ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยยย
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42:
 
=== ชีวิตวัยเยาว์ ===
[[ไฟล์:buddhadasa_family.jpg|200px|thumb|ท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อมีอายุ 5 ขวบ<br>ถ่ายหน้าบ้านที่ท่านพุทธทาสภิกขุโตขึ้นมา จากซ้ายไปขวาคือ ''พระกลั่น'' (ต่อมาเป็นอาจารย์บาลีของท่านพุทธทาสภิกขุ) ''พระหนุน'' (เจ้าอาวาสวัดพุมเรียง) ''เด็กชายเงื่อม'' (ท่านพุทธทาสภิกขุ) ''นายเซี้ยง'' (บิดาท่านพุทธทาสภิกขุ) และ ''เด็กชายยี่เกย'' (น้องชายท่านพุทธทาสภิกขุ)]]
 
เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็น[[เด็กวัด]]ที่[[วัดพุมเรียง]] หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืจจจบชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า
 
: ''ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์'' <ref name="เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา">พุทธทาสภิกขุ, ''เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา : อัตชีวประวัติของพุทธทาสภิกขุ''.</ref>