ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลากระโห้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
| binomial_authority = Boulenger, [[ค.ศ. 1898|1898]]
}}
'''ปลากระโห้''' ({{lang-en|Siamese giant carp, Giant barb}}) เป็น[[ปลาน้ำจืด]]ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาใน[[วงศ์ปลาตะเพียน]] (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย<ref>หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.[[ชวลิต วิทยานนท์]] ([[กรุงเทพ]]กรุงเทพฯ, [[พ.ศ. 2544]]) ISBN 974-475-655-5 </ref> โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 [[กิโลกรัม]] ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ
 
ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำ[[กรุงเทพมหานคร]]ของ[[กรมประมง]]<ref>{{cite web|work=[[สำนักข่าวไทย]]|title=เกษตรฯ
บรรทัด 26:
 
== ลักษณะทางกายภาพ ==
จัดปลากระโห้เป็นปลาเพียง[[สปีชีส์|ชนิด]]เดียว ที่อยู่ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]] ''Catlocarpio''<ref>{{ITIS|id=638875|taxon= ''Catlocarpio''|accessdate=2016-10-12}}</ref> มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนหัวโต ปากกว้าง ตาเล็ก ไม่มีหนวด ปลาวัยอ่อนหัวจะโตมากและลำตัวค่อนไปทางหาง ทำให้แลดูคล้ายปลาพิการไม่สมส่วน ขอบฝาปิดเหงือกมนกลมและใหญ่กว่าปลาชนิดอื่น ๆ ครีบหลังและครีบหางใหญ่ มีเกล็ดขนาดใหญ่ปกคลุมลำตัว บนเพดานปากมีก้อนเนื้อหนา เหงือกมีซี่กรองยาวและถี่มาก ตัวมีสีคล้ำอมน้ำเงินหรือน้ำตาลเข้ม ครีบมีสีแดงเรื่อ ๆ ด้านท้องมีสีจาง
 
== แหล่งอาศัย ==
พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่[[แม่น้ำแม่กลอง]]ถึง[[แม่น้ำโขง]] โดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยในหลายจังหวัด และยังพบได้บ้างที่[[แม่น้ำป่าสัก]] ในต่างประเทศพบได้ที่ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม<ref>{{cite web|url=http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1413880569|work=[[มติชน]]|title=ชาวประมงเวียดนามจับ "กระโห้ยักษ์" หนักกว่า 130 กก. มูลค่ากว่า 3 แสนบาทได้|date=2014-10-27|accessdate=2016-10-12}}</ref> ปลาวัยอ่อนมักอยู่รวมเป็นฝูงในวังน้ำลึก ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ปลากระโห้สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วเป็นบางส่วนจากการผสมเทียม ในธรรมชาติจะแพร่พันธุ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน โดยปลาจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7 ปี วางไข่ลอยไปตามกระแสน้ำ ไข่มีสีเหลืองอ่อนลักษณะกึ่งลอยกึ่งจม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4 [[มิลลิเมตร]] ปริมาณไข่จะมีจำนวนมากนับล้าน ๆ ฟอง แต่ไข่ส่วนใหญ่และลูกปลาจะถูกปลาอื่นจับกินแทบไม่มีเหลือ ปัจจุบันกรมประมงได้ปล่อยลูกปลาที่เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์คืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติปีละประมาณ 200,000-000–1,000,000 ตัว แต่ทว่าโอกาสที่ลูกปลาเหล่านี้จะเติบโตจนเต็มวัยในธรรมชาติก็มีโอกาสน้อยมาก
 
อาหารของปลากระโห้คือ [[แพลงก์ตอน]]และปลาขนาดเล็ก แต่ก็สามารถกินพืชเช่น สาหร่ายหรือเมล็ดพืชได้
 
ปลากระโห้นอกจากนำมาทำเป็นอาหารโดยการปรุงสดแล้ว ยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย