ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
อานัมสยามยุทธ
บรรทัด 39:
 
=== รับทูตครอว์เฟิร์ต ===
ในพ.ศ. 2363 สุลต่านอาหมัดทัจอุดดินฮาลิมชาฮ์ (Ahmad Tajuddin Alim Shah) แห่งไทรบุรี หรือ "ตวนกูปะแงหรัน" (Tunku Pangeran) แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อกรุงเทพฯ [[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)]] ยกทัพไปยึดเมืองไทรบุรีในพ.ศ. 2364 สุลต่านตวนกูปะแงหรันหนีไปยังเกาะหมากหรือ[[เกาะปีนัง]]ซึ่งไทรบุรีได้ยกให้แก่อังกฤษเมื่อพ.ศ. 2329 สยามจึงเข้าปกครองไทรบุรีโดยตรง ฝ่ายอังกฤษมีความกังวลว่าเมื่อสยามผนวกไทรบุรีแล้วตนจะไม่ได้รับอนุญาตให้ตั้งอยู่ที่เกาะปีนังอีกต่อไป [[ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ มาร์เควสแห่งเฮสติงส์ที่ 1|มาร์เควสแห่งเฮสติงส์]] (Marquess of Hastings) ผู้ปกครอง[[บริติชอินเดีย]] ส่งนาย[[จอห์น ครอว์เฟิร์ด]] (John Crawfurd) เป็นทูตเข้ายังกรุงเทพฯเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและดูท่าทีของสยามในเดือนเมษายนพ.ศ. 2364 พระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ) ได้เลื่อนขึ้นเป็น''พระยาสุริยวงศ์โกษา''ที่พระคลัง พระยาสุริยวงศ์โกษา (ดิศ) ให้การตอนรับแก่นายครอว์เฟิร์ตโดยให้พักที่ตึกตรงข้ามหน้าวัดประยูรวงศ์<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref>และนำนายครอว์เฟิร์ตเข้าเฝ้า[[กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]] การเจรจาระว่างสยามและอังกฤษในครั้งนี้ล้มเหลวเนื่องจากฝ่ายอังกฤษเสนอให้ตั้งกงสุลและลดภาษี ฝ่ายสยามร้องขอซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการศึกกับพม่า ฝ่ายอังกฤษตอบว่าจะขายอาวุธให้แก่สยามก็ต่อเมื่อสยามงดทำศึกกับพันธมิตรของอังกฤษ (หมายถึงพม่า) อีกทั้งนายครอว์เฟิร์ตยังถือจดหมายของพระยาไทรบุรีตวนกูปะแงหรันมาสร้างความไม่พอใจแก่ฝ่ายสยาม หลังจากการเจรจากับครอว์เฟิร์ตพระยาสุริยวงศ์โกษา (ดิศ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง
 
=== สนธิสัญญาเบอร์นี ===
บรรทัด 52:
 
เจ้าพระยาพระคลังฯและพระยาสงขลายกทัพถึงเมือง[[ปัตตานี]]ในเดือนกรกฎาคมและเข้าโจมตีเมืองปัตตานีทั้งทางบกและทะเล [[พระยาตานี (ต่วนสุหลง)]] สู้ไม่ได้จึงหลบหนีไปยังเมือง[[กลันตัน]] เจ้าพระยาพระคลังฯจึงเข้ายึดเมืองปัตตานีได้สำเร็จและยกทัพต่อไปที่กลันตัน สุลต่าน[[มูฮาหมัดที่ 1 แห่งกลันตัน|มูฮาหมัด]] (Muhammad) แห่งกลันตันผู้เป็นญาติของพระยาตานีไม่สู้รบขอเจรจาแต่โดยดีและมอบตัวพระยาตานีให้แก่เจ้าพระยาพระคลังฯ จากนั้นเจ้าพระยาพระคลังฯส่งขุนวิจิตรวาทีไปยังเมืองตรังกานูเพื่อเจรจา แต่สุลต่าน[[อับดุลรอฮ์มานแห่งตรังกานู|อับดุลรอฮ์มาน]] (Abdul Rahman) แห่งตรังกานูไม่ยอมให้ขุนวิจิตรวาทีเข้าพบ เจ้าพระยาพระคลังฯจึงปลดสุลต่านอับดุลรอฮ์มานออกจากตำแหน่ง และยกตำแหน่งเจ้าเมืองตรังกานูให้แก่[[โอมาร์ ริอายัต ชาฮ์ แห่งตรังกานู|โอมาร์ ริอายัต ชาฮ์]] (Omar Riayat Shah) หรือ "ตนกูอุมา" ซึ่งพำนักอยู่บน[[หมู่เกาะลิงกา|เกาะลิงกา]]ให้เป็นสุลต่านแห่งตรังกานูแทนโดยพระบรมราชานุญาต
 
ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2376 ประธานาธิบดี[[แอนดรูว์ แจ็คสัน]] ส่งนาย[[เอดมันด์ โรเบิตส์]] (Edmund Roberts) มาถึงยังกรุงเทพฯเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี เรือของนายโรเบิตส์ติดสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ เจ้าพระยาพระคลังฯจึงส่งเรือออกไปรับทูตอเมริกันและจัดที่พำนักให้ที่ตึกหน้าวัดประยูรวงศ์ นายเอดมันต์ โรเบิตส์มอบสารจากประธานธิบดีแจ็คสันให้แก่เจ้าพระยาพระคลังฯรวมทั้งประชุมที่บ้านของเจ้าพระยาพระคลังฯในการทำสนธิสัญญาทางการค้ากับสยาม นำไปสู่[[สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833]] (Treaty of Amity and Commerce of 1833) หรือสนธิสัญญาโรเบิตส์ (Roberts Treaty) ในเดือนเมษายน
 
=== อานัมสยามยุทธ ===
ในพ.ศ. 2376 สงคราม[[อานัมสยามยุทธ]] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ที่สมุหกลาโหมยกทัพเรือเข้าโจมตีเมือง[[ไซง่อน]]ของเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ร่วมกับ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ซึ่งยกทัพไปทางบก เจ้าพระยาพระคลังฯเข้ายึดเมือง[[ห่าเตียน]]หรือเมือง[[บันทายมาศ]]ได้และนำทัพเรือไปตามคลองหวิญเต๊ (Vĩnh Tế) เข้าโจมตีและยึดเมืองโจดกหรือ[[เจิวด๊ก]] (Châu Đốc [[จังหวัดอานซาง]]ในปัจจุบัน) ได้ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2377 เมื่อทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ตามมาสมทบที่เมืองโจดกแล้ว ทั้งเจ้าพระยาพระคลังฯและเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงยกทัพสยามไปตาม[[แม่น้ำบาสัก]]ไปยังเมือไซ่ง่อนและพบกับทัพเรือของเวียดนามที่คลองหวั่มนาว (Vàm Nao) ปรากฏว่าบรรดาแม่ทัพนายกองเรือต่างไม่ยอมถอนสมอเรือขึ้นเพื่อเข้าโจมตีข้าศึก<ref name=":0" /> แม้ว่าเจ้าพระยาพระคลังฯจะลงเรือป่าวประกาศให้เรือถอนสมอแล้วก็ตาม เป็นผลให้ฝ่ายสยามต้องล่าถอยกลับไปยังเมืองโจดก เจ้าพระยาพระคลังฯนำทัพเรือล่าถอยมายังคลองหวิญเต๊ไปยังเมืองบันทายมาศ น้ำในคลองหวั่มนาวนั้นตื้นเขินทำให้เจ้าพระยาพระคลังฯต้องนำเรือบางส่วนขึ้นบกแล้วให้ช้างลากไปยังเมือง[[กำปอต (เมือง)|กำปอต]] ชาวกัมพูชาในขบวนนั้นลุกฮือขึ้นสังหารผู้คุมช้างแล้วนำช้างไปหมดสิ้น<ref name=":0" /> เจ้าพระยาพระคลังฯล่าถอยจากเมืองบันทายมาศไปยังเมือง[[จันทบุรี]]และกลับถึงกรุงเทพฯในเดือนพฤษภาคม
 
หลังจากการศึก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) นำกำลังชาวจีนต่อเรือแบบญวนขึ้นแปดสิบลำ และรื้อกำแพงเมืองจันทบุรีลงแล้วสร้างป้อมปราการขึ้นใหม่ย้ายเมืองจันทบุรีไปที่ค่ายเนินวง (ตำบลบางกะจะ [[อำเภอเมืองจันทบุรี]]) เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการรุกรานของเวียดนาม รวมทั้งสร้างวัดโยธานิมิตขึ้นที่จันทบุรี
 
=== ปราบจีนตั้วเหี่ย ===