ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Alifshinobi (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8534955 สร้างโดย 31.4.186.213 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 100:
ในปี พุทธศักราช 2512 เริ่มมีการก่อตั้งชมรมนักจิตวิทยาคลินิกขึ้น โดยมีอาจารย์สมทรง สุวรรณเลิศ เป็นประธานชมรมฯ กิจกรรมที่ทำต่อเนื่องกันมาทุกปี คือ การประชุมวิชาการประจำปี รวม 7 ครั้ง และเริ่มมีการจัดทำวารสารชมรมนักจิตวิทยาคลินิก โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Journal of The Clinical Psychologist Club มีกำหนดออก ปีละ 3 ฉบับ ฉบับแรกที่ออกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2513 การออกวารสารชมรมนักจิตวิทยาคลินิก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางจิตวิทยาคลินิก จิตเวช และศาสตร์ใกล้เคียงอื่น ๆ รวมถึงการรายงานข่าวความเคลื่อนไหวในวงการจิตวิทยาคลินิก ซึ่งก็มีผลงานใหม่ ๆ ด้านจิตวิทยาคลินิกและสุขภาพจิตที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนลงตีพิมพ์ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหรือองค์กรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2519 ชมรมนักจิตวิทยาคลินิก เลื่อนฐานะจากชมรม ฯ ขึ้นมาเป็นสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทยโดยใช้อักษรย่อว่า ส.น.ค.ท. และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Thai Psychologist Association ( TPA) โดยมีนางสาวอุ่นเรือน อำไพพัสตร์ เป็นนายกสมาคม ฯ และนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความกรุณาจากศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ศาสตราจารย์หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย ศาสตราจารย์นายแพทย์[[ประสพ รัตนากร]] แพทย์หญิงคุณหญิงสุภา มาลากุล และนายแพทย์ประสิทธิ์ หะรินสุต มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ในขณะนั้น ส่วนที่ปรึกษาก็ยังคงได้รับความกรุณาจากนักจิตวิทยาอาวุโสคือ นางสมทรง สุวรรณเลิศ และนายณรงค์ศักดิ์ ตะละภัฏ และมีคณะกรรมการอำนวยการบริหารงานของสมาคม ฯ วาระละ 2 ปี ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อวารสารใหม่มาเป็นวารสารจิตวิทยาคลินิก โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Journal of Clinical Psychology" มาจนถึงปัจจุบัน และได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับการพัฒนาการทางสังคม โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสารสมาคม ฯ ดังนี้คือ
 
         1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิก