ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะโดธรรมราชาที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
เมื่อ[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2073 พระองค์ต้องการแผ่ขยายพระราชอำนาจแห่ง[[อาณาจักรตองอู]] ให้แผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ นันทยอทา ได้เข้าร่วมใน[[สงครามตองอู–หงสาวดี (พ.ศ. 2077–2084)]] ปี พ.ศ. 2083 นันทยอทา ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองธัมยินดง ( သမြင်းတုံ ) เป็นเมืองที่อยู่บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปาก[[แม่น้ำอิรวดี]] ปี พ.ศ. 2084 พระองค์เข้าร่วมนำทัพในสงครามตองอู-แปร (พ.ศ.2084-2085) ทรงเป็นผู้นำกองทัพเรือในสงครามตองอู-ยะไข่ (พ.ศ.2089-2090) และนำทัพช้างใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้|สงครามอยุธยา]] (พ.ศ.2091-2092) และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2093 เขาได้ร่วมกับพระเชษฐา[[พระเจ้าบุเรงนอง|บุเรงนอง]]และ[[เมงเยสีตูแห่งเมาตะมะ|สิริชัยกะยอดิน]] ปราบกบฏ[[สมิงทอ]]
 
===รัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ.2093-2134)===
หลังจากที่[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2093 [[พระเจ้าบุเรงนอง]]ก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ร่วมกับพระเชษฐา กอบกู้อาณาจักรที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า พ.ศ.2093-2094 ขณะนั้น[[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]] เจ้าเมืองตองอู พระอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้าบุเรงนอง แข็งเมืองไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระเชษฐา พระองค์จึงต้องยกทัพไปปราบ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2094 พระเจ้ามังฆ้องทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองพระราชทานอภัยโทษให้ นันทยอทา ที่มีความดีความชอบในศึกครั้งนี้ พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ '''ตะโดธรรมราชา''' ให้แก่นันทยอทา และจึงยกทัพไปปราบ[[ตะโดธรรมราชาที่ 1|พระเจ้าตะโดตู]] เจ้าเมืองแปร พระสัสสุระของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ที่คิดแข็งเมืองอีกพระองค์ เมื่อสำเร็จโทษพระเจ้าตะโดตูแล้ว พระเจ้าบุเรงนองจึงสถาปนา นันทยอทา เป็นพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2