ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบสถ์คาทอลิกนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thomascw (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
=== '''โบสถ์หลังที่ 1''' ===
โบสถ์หลังแรกนั้นเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2422 โดยบาทหลวง[[มาธือแรง ฟรังซัว มารี เกโก]] บาทหลวงเกโกได้อพยพชาวบ้าน และทาสมาทำการสำรวจหาพื้นที่ใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ารกร้างว่างเปล่าประมาณ 15,000 ไร่ (ปัจจุบัน 13,000 ไร่) ไม่มีคนอาศัย มีแต่พวกสัตว์ร้าย บาทหลวงเกโกได้ซื้อปืนแก๊ป ปืนคาบหิน มากกว่า 30 กระบอกและปืนตั้งอีก 3 กระบอกสำหรับไล่ช้าง และสัตว์ร้ายต่าง ๆ ท่านปลูกบ้านไว้หลายหลัง และวัดชั่วคราวอีกหลังหนึ่งตรงใจกลางของพื้นที่ (ต่อมาให้ชื่อว่าโบสถ์นักบุญฟิลิปและยากอบ) <ref>{{cite book| last = อุษา | first = จันทร |url= |title= ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนคาทอลิก วัดนักบุญฟิลิป-ยากอบ (หัวไผ่) อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี | publisher= วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา | year= 2560 | location=ชลบุรี, ประเทศไทย||ref=harv}}หน้า115 </ref> <ref>{{cite book| last = นิคม | first = โยธารักษ์ |url= |title= 1880-1990 ศตสมโภช ชุมชนแห่งความเชื่อ 110 ปี หิรัญสมโภช โบสถ์หลังปัจจุบัน | publisher= | year= 1990 | location = ชลบุรี, ประเทศไทย||ref=harv}}หน้า97</ref>
[[ไฟล์:ภาพถ่ายของบาทหลวงเกโก.jpg|200px|thumb|left|บาทหลวงเกโกผู้สร้างโบสถ์หลังแรกบุกเบิก]]
โดยแรกเริ่มโบสถ์หลังแรกมีลักษณะเป็นบ้านไม้สองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มีดอกบัวประดับอยู่บนหลังคา 6 ดอก ผนังเป็นไม้ไผ่ฉาบปูน ชั้นล่างไว้เก็บวัวเก็บควาย ด้านหน้ามีบันไดขึ้นลงเรียกว่า บันได้ดิน ดำเนินการก่อสร้างโดย '''หมอมาก''' ซึ่งเป็นทาสที่บาทหลวงเกโกได้ไถ่มา หมอมากท่านนี้มีความสามารถในการทำไม้ ในการสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และในปี พ.ศ. 2435 บาทหลวงเกโกได้มีการสั่งระฆังจำนวน 3 ใบ ซึ่งทั้ง 3 ใบสลักอักษรโรมันว่า '''HUAPHAI''' และ '''GUEGO 1892''' <ref>{{cite book| last = อุษา | first = จันทร |url= |title= ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนคาทอลิก วัดนักบุญฟิลิป-ยากอบ (หัวไผ่) อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี | publisher= วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม, คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา | year= 2560 | location=ชลบุรี, ประเทศไทย||ref=harv}}หน้า122</ref> และรอบ ๆ ตัววัดเป็นป่าพงไพรทั้งสิ้น มีแต่สัตว์ป่าอาศัยอยู่เช่น เสือ ช้าง ควายป่า หมูป่า กวาง ละมั่ง จระเข้ และงูพิษต่าง ๆ คุณพ่อต้องให้ลูกบ้านพกปืนกระบอก เพื่อไว้ไล่ช้างเป็นโขลง ๆ มีการสร้างโรงเรียนโดยการให้ใช้ภาษาละตินในการสอน วัดหัวไผ่หลังแรกใช้งานมาทั้งสิ้น 49 ปี และได้ถูกรื้อถอนและสร้างโบสถ์หลังที่ 2 ขึ้นในสมัยของ บาทหลวงยาโกเบ แจง เกิดสว่าง (ต่อมาได้รับการอภิเษกให้เป็นพระสังฆราชแห่ง[[สังฆมณฑลจันทบุรี]]ท่านแรก)<ref>{{cite book| last = นิคม | first = โยธารักษ์ |url= |title= 1880-1990 ศตสมโภช ชุมชนแห่งความเชื่อ 110 ปี หิรัญสมโภช โบสถ์หลังปัจจุบัน | publisher= | year= 1990 | location = ชลบุรี, ประเทศไทย||ref=harv}}หน้า48-49</ref> ปัจจุบันพื้นที่บริเวณโบสถ์หลังที่หนึ่งนี้ได้ทำการถมดินสูงและสร้างถ้ำแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ดไว้แทน ในสมัยของบาทหลวงเอวเยนบุญชู ระงับพิศม์ ขณะสร้างโบสถ์หลังที่สาม<ref>http://www.webwat.in.th/_files_school/20010222/data/20010222_1_20130912-161155.pdf</ref>
 
=== '''โบสถ์หลังที่ 2''' ===