ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีกลางบางซื่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ToyWiki (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มรายละเอียดการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36:
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ในสมัยรัฐบาล [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] โครงการสถานีกลางบางซื่อถูกอนุมัติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง]] ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้นที่ 1 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับ[[การขนส่งระบบรางในประเทศไทย|รถไฟทางไกล]] ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ส่วนต่อขยาย (Airport Rail Link ช่วงพญาไท-บางซื่อ) แต่ในปีเดียวกันเกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง
 
ต่อมาในสมัยรัฐบาล [[ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร]] ได้อนุมัติการก่อสร้าง[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม|โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม]] ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสถานีกลางบางซื่อ ใน พ.ศ. 2556 โดยให้ใช้แบบตามโครงสร้างเดิมไปพลางก่อน แต่หลังจากการก่อสร้างได้ไม่นาน [[ชัชชาติ สิทธิพันธุ์]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอให้ชะลอการก่อสร้างเพื่อปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ<ref>[https://mgronline.com/business/detail/9560000106894]</ref> โดยปรับแบบความยาวชานชาลาเดิมจาก 250 เมตรเป็น 400 เมตร และเพิ่มชั้นที่ 3 เพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและ[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ส่วนต่อขยาย(Airport Rail Link ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) รวมถึงปรับแบบทางวิ่ง[[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม]] ช่วงบางซื่อ-รังสิต จาก 3 รางเป็น 4 ราง ตามนโยบายประเทศไทย 2020 และงบประมาณสองล้านล้านบาท แต่ในปีถัดมา พ.ศ. 2557 เกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง และทำให้การก่อสร้างต้องล่าช้าเนื่องมาจากการปรับแบบ
 
ในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาล [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ|คสช.]] และ [[กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)|กระทรวงคมนาคม]]ได้ดำเนินโครงการต่อ โดยปรับแบบสถานีกลางบางซื่ออีกครั้ง <ref>[https://mgronline.com/business/detail/9570000072173]</ref>คือ ชั้นใต้ดิน พื้นที่ 72,542 ตร.ม. เป็นที่จอดรถยนต์ประมาณ 1,700 คัน และมีทางเชื่อมต่อกับ[[รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล]] ชั้นที่ 1 พื้นที่ 98,720 ตร.ม. เป็นพื้นที่สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร จุดรอการโดยสารและร้านค้า ชั้นที่ 2 พื้นที่ 50,800 ตร.ม. เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.000 เมตร ประกอบด้วย[[การขนส่งระบบรางในประเทศไทย|รถไฟทางไกล]] 8 ชานชาลา และ [[รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง]] 4 ชานชาลา และชั้นที่ 3 พื้นที่ 42,300 ตร.ม.เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟที่ใช้รางขนาด 1.435 เมตร ประกอบด้วย [[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] และ[[รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน]] จำนวน 2 ชานชาลา [[รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน)]] จำนวน 4 ชานชาลา [[รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย|รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ]] จำนวน 2 ชานชาลา และ[[รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย|รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้]] จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา
 
ในปี พ.ศ. 2563 [[กรมการขนส่งทางบก]]ได้พิจารณาเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางเพื่อเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อกับ[[สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)]] และ[[สถานีหมอชิต]] ของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท]] โดยเปิดเป็นสัมปทานการเดินรถในรูปแบบรถโดยสารไฟฟ้า โดยอาจจะนำรูปแบบของ[[รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ]]มาใช้<reF>[https://www.prachachat.net/property/news-432907 ผุดโครงข่ายทะลวงสายสีแดง ดึง ปตท.-SCG เดินรถเมล์ไฟฟ้าป้อน “สถานีกลางบางซื่อ”]</ref>