ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23:
ทั้งหมดนี้นับเป็นนักเรียนญี่ปุ่นรุ่นแรกของประเทศไทย
 
เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว เดินทางกลับมาประเทศไทยในปลายรัชกาลที่ 5 เริ่มฝึกราชการในกรมพระราชพิธี [[กระทรวงวัง]] จนถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ในรัชกาลที่ 6 จึงได้รับราชการ ทรงพระกรุณาฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น จมื่นศิริวังรัตน์ ตำแหน่งกรมวังเจ้ากรมพระตำรวจวังในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือศักดินา ๖๐๐<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2269.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๒๗๑)] </ref>และรับราชการเรื่อยมามีความเจริญโดยลำดับจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "พระยาเทวาธิราช" ในที่สุด และมียศพลเรือนสูงสุด คือ "มหาเสวกตรี" จนถึงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2485 ท่านจึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=59|issue=18 ง|pages=513|title=ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/018/512.PDF|date=17 มีนาคม 2485|accessdate=15 พฤศจิกายน 2560|language=ไทย}}</ref>
 
ท่านได้รับราชการโดยลำดับ ดังนี้
*พ.ศ. 2453 เป็นเจ้ากรมพระตำรวจวัง ในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
*พ.ศ. 2463 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี ในกระทรวงวัง
*พ.ศ. 2470 เป็นผู้ช่วยสมุหพระราชพิธี และ เจ้ากรมกรมวัง ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
*พ.ศ. 2471 เป็นสมุหพระราชพิธี
*พ.ศ. 2476 เป็นสมุหพระราชพิธี และทำการในตำแหน่งเจ้ากรม กองพระราชพิธี
*พ.ศ. 2478 เป็นหัวหน้ากองวังและพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
*พ.ศ. 2479 เป็นสมุหพระราชพิธี กรรมการพระราชวัง เพื่อปรึกษากิจการพระราชสำนัก
*พ.ศ. 2486 เป็นข้าราชการพลเรื่อนในพระองค์ชั้นพิเศษ
*พ.ศ. 2492 เป็นสมุหพระราชพิธี และที่ปรึกษาสำนักพระราชวัง
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เกือบครึ่งชีวิตในเวลาราชการของพระยาเทวาธิราช ท่านได้ครองตำแหน่งสมุหพระราชพิธียาวนานถึง 3 แผ่นดิน ตราบจนเกษียณอายุออกรับพระราชทานบำนาญ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2501 รวมอายุเวลาราชการ 47 ปี 6 เดือน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถและรอบรู้ในเรื่องพิธีการในพระราชสำนักอันจะหาผู้เสมอได้ยาก ความรู้ในเรื่องระเบียบพระราชพิธีของท่านได้ถ่ายทอดให้บุคคลจำนวนมาก ทั้งบุตรและข้าราชการรุ่นหลัง เช่น นายเศวต ธนประดิษฐ์, นายเกรียงไกร วิศวามิตร เป็นต้น ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ , ประถมาภรณ์ช้างเผือก , ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และเหรียญรัตนาภรณ์ ในรัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเกียรติยศ