ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะโดธรรมราชาที่ 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
หลังจากที่[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2093 [[พระเจ้าบุเรงนอง]]ก็สถาปนาตนเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป พระองค์ร่วมกับพระเชษฐา กอบกู้อาณาจักรที่แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า พ.ศ.2093-2094 ขณะนั้น[[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]] เจ้าเมืองตองอู พระอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้าบุเรงนอง แข็งเมืองไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระเชษฐา พระองค์จึงต้องยกทัพไปปราบ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2094 พระเจ้ามังฆ้องทรงยอมแพ้ พระเจ้าบุเรงนองพระราชทานอภัยโทษให้ นันทยอทา ที่มีความดีความชอบในศึกครั้งนี้ พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ '''ตะโดธรรมราชา''' ให้แก่นันทยอทา และจึงยกทัพไปปราบ[[ตะโดธรรมราชาที่ 1|พระเจ้าตะโดตู]] เจ้าเมืองแปร พระสัสสุระของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ที่คิดแข็งเมืองอีกพระองค์ เมื่อสำเร็จโทษพระเจ้าตะโดตูแล้ว พระเจ้าบุเรงนองจึงสถาปนา นันทยอทา เป็นพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2
 
พระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 เป็น 1 ใน 4 ยอดขุนพลคู่พระทัยของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งได้แก่ [[เมงเยสีตูแห่งเมาะตะมะเมาตะมะ|พระเจ้าเมงเยสีตู]] พระเจ้าตะโดธรรมราชา [[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง]] [[พระเจ้าตะโดเมงสอแห่งอังวะ|พระเจ้าตะโดเมงสอ]] ทรงร่วมสมรภูมิตลอดการรณรงค์สงครามตั้งแต่ พ.ศ.2095-2108 เพื่อรวบรวมอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2099 เมงเยสีตู สิ้นพระชนม์ลง ตำแหน่งขุนพลคู่พระทัยก็ตกไปเป็นของ[[พระเจ้านันทบุเรง|พระมหาอุปราชมังชัยสิงห์ (นันทบุเรง)]] พระองค์ทรงนำทัพไปร่วมในทุกสมรภูมิ ยกเว้นสงครามเมือง[[มณีปุระ]] พ.ศ. 2103 และสงคราม[[ราชอาณาจักรล้านช้าง|ล้านช้าง]] พ.ศ. 2108 พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากพักราชการงานศึก ในปีพ.ศ. 2111 ล้านช้างและอยุธยาก็กระด้างกระเดื่อง พระองค์จึงต้องยกทัพไปปราบ และในปีพ.ศ. 2113 พระเจ้าตะโดธรรมราชา กับขุนพลคู่พระทัยอีก 3 พระองค์ ก็ยกขึ้นไปปราบรัฐฉาน
 
{{ahnentafel top|การศึกของพระเจ้าตะโดธรรมราชาที่ 2 (ค.ศ. 1551–80)|width=100%; clear:none}}