ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูเขาไฟกรากะตัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gu jeng (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
AcJavelin (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
 
== ประวัติ ==
ในอดีตพื้นที่ระหว่าง[[เกาะชวา]]กับ[[เกาะสุมาตรา]]เป็นทะเล ต่อมา เมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน เปลือกโลกบริเวณนี้ได้แยกตัวออก ส่งผลให้แมกมาและธาตุ[[ภูเขาไฟ]]จำนวนมากถูกพ่นออกมา และต่อมาแมกมาก็เย็นลงจับตัวกันเป็นภูเขาใต้น้ำ หลายหมื่นปีต่อมา ธาตุภูเขาไฟเริ่มเย็นตัวลง และจับตัวแข็งอยู่ใต้ทะเลเหนือภูเขาใต้น้ำเหล่านั้น และก็เกิดการทับถมอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเกาะพ้นน้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเกาะชวากับเกาะสุมาตรา แต่เป็นคาดกันว่าภูเขาไฟในยุคนั้นระเบิดออกอย่างรุนแรงจนเกือบจะหายไปทั้งเกาะ โดยส่วนของเกาะที่ไม่แข็งแรง จึงค่อยๆสึกกร่อนไป จนเหลือเฉพาะบริเวณที่แข็งแรงอยู่ปัจจุบันเรียกว่า กลายเป็นเกาะขนาดเล็กหลายเกาะลัง และมีเกาะจำนวนมากเวอร์ลาเต็น ซึ่งเป็นเกาะที่มีเรียงรายอยู่รอบๆภูเขาไฟ อานัก กรากาตัวในปัจจุบันนั่นเอง ภูเขาไฟกรากะตัวในยุคนั้นมักจะเรียกขานกันว่า กรากะตัวโบราณ (ภาษาอังกฤษ : Ancient Krakatoa) <ref>{{cite web| url=http://www.volcano.si.edu/world/region.cfm?rnum=06&rpage=list| title=Volcanoes of Indonesia| publisher=[[Smithsonian Institution]]| accessdate=25 March 2007| work=Global Volcanism Program}}</ref> โดยหลังจากเหตุการณ์ในยุคนั้นไป ก็มีการประทุของภูเขาไฟบริเวณนี้อีกเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งนี้มีภูเขาไฟผุดขึ้นมาจากน้ำถึงสามลูก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเกาะภูเขาไฟที่กำลังจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1883
 
เกาะกรากาตัวในยุคต่อมา เป็นเกาะที่มีแนวเส้นภูเขาไฟพาดผ่านใจกลางเกาะ ยอดมีปล่องภูเขาไฟอยู่ด้วยกันบนเกาะรวมทั้งสิ้น 3 ปล่อง คือ ระกาตา อยู่ทิศใต้สุดของเกาะ , ดานัน อยู่กลางเกาะ และ เพอร์โบอิวาตัน (เพอร์บัวตัน) อยู่ทางทิศเหนือของเกาะ ระกาตาเป็นปล่องภูเขาไฟที่สูงที่สุดในบนเกาะ โดยมีความสูง 820 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หินภูเขาไฟและธาตุภูเขาไฟที่ให้เป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการเกษตรกรรม เกาะแห่งนี้เริ่มมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมื่อประมาณ3000ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์กลุ่มแรกๆคือเกษตรกรที่มาทดลองถางป่าที่เกาะนี้เพื่อปลูกข้าวและพืชผลอื่นๆแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะ เกาะนี้อยู่ไม่ไกลจากเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้คนมาตั้งรกรากมากขึ้น จนเกาะแห่งนี้กลายเป็นเมืองแห่งหนึ่ง
 
ภูเขาไฟบนเกาะกรากาตัวที่ตั้งอยู่บนเกาะได้มีการระเบิดเล็กๆน้อยๆหลายครั้ง แต่การระเบิดได้พ่นแร่ธาตุออกมาทำให้เกาะอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านจึงไม่ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายของภูเขาไฟระเบิด การระเบิดครั้งสุดท้ายก่อนจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เกิดขึ้นใน [[พ.ศ. 2224]] (ค.ศ. 1681) <ref>Note: Vogel returned to Amsterdam in 1688 and published the first edition of his journal in 1690.</ref>หลังจากนั้น เกาะกรากาตัวก็สงบไปนานกว่า 200 ปี
 
== การระเบิดครั้งรุนแรงเมื่อ ค.ศ. 1883 ==