ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 54:
หลังจากราชาภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นเป็นกษัตริย์กัมพูชาแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯมาถึงเมือง[[ฉะเชิงเทรา]]ในพ.ศ. 2391 เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) นำทัพเข้าปราบจีน[[ตั้วเหี่ย]]ที่เมืองฉะเชิงเทรา หลังจากปราบจีนตั้วเหี่ยได้สำเร็จแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯพร้อมกับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯมีอายุเจ็ดสิบสองปี
 
หลังจากที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) กลับมาพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้หนึ่งปี เกิด[[อหิวาตกโรค]]ระบาดมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียมาถึงกรุงเทพฯในเดือนห้าพ.ศ. 2392 วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2392 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ก็ถึงแก่อสัญกรรมบ้านที่นิวาสสถานบริเวณริม[[คลองโอ่งอ่าง]]บริเวณเชิง[[สะพานหัน]]กับบ้านดอกไม้ สิริอายุได้เจ็ดสิบสามปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้พระราชทานเพลิงศพที่[[วัดสระเกศ]]เมื่อเดือนหกปีพ.ศ. 2393
 
เมื่อพระหริรักษ์รามาธิบดีฯองค์พระหริรักษ์เจ้ากัมพูชาได้ทราบว่าเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระองค์ทรงระลึกถึงครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ช่วยเหลือปราบปรามหมู่ปัจจามิตรทั้งช่วยจัดราชการเมืองเขมรให้ราบคาบเรียบร้อยตลอดมา จึงดำรัสสั่งสร้างเก๋งขึ้นที่หน้าค่ายใหญ่ใกล้[[วัดโพธาราม]]ในเมืองอุดงมีชัย แล้วให้พระภิกษุสุกชาวเขมรช่างปั้นฝีมือเยี่ยมในยุคนั้นปั้นรูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯขึ้นไว้เป็นอนุสาวรีย์ด้วยปูนเพชร และประกอบการกุศลมีสดับปกรณ์เป็นต้นปีละครั้งที่เก๋ง ชาวเขมรเรียกว่า "รูปองบดินทร" ตลอดมาจนบัดนี้ รูปนี้สร้างขึ้นในราวปีจอ พ.ศ. 2392