในสยาม เมื่อครั้งประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ธนาคารแห่งประเทศไทย BOT. (2558). ธนบัตรแบบ 15. Retrieved เมษายน 20, 2559, from เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย:https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/Banknote_Series15.aspx</ref>
 
ที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ตรงกับทางเข้าด้านหน้าและ[[หน้าบัน]]ของหอประชุมจุฬาฯ เป็นการออกแบบตำแหน่งตามหลักการทาง[[ภูมิสถาปัตยกรรม]] (Landscape Architecture) โดยทำให้พื้นที่เปิดโล่งด้านหน้าเสาธงและหอประชุมจุฬาฯ มีจุดสนใจ (Focal Point) เป็นการส่งเสริม[[ภูมิทัศน์]]ให้หอประชุมจุฬาฯ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธ พื้นที่เปิดโล่งบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์จึงมองเห็นได้ง่ายจาก[[ถนนพญาไท]]และกลายเป็นจุดสนใจของ[[เขตปทุมวัน]]และ[[กรุงเทพมหานคร]]ไปพร้อมกัน<ref>ขนิษฐานันท์, ก. (2549, มิถุนายน 22). ภูมิทัศน์อนุสาวรีย์ พระราชานุสาวรีย์ และพระบรมราชานุสาวรีย์. (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Interviewer) คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref>
บรรทัด 41:
[[ไฟล์:TWwithflag.JPG|left|thumb|พระบรมราชานุสาวรีย์และเสาธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
{{คำพูด|...การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาลทำให้พื้นที่โล่งตรงกลางมีจุดสนใจ (Focal Point) ส่วนคณะอักษรศาสตร์เก่าสองหลังปัจจุบันนี้เรียกว่าเทวาลัย ทางส่วนกลางก็กำลังจะปรับ แล้วเอามาใช้ประโยชน์ส่วนกลาง...|กี ขนิษฐานันท์}}
นอกจากจะเป็นจุดสนใจทางภูมิสถาปัตยกรรม (Focal Point) บริเวณโดยรอบลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชยังเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เป็นแกนสีเขียว (Green Axis) บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามผังแม่บทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 100 ปี เป็นพื้นที่ซับน้ำที่มีพืชปกคลุมดินเป็นบริเวณกว้างจึงลดการสะท้อนความร้อนจากแสงแดด และเป็นที่เปิดโล่งไม่กี่แห่งในย่านธุรกิจของ[[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]]<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558). โครงการผังแม่บทภูมิสถาปัตยกรรม. Retrieved เมษายน 9, 2559, from เว็บไซต์ โครงการมหาวิทยาลัยสีเขียว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: http://www.green.chula.ac.th/campus01.html</ref> โดย[[อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ก็เป็นส่วนหนึ่งของแกนสีเขียวในแผนแม่บทดังกล่าวด้วย ทำให้พระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งตรงกับจุดกึ่งกลางทางเข้าด้านหน้าของอุทยาน 100 ปีพอดี และมีระยะ[[การกระจัด]]ระหว่างทั้งสองสถานที่ราว 740 เมตร
 
== อ้างอิง ==