ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
การเจรจา
บรรทัด 138:
* [[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|เจ้าพระยายมราช (บุนนาค)]] และพระพรหมบริรักษ์ นำทัพชาวลาวและเขมรป่าดงจำนวน 11,900 คน นำนักองค์ด้วงจากเมืองอุดงไปอยู่ที่เมืองพนมเปญ และนำทัพเข้าโจมตีคลองหวิญเต๊
 
เจ้าพระยายมราชและพระพรหมบริรักษ์นำนักองค์ด้วงออกจากเมืองอุดงในเดือนสาม (มกราคม) พ.ศ. 2385 ถึงเมืองเชิงกรรชุมส่งคนไปโจมตีคลองหวิญเต๊เป็นระยะ ทัพเรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ออกจากกรุงเทพฯในวันเดียวกัน กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ประทับที่จันทบุรีแล้วให้ทัพเรือของพระพิชัยรณฤทธิ์และพระราชวังสันยกไปก่อน ไปพบกับเรือฝ่ายญวนที่ช่องกระบือยิงต่อสู้กันเรือญวนถอยกลับไปยังบันทายมาศ พระยาอภัยพิพิธนำเสบียงลงเรือ''ปักหลั่นมัจฉานุ''ไปส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่กำปอต จากนั้นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์จึงยกทัพเรือเสด็จไปประทับที่[[เกาะฟู้โกว๊ก]]หรือเกาะกระทะคว่ำ ฝ่ายญวน"องตุมผู"เหงียนกงจื๊อทราบว่าทัพเรือสยามกำลังยกมาตีเมืองบันทายมาศจึงรายงานไปยังพระจักรพรรดิเถี่ยวจิ จึงมีพระราชโองการตามที่ใน''ดั่ยนามถึกหลุก''ให้เลวันดึ๊กเป็นเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ ให้เหงียนจิเฟืองงียนวันเจือง (Nguyễn TriVăn PhươChương) และเหงียนกงเญิน (Nguyễn Công Nhân) ป้องกันคลองหวิญเต๊ ฝั่มวันเดี๋ยนและเหงียนวันเญิน (Nguyễn Văn Nhân) ป้องกัน[[จังหวัดเหิ่วซาง]]
[[ไฟล์:Đồng lúa chín ở Cô Tô.jpg|thumb|200x200px|เขาโกนธมหรือเขาโกโต (Núi Cô Tô) ตั้งอยูทางทิศตะวันออกของเมืองบันทายมาศ อยู่ที่อำเภอจีโตน (Tri Tôn) [[จังหวัดอานซาง]]ในปัจจุบัน]]
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทรงให้จมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) ยกทัพเข้าตีเมืองบันทายมาศ จมื่นไวยวรนาถให้พระยาอภัยพิพิธนำทัพหัวเมืองตะวันออก 600 คน และพระยาโสรัชชะเจ้าเมืองกำปอตชาวเขมรยกทัพเขมร 2,000 คนเข้ายึดเขาโกนธมหรือเขาโกโต (Núi Cô Tô) ทางทิศตะวันออกของเมืองบันทายมาศ ทำให้ฝ่ายสยามสามารถใช้ปืนใหญ่ยิงใส่เมืองบันทายมาศจากบนเขาโกนธมได้ นอกจากนี้จมื่นไวยวรนาถยังให้พระยาราชวังสันยกทัพเรือไปโจมตีป้อมหน้าเมืองบันทายมาศ และพระยาพิชัยรนฤทธิ์ยกทัพเรือไปโจมตีหอลำผี ฝ่ายสยามระดมยิงปืนใหญ่ใส่เมืองบันทายมาศทั้งทางบกและทะเล ฝ่ายองตุมผูเหงียนกงจื๊อผู้รักษาเมืองบันทายมาศจึงขอความช่วยเหลือไปยังเลวันดึ๊ก เลวันดึ๊กแม่ทัพใหญ่จึงส่งฝั่มวันเดี๋ยนนำทัพญวนมาเสริมกำลังที่เมืองบันทายมาศ ฝ่ายสยามระดมยิงใส่เมืองบันทายมาศเป็นเวลาติดต่อกันเจ็ดวันฝ่ายญวนยังสามารถยิงตอบโต้ได้ต่อเนื่อง จมื่นไวยวรนาถเห็นผิดสังเกตจึงสืบได้ความว่าฝ่ายญวนมี่กองกำลังมาเสริมแล้ว จมื่นไวยวรนาถจึงไปเข้าเฝ้าสมเด็จกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ที่เกาะฟู้โกว๊ก
 
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ฯทรงมีพระวินิจฉัยว่า<ref name=":0" />ฝ่ายญวนนำกำลังเสริมมามากการยึดเมืองบันทายมาศทำได้ลำบาก อีกประการขณะนั้นกำลังจะเปลี่ยนฤดูมรสุมหากลมจากทิศตะวันตกพัดแรงขึ้นจะพัดกองเรือกำปั่นหลวงให้ได้รับความเสียหาย จึงมีพระบัญชาให้ถอนทัพสยามออกจากเมืองบันทายมาศทั้งหมดในเดือนห้า (เมษายน) พ.ศ. 2385 ฝ่ายญวนเหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองนำทัพเข้าโจมตีค่ายของพระยาอภัยพิพพิธและพระยาโสรัชชะบนเขาโกนธมแตกพ่ายไป ทัพเรือที่หอลำผีนั้นก็ถูกลมมรสุมตะวันตกพัดจนตั้งอยู่ไม่ได้ต้องถอยออกมา
 
ทัพของเจ้าพระยายมราช พระพรหมบริรักษ์ และนักองค์ด้วงเข้าโจมตีคลองหวิญเต๊ ''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าฝ่ายสยามสามารถยึดคลองหวิญเต๊และจังหวัดอานซางได้และยกทัพไปโจมตีจังหวักเหิ่วซาง เหงียนกงเญินผู้รักษาจังหวัดอานซางจึงขอความช่วยเหลือจากเมืองเว้ พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงส่งโตนเทิ้ตญิ (Tôn Thất Nghị) ยกทัพมาช่วยเหงียนกงเญินที่จังหวัดอานซาง เมื่อสยามล่าถอยไปจากบันทายมาศแล้วฝั่มวันเดี๋ยนจึงยกทัพมาช่วยจังหวัดอานซางเช่นกันจนสามารถขับไล่ฝ่ายสยามออกไปจากจังหวัดอานซางและคลองหวิญเต๊ได้ ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2385 ฝั่นวันเดี๋ยนล้มป่วยเวียชีวิต ฝ่ายเจ้าพระยายมราชจึงยกทัพเข้าประชิดเมืองโจดก แต่ถูกทัพญวนนำโดย "องเตียนเลือก"เข้าตีแตกพ่ายเสียทหารสยามและกัมพูชาไปจำนวนมากในเดือนเมษายน เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ถูกปืนเข้าที่หน้าอกแต่ลูกปืนถูกกระดุมเสื้อ<ref name=":0" /> เจ้าพระยายมราชและนักองค์ด้วงจึงล่าถอยไปอยู่ที่พนมเปญ
บรรทัด 151:
หลังจากสงครามปีพ.ศ. 2385 อาณาจักรกัมพูชามีนักองค์ด้วงปกครองอยู่ที่เมืองอุดงภายใต้ความคุ้มครองของพระพรหมบริรักษ์โดยมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) กำกับอยู่ที่เมืองพนมเปญ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้รื้อป้อมปราการของญวนที่นอกเมืองพนมเปญลงและสร้างป้อมใหม่ทางทิศใต้ ให้ชาวลาวจากนครราชสีมาจำนวน 5,000 คนและทหารเขมรอีก 3,000 คนรักษาเมืองพนมเปญ และให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ไปคุมการขุดคลองพระยาลือและการสร้างป้อมขึ้นที่เมืองอุดง
 
ฝ่ายเวียดนามนำโดย"จงตก"เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโจดกได้ส่งนักองค์อิ่มมาอยู่ที่เมืองโจดกและส่งพระสงฆ์ออกไปเกลี้ยกล่อมชาวกัมพูชา แต่ทว่านักองค์อิ่มถึงแก่พิราลัยในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2386 โดยที่นักองค์อิ่มไม่มีโอรสมีแต่ธิดาคือนักองค์ภิม ทำให้ฝ่ายญวนขาดเจ้ากัมพูชาที่เป็นชายอีกครั้ง เจ้าหญิงกัมพูชาที่อยู่กับญวนได้แก่นักองค์มี นักองค์สงวน นักองค์โพธิ์ และนักองค์ภิม รวมทั้งนักนางรศมารดาของนักองค์ด้วง
 
อาณาจักรกัมพูชาอยู่ภายใต้สงครามยืดเยื้อนานหลายปีทำให้ชาวกัมพูชาขาดการเกษตรกรรมไม่มีผลผลิตมานานหลายปี เกิดภาวะแล้งรวมทั้งเกิด "ไข้ป่วง" โรคระบาดขึ้นในเวียดนามภาคใต้ในพ.ศ. 2385-86 ทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขาดแคลนอาหารขึ้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงจำต้องแบ่งเสบียงจากเมืองจันทบุรีและตราด สงครามระหว่างสยามและเวียดนามจึงหยุดยั้งลงชั่วคราวเป็นเวลาสามปี เมื่อสถานการณ์สงบเรียบร้อยดีแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯในเดือนหก (พฤษภาคม) พ.ศ. 2388 โดยให้พระพรหมบริรักษ์รักษานักองค์ด้วงและเมืองอุดง
บรรทัด 162:
* เหงียนกงเญินนำทัพบกจาก[[จังหวัดเต็ยนิญ]] (Tây Ninh) ตามหลังสองทัพก่อนหน้านี้
 
เมื่อเดือนหก (พฤษภาคม) พ.ศ. 2388 นักองค์ด้วงค้นพบว่าพระยาจักรี (มี) ขุนนางกัมพูชามีหนังสือโต้ตอบกับฝ่ายเวียดนามให้เวียดนามยกทัพขึ้นมาแล้วตั้งเจ้าสตรีขึ้นครองกัมพูชาแทน จึงให้ประหารชีวิตพระยาจักรี (มี) รวมทั้งพรรคพวกรวมสิบเอ็ดคน ฝ่ายญวนเมื่อทราบว่าฝ่ายสยามทราบข่าวสงครามแล้วจึงเริ่มยกทัพเรือเข้าตีกัมพูชาในเดือนกรกฎาคม โตว๋นเอวิ๋นนำทัพเรือเข้ายึดเมืองกำพงตระแบกได้มาตั้งที่บึงกษัตริย์สระ (Khsach Sa) เมืองบาพนม และเหงียนหวั่งฮว่างมาตั้งที่ค่ายโพธิ์พระบาท กองกำลังฝ่ายกัมพูชาไม่อาจต้านทานได้ถอยร่นมา ฝ่ายกรุงเทพฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) รีบรุดนำทัพออกไปเมืองอุดงมีชัยในเดือนกรกฎาคมโดยให้พระยาราชสุภาวดี (โต) อยู่ที่เมือง[[กบินทร์บุรี]]คอยส่งเสบียง หวอวันสายมีคำสั่งให้เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองผู้รักษาเมืองโจดกนำกำลังขึ้นไปหนุน เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่าต้องป้องกันเมืองโจดก หวอวันสายจึงต้องเดินทางจากไซ่ง่อนมาบัญชาการด้วยตนเอง เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองนำทัพเรือขึ้นไปหนุนที่เมืองบาพนม พระจักรพรรดิเถี่ยวจิดำริจะฟื้นฟูมณฑลเจิ๊นเต็ยขึ้นอีกครั้งจึงแต่งตั้งให้หวอวันสายเป็น "องตาเตียนกุน" ตำแหน่งเดียวกับเจืองมิญสาง หวอวันสายเสนอให้ตั้งนักองค์ภิมธิดาของนักองค์อิ่มขึ้นครองเขมร แต่พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงไม่เห็นชอบด้วย
 
เกิดความขัดแย้งระหว่างเหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองและหวอวันสาย เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองต้องการให้รีบเข้ายึดเมืองพนมเปญให้ได้ในฤดูน้ำหลากในขณะที่หวอวันสายต้องการรอให้กำลังพลมามากกว่านี้ เหงือนจิเฟืองและโตว๋นเอวิ๋นจึงยกทัพเรือจำนวน 2,000 คน ขึ้นไปตีเมืองพนมเปญในขณะที่หวอวันสายและเหงียนวันฮว่างอยู่ที่เมืองบาพนม เหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองสามารถเข้ายึดเมืองพนมเปญได้ในเดือนกันยายนพ.ศ. 2388 พระพรหมบริรักษ์และกองกำลังสยามและเขมรต่างแตกถอนร่นจากพนมเปญไปยังเมืองอุดง เหงือนจิเฟืองและโตว๋นเอวิ๋นงียนวันเจืองและโตว๋นเอวิ๋นรีบยกทัพขึ้นมาล้อมเมืองอุดง เนื่องจากหวอวันสายไม่ยอมยกทัพขึ้นมาช่วยเหงือนจิเฟืองไปงียนวันเจือง เหงียนวันเจืองจึงต้องแบ่งทัพ เหงียนวันเจืองตั้งอยู่ที่กำพงหลวงคลองพระยาลือ (KampongPonhea LuongLeu) ทางเหนือใต้ของเมืองอุดงเพื่อปิดกั้นไม่ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯถอยกลับไปทางพระตะบองได้ ในขณะที่โตว๋นเอวิ๋นตั้งอยู่ที่คลองพระยาลือกำพงหลวง (PonheaKampong LeuLuong) ทางใต้เหนือเพื่อปิดกั้นไม่ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯถอยกลับไปทางพระตะบองได้
 
ในการล้อมเมืองอุดงนั้นเอกสารฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนามให้รายละเอียดต่างกัน พงศาวดารไทยกล่าวว่าเมื่อฝ่ายเวียดนามเข้าโจมตีเมืองอุดงเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯสามารถนำทัพขับทหารเวียดนามออกไปได้และแบ่งกำลังออกไปตีค่ายกำพงหลวงและพระยาลือ ในขณะที่''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าทั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯและเหงียนจิเฟืองงียนวันเจืองต่างเห็นว่าการล้อมเมืองอุดงยืดเยื้อไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้นำไปสู่การเจรจาสงบศึก การเจรจาระหว่างสยามและเวียดนามเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2388 "องญวน"โตว๋นเอวิ๋นที่ค่ายพระยาลือส่งหนังสือมาถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ว่าให้นักองค์ด้วงส่งสาส์นไปถวายพระจักรพรรดิเถี่ยวจิยินยอมให้กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของเวียดนาม โดยฝ่ายเวียดนามนามจะส่งเจ้าสตรีและเชื้อพระวงศ์กัมพูชาคืนให้แก่นักองค์ด้วงและล่าถอยไปอยู่ที่เมืองพนมเปญ หลังจากการล้อเมืองอุดงเป็นเวลาห้าเดือน เหงียนวันเจืองและโตว๋นเอวิ๋นจึงถอนกำลังญวนทั้งหมดจากเมืองอุดงลงไปตั่งมั่นที่พนมเปญในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2389
 
=== การเจรจา ===
[[ไฟล์:King Ang Doung.jpg|thumb|[[สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี]] หรือนักองค์ด้วง]]
<br />
ฝ่ายญวนต้องการให้นักองค์ด้วงส่งสาส์นไปสวามิภักดิ์ต่อพระจักรพรรดิเถี่ยวจิ แต่นักองค์ด้วงและเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯยังคงไม่ตอบ ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2389 ฝ่ายญวนส่งนักนางรศให้แก่นักองค์ด้วงและเร่งให้นักองค์ด้วงส่งสาส์นและส่งชาวญวนซึ่งฝ่ายสยามได้กวาดต้องไปกลับคืนให้แก่ญวน นักองค์ด้วงตอบว่าขอเวลาสามเดือน หลังจากผ่านไปสามเดือนฝ่ายญวนเข้ามาทวงสัญญา เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงนำความขึ้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงมีพระบรมราชานุญาติให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯกระทำการเจรจากับฝ่ายญวนตามสมตวร เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงให้นักองค์ด้วงแต่งคณะทูตไปเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิเถี่ยวจิที่เมืองเว้ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2390 ในเดือนพฤษภาคมพระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงให้คณะทูตญวนนำตราตั้งและเครื่องยศแบบญวนมาแต่งตั้งนักองค์ด้วงขึ้นเป็น "กาวเมียนโกว๊กเวือง" (Cao Miên Quốc vương , 高棉國王) หรือ "กษัตริย์แห่งเขมร" ในฐานะเจ้าประเทศราชขึ้นแก่เวียดนาม รวมทั้งส่งเชื้อพระวงศ์ที่เหลือทั้งหมดให้แก่นักองค์ด้วงและฝ่ายญวนก็ถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพนมเปญไป
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2391 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้พระยาเพชรพิชัย (เสือ) นำเครื่องอิสสริยยศและสุพรรณบัฏไปยังเมืองอุดงและให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯเป็นผู้แทนพระองค์ราชาภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นเป็น "''พระหริรักษ์รามาธิบดีศรีสุริโยพันธุ์ธรรมิกวโรดม...''" หรือ "องค์พระหริรักษ์เจ้ากัมพูชา" ในฐานะเจ้าประเทศราชของสยาม อาณาจักรกัมพูชาจึงเป็นเมืองขึ้นของทั้งสยามและเวียดนามนับแต่นั้นมา เมื่อกิจการในกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯในเมษายนพ.ศ. 2391<br />
 
== ผลสรุป ==
ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรบชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาด ทำให้ต้องทำ[[สนธิสัญญา]]สงบศึกกัน โดยไทยยังคงไว้ซึ่งสิทธิในการสถาปนา[[กษัตริย์เขมร]] แต่เขมรยังคงต้องส่งเครื่องบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ 3 ปี ถือเป็นข้อตกลงที่น่าพอใจทั้ง 2 ฝ่าย สงครามจึงยุติลง