ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลโซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chiangmai2499 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37:
===ยุคหลัง===
 
ในปี [[พ.ศ. 2542]] รัฐได้ออกจากวงโลโซไปเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว ทำให้วงโลโซต้องหยุดการทัวร์คอนเสิร์ตและพักวงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะมาทำอัลบั้มชุดที่ 3 ของวงต่อ ชื่อชุดว่า '''Rock & Roll''' โดยที่มีนักดนตรีในห้องบันทึกเสียงเพียงแค่ 2 คนคือ เสกและใหญ่ เพลงในอัลบั้มได้ดึงเอาความเป็นอเมริกันร็อกเข้ามาเพิ่มสีสันทางอารมณ์ดนตรีเข้าไป แต่ยังคงความเป็นร็อกไทยแบบโลโซเหมือนเดิม อัลบั้มนี้ได้ชักชวน ณัฐพล สุนทรานู (กลาง) เพื่อนนักดนตรีด้วยกันและอดีตมือเบสสมาชิก[[เฌอ (วงดนตรี)|วงเฌอ]] เข้ามาร่วมงานกับวงโลโซในฐานะนักดนตรีแบ็คอัพชั่วคราว และร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงแทนรัฐไปก่อน มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง ''ร็อคแอนด์โรล'' เพลงที่บ่งบอกความเป็นร็อคแอนด์โรลของวง มีเพลงช้าอย่าง ''ใจสั่งมา'' ซึ่งเป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงและได้เสียงตอบรับมากที่สุดเพลงหนึ่งของวงโลโซ และยังมีเพลง ''ท้าวสุรนารี'' เพลงที่กล่าวถึงวีรกรรมอันแสนกล้าหาญของ[[ท้าวสุรนารี]] วีรสตรีแห่งเมือง[[โคราช]]และเป็นเพลงเดียวของโลโซที่มีการใช้คอรัสหญิงในเพลง นอกจากนี้มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลง ''สาหัส'' , ''คืนจันทร์เพื่อนใจ'' , ''เพื่อนเจ็บใจ'' , ''คืนจันทร์'' อัลบั้มชุดนี้ยังคงประสบความสำเร็จด้วยยอดขายเกินหนึ่งล้านชุด เหมือนอัลบั้มชุดก่อนหน้า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในวงก็ตาม และทำให้โลโซมีงานทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศมากขึ้น
 
ในปลายเดือน[[กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2544]] วงโลโซได้ออกอัลบั้มชุดที่ 4 ชื่อว่า '''Losoland''' ซึ่งความหมายในอัลบั้มนี้สื่อถึงการยกระดับของวงโลโซจาก Lo Society ซึ่งหมายถึง สังคมชั้นต่ำ ซึ่งสังคมชั้นต่ำนี้ได้ยกระดับตัวเองเป็นเมืองชั้นต่ำที่ยิ่งใหญ่ขี้นและมีความเป็นร็อคแอนด์โรลมากขึ้น มีเพลงเปิดอัลบั้มอย่างเพลง ''เข้ามาเลย'' ซึ่งเป็นเพลงที่บ่งบอกความเป็นวงโลโซ และยังมีเพลงดังอย่างเพลง ''มอไซต์รับจ้าง'' เพลงจังหวะโจ๊ะ ๆ สนุกแบบจิ๊กโก๋ พูดถึงอาชีพที่ติดดินอย่าง[[มอเตอร์ไซค์รับจ้าง]] เป็นเพลงที่สร้างชื่อให้กับวงเพลงหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเพลง ''คนบ้า'', ''รอยยิ้มนักสู้'', ''หมาเห่าเครื่องบิน'' และเพลง ''อย่าเห็นแก่ตัว'' เพลงในท้ายอัลบั้มที่มีเนื้อหาเพลงเสียดสีสังคม ถือเป็นเพลงที่มีความยาวมากที่สุดถึง 12:01 นาที เป็นต้น อัลบั้มชุดนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายซึ่งขายได้เพียง 7 แสนชุดเท่านั้น เนื่องจากพิษภัยของเทปผีซีดีเถื่อนที่ระบาดไปทั่วประเทศ ซึ่งศิลปินในยุคนั้นต้องประสบปัญหานี้รวมไปถึงวงโลโซด้วย แต่โลโซก็ยังคงประสบความสำเร็จทางด้านฐานแฟนเพลงที่ยังแน่นอยู่
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โลโซ"