ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43:
 
=== '''โบสถ์หลังที่ 2''' ===
[[ไฟล์:วัดหลังที่ 2 หัวไผ่.jpg|thumb|left|โบสถ์คาทอลิกหัวไผ่หลังที่ 2]]
'''บาทหลวงยาโกเบ แจง เกิดสว่าง''' มารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแทนบาทหลวงอเล็กซิส บาทหลวงยาโกเบ แจง เห็นว่าสภาพโบสถ์หลังที่บาทหลวงเกโกสร้างไว้นั้นชำรุดแล้ว จึงได้ส่งคำร้องขออนุญาตสร้างโบสถ์หลังใหม่กับพระคุณเจ้าแปรรอส และก็ได้รับการอนุมัติในเวลาต่อมา บาทหลวงยาโกเบ แจง จึงเริ่มลงมือในการสร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้น โดยลักษณะของโบสถ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวประมาณ 8-10 ห้อง มีเสาร่วมในการรับโครงสร้างหลังคา จั่วมีขนาดใหญ่เนื่องจากอาคารมีขนาดกว้างมาก และมีเสาริมผนังที่ยึดผนังอาคารการวางตัวอาคารวางในแกนนอนยาวในทางทิศตะวันออก ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนโถงทางเข้าด้านหน้า และส่วนร่วมชุมนุมประกอบพิธีกรรม ทั้งสองส่วนถูกแบ่งด้วยระดับพื้นเตี้ย ๆ ด้านหน้าบริเวณศักดิ์สิทธิ์ประกอบไปด้วยแท่นบูชา ที่นั่งประธาน ตู้เก็บศ๊ลมหาสนิท โดยที่มีรูปนักบุญอยู่เหนือพระแท่นบูชา และในส่วนของที่ชุมนุมประกอบไปด้วยที่นั่งของสัตบุรุษ ซึ่งแยกฝั่งซ้ายเป็นส่วนของผู้หญิง และฝั่งขวาเป็นส่วนของผู้ชาย มีการเจาะช่องเปิดด้านข้างของอาคาร มีประตูทางเข้าด้านหน้า 3 ประตู <ref>{{cite book| last = อุษา | first = จันทร |url= |title= ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนคาทอลิก วัดนักบุญฟิลิป-ยากอบ (หัวไผ่) อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี | publisher= วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา | year= 2560 | location=ชลบุรี, ประเทศไทย||ref=harv}}หน้า118 </ref>
[[ไฟล์:พระคุณเจ้าแจง เกิดสว่าง.jpg|thumb|ฯพณฯ ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง ผู้สร้างโบสถ์หลังที่ 2]]