ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อานามสยามยุทธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
ในช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ทั้งสยามใน[[พระราชวงศ์จักรี]]และเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ต่างเรืองอำนาจขึ้นเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] อาณาจักรต่างๆที่ตั้งอยู่ระหว่างสยามและเวียดนามเป็น "อาณาจักรกันชน" ระหว่างสองมหาอำนาจอาณาจักรกันชนเหล่านั้นประกอบด้วย[[อาณาจักรเขมรอุดง]]และอาณาจักรลาวล้านช้าง ทั้งสยามและเวียดนามต่างแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่อาณาจักรกันชนเหล่านั้นนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสองอำนาจ
 
=== ความขัดแย้งภายในอาณาจักรกัมพูชา ===
ความขัดแย้งภายในอาณาจักรกัมพูชาซึ่งแต่ละฝ่ายแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอก สยามฝ่ายหนึ่งและญวนฝ่ายหนึ่ง นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสยามและญวนซึ่งเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา เจ้านายกัมพูชาฝ่ายหหนึ่งมักจะใช้กองกำลังและอำนาจของสยามหรือญวนเพื่อโค่นอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสิน]]ทรงยกทัพไปยึด[[ราชรัฐห่าเตียน|เมืองบันทายมาศ]]ในพ.ศ. 2314 และยกทัพไปยังเมืองอุดงตั้งนักองค์นน (Ang Non) ขึ้นเป็น[[สมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา|พระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา]]ครองกัมพูชา แต่พระรามราชาฯถูกเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ซึ่งสนับสนุนฝ่ายญวนปลงพระชนม์ในพ.ศ. 2322 เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) ยกนักองเอง (Ang Eng) ซึ่งเป็นพระราชวงศ์เขมรฝ่ายสนับสนุนญวนขึ้นเป็น[[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ|พระนารายณ์รามาธิบดี]]โดยมีเจ้าฟ้าทะละหะกุมอำนาจและฝักใฝ่ญวน ในพ.ศ. 2326 "องเชียงสือ"[[เหงียน ฟุก อั๊ญ|เหงียนฟุกอั๊ญ]]เจ้าตระกูลเหงียนของญวนเสียเมือง[[ไซ่ง่อน]]ให้แก่[[ราชวงศ์เต็ยเซิน]]หลบหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารฯที่กรุงเทพฯใน[[รัชกาลที่ 1]] เมื่อเจ้าญวนตระกูลเหงียนสิ้นไปเจ้าฟ้าทะละหะถูกสังหารและ[[เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน)|ออกญายมราช (แบน)]] ขุนนางกัมพูชาซึ่งฝักใฝ่สยามจึงยึดอำนาจ แต่พระยายมราชพ่ายแพ้แก่ศัตรูจึงนำนักองค์เองกษัตริย์กัมพูชาลี้ภัยเข้ามาที่กรุงเทพฯ นักองค์เองมีโอรสได้แก่นักองค์จันทร์ (Ang Chan) นักองค์สงวน (Ang Sngoun) นักองค์อิ่ม (Ang Im) และนักองค์ด้วง (Ang Doung) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯโปรดฯให้[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|กรมหลวงเทพหริรักษ์]]ยกทัพเรือไปกอบกู้บ้านเมืองให้แก่องเชียงสือแต่พ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายราชวงศ์เต็ยเซินใน[[ยุทธการที่สักเกิ่มซว่ายมุต]] (Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút)
[[ไฟล์:Tượng Lê Văn Duyệt.jpg|left|thumb|267x267px|"องต๋ากุน"[[เล วัน เสวียต|เลวันเสวียต]] (Lê Văn Duyệt) ผู้สำเร็จราชการในเวียดนามใต้]]
 
องเชียงสือจึงเดินทางไปกอบกู้บ้านเมืองจากราชวงศ์เต็ยเซินจนสามารถตั้งตัวขึ้นเป็น[[จักรพรรดิซา ล็อง|พระจักรพรรดิยาล็อง]]ก่อตั้งราชวงศ์เหงียนได้ในพ.ศ. 2344 หลังจากที่กัมพูชาว่างเว้นกษัตริย์มาระยะหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงทรงอภิเษกนักองค์จันทร์โอรสองค์โตของนักองค์เองขึ้นเป็น[[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี|พระอุไทยราชาธิราช]]ครองกัมพูชาในพ.ศ. 2349 พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ให้การสนับสนุนแก่ญวนราชวงศ์เหงียน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯสวรรคตในพ.ศ. 2352 พระอุไทยราชาฯไม่มาเข้าร่วมพระราชพิธีที่กรุงเทพฯแจ้งว่าประชวรและทรงส่งนักองค์สงวนและนักองค์อิ่มพระอนุชาทั้งสองมาที่กรุงเทพฯแทน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]จึงทรงแต่งตั้งให้นักองค์สงวนเป็นพระมหาอุปโยราชและนักองค์อิ่มเป็นพระมหาอุปราช และทรงมีท้องตราถึงพระอุไทยราชาให้เกณฑ์ทัพกัมพูชามาไว้ที่กรุงเทพฯ พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ไม่เกณฑ์ไพร่พลมาที่กรุงเทพฯตามท้องตรานั้น ขุนนางเขมรบางส่วนซึ่งสนับสนุนฝ่ายสยามก่อการกบฏขึ้น พระอุไทยราชาทรงประหารชีวิตขุนนางเหล่านั้นและหันไปขอความช่วยเหลือจาก"องต๋ากุน"[[เล วัน เสวียต|เลวันเสวียต]] (Lê Văn Duyệt) ผู้สำเร็จราชการในเวียดนามใต้ ในพ.ศ. 2355 พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวนก่อการกบฏขึ้น [[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย)]] ยกทัพสยามเข้าไปที่เมืองอุดงเพื่อไกล่เกลี่ย แต่พระอุไทยราชานักองค์จันทร์เมื่อเห็นว่าทัพสยามยกเข้ามาจึงพาพระราชวงศ์หลบหนีไปอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเลวันเสวียตที่เมืองไซ่ง่อน พระมหาอุปราชนักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงหลบหนีมาเข้ากับฝ่ายสยาม เจ้าพระยายมราช (น้อย) นำตัวนักองค์สงวน นักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วงมาที่กรุงเทพฯ พระจักรพรรดิยาล็องมีพระราชสาส์นขอพระบรมราชานุญาติให้พระอุไทยราชากลับมาครองกัมพูชาดังเดิม รวมทั้งขอเมืองบันทายมาศไปไว้ในเขตแดนของเวียดนามด้วย เมื่อพระอุไทยราชานักองค์จันทร์กลับมาครองกัมพูชาแล้วจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของราชวงศ์เหงียนส่งเครื่องบรรณาการให้แก่เมืองเว้ทุกสามปี นักองค์สงวนถึงแก่พิราลัยที่กรุงเทพฯเมื่อปีพ.ศ. 2359 เหลือนักองค์อิ่ม และนักองค์ด้วง เป็นเจ้าชายเขมรซึ่งประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ
 
ในพ.ศ. 2362 องต๋ากุนเลวันเสวียตเกณฑ์ชาวเวียดนามและกัมพูชาเข้าขุดคลองหวิญเต๊ (Vĩnh Tế) ซึ่งเชื่อมระหว่างเมืองโจดกหรือ[[เจิวด๊ก]] (Châu Đốc [[จังหวัดอานซาง]]) กับเมืองบันทายมาศ เป็นคลองขนาดใหญ่และเป็นช่องทางให้ทัพเรือญวนสามารถนำทัพเรือออกสู่[[อ่าวไทย]]ได้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโองการให้พระเจ้าลูกยาเธอ[[กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]]เป็นแม่กองสร้างป้อมเมือง[[สมุทรปราการ]]ขึ้นเพื่อสำหรับป้องกันข้าศึกทางทะเล
 
=== สงครามเจ้าอนุวงศ์ ===
เวียดนามพยายามที่จะแผ่ขยายอำนาจมาที่อาณาจักรล้านช้างผ่านทาง[[จังหวัดเหงะอาน]]และ[[เมืองพวน]]อาณาจักรเชียงขวางมาแต่สมัยก่อนหน้า ในสมัยรัตนโกสินทร์อาณาจักรล้านช้างทั้งสามได้แก่[[อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง|หลวงพระบาง]] [[อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์|เวียงจันทน์]] และ[[อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์|จำปาศักดิ์]]ต่างเป็นเมืองขึ้นประเทศราชของสยาม โดยมีอาณาจักรเชียงขวางเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรเวียงจันทน์อีกทอดหนึ่ง เมื่อ[[เจ้าน้อยเมืองพวน]]เกิดความขัดแย้งกับ[[เจ้าอนุวงศ์]]แห่งเวียงจันทน์จึงหันไปพึ่งพระ[[จักรพรรดิมิญ หมั่ง|จักรพรรดิมิญหมั่ง]]แห่งเวียดนามราชวงศ์เหงียน ในพ.ศ. 2371 [[กบฏเจ้าอนุวงศ์]] เมื่อเจ้าอนุวงศ์หลบหนีไปยังจังหวัดเหงะอานของเวียดนามพระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงให้การช่วยเหลือและจัดแต่งทูตญวนให้นำเจ้าอนุวงศ์มาเจรจาที่เมืองเวียงจันทน์ "''อนุทำความผิดหนีไปหาญวน ญวนเหมือนมารดา กรุงเทพมหานครเหมือนบิดา บิดาโกรธบุตรแล้ว มารดาต้องพามาขอโทษ''"<ref name=":0" /> แต่เจ้าอนุวงศ์กลับเข้าลอบโจมตีฝ่ายสยามแบบไม่ทันตั้งตัวทำให้ฝ่ายสยามเข้าใจว่าฝ่ายญวนแต่งทูตเข้ามาเป็นกลอุบายลวง เมื่อเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้อีกครั้งพระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงทรงส่งทูตมาอีกแต่[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)|เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์)]] ไม่ไว้วางใจฝ่ายเวียดนามจึงออกอุบายจัดงานเลี้ยงให่แก่สังหารหมู่คณะทูตเวียดนามและสังหารทูตเวียดนามหมดสิ้นในงานเลี้ยง<ref name=":0" /> เมื่อเจ้าอนุวงศ์หลบหนีไปยังอาณาจักรเชียงขวาง เจ้าน้อยเมืองพวนชี้เบาะแสให้แก่ทัพสยามจนสามารถจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ พระจักรพรรดิมิญหมั่งพิโรธเจ้าน้อยซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์ถูกจับตัวได้จึงเรียกเจ้าน้อยเมืองพวนไปเข้าเฝ้าที่เมืองเว้แล้วสำเร็จโทษประหารชีวิตเจ้าน้อยเมืองพวน เวียดนามจึงเข้าปกครองอาณาจักรเชียงขวางโดยตรงกลายเป็นมณฑลเจิ๊นนิญ (Trấn Ninh, 鎮寧) รวมทั้งเข้าปกครองหัวเมืองลาวต่างๆใน[[แขวงคำม่วน]]ในปัจจุบันและกลุ่มเมือง[[หัวพันห้าทั้งหก]]
 
=== กบฏของเลวันโคย ===
"องต๋ากุน"เลวันเสวียตเป็นขุนพลผู้ใกล้ชิดองเชียงสือหรือจักรพรรดิยาล็อง เป็นผู้สำเร็จราชการในเวียดนามภาคใต้และแผ่ขยายอำนาจไปถึงกัมพูชา พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงมีนโยบายลดทอนอำนาจของขุนนางท้องถิ่นและรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง เลวันเสวียตเป็นศัตรูทางการเมืองของพระจักรพรรดิมิญหมั่งเนื่องจากมีอำนาจมากในเวียตนามภาคใต้รวมทั้งยินยอมให้ราษฎรชาวเวียดนามใต้นับถือ[[ศาสนาคริสต์]]ได้อย่างเสรีญหมั่ง เมื่อเลวันเสวียตเสียชีวิตในพ.ศ. 2375 จักรพรรดิมิญหมั่งทรงใช้โอกาสนี้ปฏิรูปการปกครองยกเลิกตำแหน่งผู้สำเร็จราชการและส่งขุนนางของพระองค์เข้าปกครองเวียดนามใต้ ขุนนางฝ่ายเลวันเสวียตเดิมถูกกีดกันและเมื่อขุนนางใหม่ถวายรายงานต่อจักรพรรดิมิญหมั่งว่า เลวันเสวียตผู้ล่วงลับไปแล้วซ่องสุมกำลังพลและอาวุธเตรียมก่อการกบฏ พระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงลงพระอาญาประหารชีวิตและจำคุกขุนนางเดิมของเลวันเสวียตในเวียดนามใต้จำนวนมาก รวมทั้งทรงให้กระทำการลบหลู่สุสานของเลวันเสวียต ทำให้เลวันโคย (Lê Văn Khôi) บุตรบุญธรรมของเลวันเสวียตก่อการกบฏขึ้นในพ.ศ. 2376 ยึดเมืองไซ่ง่อนเป็นฐานที่มั่น นำไปสู่[[กบฏของเลวันโคย]] (Lê Văn Khôi's Rebellion) ซึ่งมีชาวเวียดนามใต้เข้าร่วมจำนวนมาก
 
เมื่อเกิดกบฏของเลวันโคยขึ้น [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะได้ลดอำนาจของญวนซึ่งคอยให้การสนับสนุนแก่กบฏที่ต่อต้านสยามหลายครั้ง "''ครั้งองค์จันทร์เขมรเป็นกบฏหนีไป ญวนก็รับไว้ อนุเป็นกบฏหนีไป ญวนก็รับไว้ แล้วกลับแต่งขุนนางพาอนุมาตั้งบ้านตั้งเมืองอย่างเก่า ทำเหมือนเมืองเขมรเหมือนกัน มีแต่คิดเกียจกันเขตต์แดนฝ่ายไทย ข่มขี่ยกตัวขึ้นเป็นดึกวองเด่''"<ref name=":0" /> และยังทรงไม่พอพระทัยธรรมเนียมการทูตญวน เมื่อจักรพรรดิญวนส่งทูตมาถวายพระราชสาสน์ที่กรุงเทพฯโปรดฯจะให้มีพระราชสาส์นโต้ตอบกลับไปแต่ทูตญวนไม่รับทุกครั้ง แจ้งว่าให้ฝ่ายกรุงเทพฯต้องแต่งคณะทูตไปมอบราชสาส์นให้ที่เมืองเว้เอง
บรรทัด 68:
 
=== สยามยึดเมืองบันทายมาศและโจดก ===
ทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) และทัพของพระมหาเทพ (ป้อม) พระราชวรินทร์ (ขำ) ทั้งสามทัพยกออกจากกรุงเทพฯพร้อมกันในวันขึ้นสิบสองค่ำเดือนอ้ายปี พ.ศ. 2376 ทัพบกของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เดินทัพผ่านอาณาจักรเขมรได้โดยสะดวกและปราศจากการต่อต้าน เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ยกทัพถึงเมืองโพธิสัตว์พระอุไทยราชานักองค์จันกษัตริย์เขมรไม่ออกสู้รบพาเชื้อพระวงศ์และราชสำนักเขมรเสด็จหลบหนีไปยัง[[จังหวัดหวิญล็อง]]ในเวียดนามภาคใต้ ทัพเรือของเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เดินทางถึงเมืองบันทายมาศ ฝ่ายญวนไม่ได้เตรียมการรับศึกเจ้าพระยาพระคลังจึงสามารถยึดเมืองบันทายมาศได้อย่างรวดเร็วแล้วจึงล่องทัพเรือไปตามคลองหวิญเต๊เข้ายึดเมืองโจดกริม[[แม่น้ำบาสัก]] ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ[[จังหวัดอานซาง]]ได้สำเร็จ
 
ฝ่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เมื่อมาถึงเมืองพนมเปญแล้ว ให้นักองค์อิ่มนักองค์ด้วงและ[[พระยาอภัยภูเบศร (เชด)]] อยู่ที่เมืองพนมเปญ แต่เดิมเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯวางแผนเดินทัพบกไปทางตะวันออกผ่านเขตเมืองบาพนมตัดตรงเข้าสู่เมืองไซ่ง่อน แต่ทราบข่าวว่าเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) มาตั้งอยู่ที่เมืองโจดกแล้ว จึงยกทัพมาสมทบกับทัพของเจ้าพระยาพระคลังที่เมืองโจดก การเดินทัพเรือจากเมืองโจดกไปยังเมืองไซ่ง่อนต้องข้ามจากแม่น้ำบาสักไปยัง[[แม่น้ำโขง]]เพื่อลดระยะทาง แต่คลองโดยส่วนใหญ่ที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำบาสักและแม่น้ำโขงเป็นคลองขนาดเล็กทัพเรือไม่สามารถผ่านได้ มีเพียงคลองหวั่มนาว (Vàm Nao) เท่านั้นซึ่งเป็นคลองขนาดใหญ่ทัพเรือสามารถผ่านได้ คลองหวั่มนาวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งทัพเรือญวนสามารถสกัดทัพเรือสยามในตำแหน่งนี้ได้ ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อครั้ง[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|กรมหลวงเทพหริรักษ์]]ทรงยกทัพเรือมาในพ.ศ. 2327 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เปลี่ยนแผนใหม่โดยให้ทัพบกโดยส่วนใหญ่ลงเรือที่ได้มาจากกัมพูชาไปร่วมกับทัพเรือของเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ล่องไปตามแม่น้ำบาสักแทนที่จะยกไปทางตะวันออกไปทางบาพนมตามแผนเดิม เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้[[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ สนธิรัตน์)|พระยาราชนิกูล (เสือ)]] และ[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)|พระยานครราชสีมา (ทองอิน)]] นำทัพบกส่วนหนึ่งจำนวน 7,000 ยกไปทางบาพนมตามแผนเดิมไปยังเมืองไซ่ง่อน
บรรทัด 76:
=== ยุทธนาวีที่คลองหวั่มนาว ===
[[ไฟล์:Rạch Ông Chưởng.jpg|left|thumb|200x200px|แผนที่คลองหวั่มนาว (Vàm Nao) และคลององเจือง (Ông Chướng)]]
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2377 ทัพเรือสยามซึ่งนำโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกออกจากเมืองโจดกลงใต้ไปตามแม่น้ำบาสัก โดยให้[[เจ้าพระยาพลเทพ (ฉิม)]] นำทัพเรือส่วนหนึ่งล่วงหน้าไปก่อน ทัพเรือสยามพบกับทัพบกญวนเมื่อวันขึ้นสิบสองค่ำเดือนสาม ที่ปากทางเข้าคลองหวั่มนาวจากแม่น้ำบาสักทางทิศใต้ (ฝ่ายญวนเรียกคลองหวั่มนาวว่า คลองถ่วนกั๋ง Thuận Cảng) ทัพเรือญวนนำโดย"องทำตาย"และ"องจันเบีย" ''ด่ายนามถึกหลูก''กล่าวว่าแม่ทัพฝ่ายญวนในครั้งนี้คือฝั่มฮิ้วเติม (Phạm Hữu Tâm) ทัพสยามเข้าโจมตียิงปืนใส่ทัพบกญวน เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้ทัพบกสยามขึ้นบกโจมตีทัพญวน ทำให้ทัพญวนต้องล่าถอยไปยังปากคลองหวั่งนาวฝั่งเหนือทางออกแม่น้ำโขง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้กองกำลังส่วนหนึ่งไปป้องกันคลององเจือง (Ông Chướng) ไว้เพื่อไม่ให้ทัพเรือญวนอ้อมวนมาตีด้านหลังดังที่เกิดขึ้นเมื่อกรมหลวงเทพหริรักษ์ทรงยกทัพมา
 
ในระหว่างการรบที่คลองหวั่มนาว มีนายกองจำนวนหนึ่งหลบหนีไปแอบอยู่ท้ายเรือรบเนื่องจากกลัวศัตรู ซึ่งหนึ่งในนี้มีเชื้อสายของเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯอยู่ด้วย เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มีคำสั่งให้นำตัวนายกองเหล่านั้นมาตัดศีรษะประหารชีวิต
 
หลังจากที่ฝ่ายญวนล่าถอยไปตั้งที่ฝั่งทางออกแม่น้ำโขงแล้ว เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงวางแผนโจมตีค่ายญวนทั้งทางบกและทางน้ำ อีกห้าวันต่อมาแรมห้าค่ำเดือนสามเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯยกทัพพร้อมเจ้าพระยาพระคลังฯยกทัพเรือเข้าโจมตีค่ายญวนที่ปากคลองหวั่มนาวฝั่งเหนือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ให้[[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|พระยาอภัยโนฤทธิ์ (บุนนาค)]] นำกองเรือเป็นทัพหน้าเข้าโจมตีฝ่ายญวน แต่กองเรือที่ตามหลังพระยาอภัยโนฤทธิ์เกิดความเกรงกลัวศัตรูไม่ยอมถอนสมอขึ้น<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref>เพื่อแล่นเรือไปสู้กับญวน พระยาอภัยโนฤทธิ์เห็นว่าไม่มีกองเรือตามมาจึงถอยกลับ แม้ว่าเจ้าพระยาพระคลังจะลงเรือป่าวประกาศให้ทัพเรือถอนสมอขึ้นไปรบ แต่แม่ทัพนายกองเรือทั้งหลายอาทิเช่นเจ้าพระยาพลเทพ พระยาราชวังสัน ฯลฯ กลับไม่ยอมถอนสมอเรือ ฝ่ายเวียดนามเมื่อเห็นว่าทัพเรือสยามไม่เข้ามาสู้จึงถ่ายโอนกำลังให้ทัพบกไปสู้กับเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ ประกอบกับที่''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าทัพเสริมของญวนนำโดยต๊งเฟื้อกเลือง (Tống Phước Lương) มาถึงในเวลานี้พอดี ทำให้ทัพสยามของเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯเหลือเกินกำลังสู้รบจำต้องล่าถอย เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯเห็นว่านายกองฝ่ายสยามมีความขลาดต้องนำตัวไปประหารชีวิต เจ้าพระยาพระคลังฯแย้งว่าแม่ทัพนายกองเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขุนนางผู้ใหญ่พระยาพานทอง<ref name=":0" />ประหารไม่ได้ หลังจากการสู้รบสองวัน ในวันแรมเจ็ดค่ำเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงถอยทัพสยามกลับไปที่เมืองโจดก โดยให้ทัพบกค่อยๆลงเรือเล็กกลับไปเมืองโจดกโดยมีทัพเรือคอยหนุนป้องกัน
 
=== การล่าถอยของสยาม การรุกของญวน และการลุกฮือของกัมพูชา ===
ทัพสยามล่าถอยไปตั้งมั่นที่เมืองโจดก โดยเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ลำเลียงทัพเรือกลับไปยังเมืองบันทายมาศ ฝ่ายญวนยกทัพเรือตามแม่น้ำบาสักมาโจมตีเมืองโจดกในวันแรมสิบเอ็ดค่ำโจดก เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้ยิงปืนใส่ทัพญวนที่ขึ้นบกมาทำให้ทหารญวนล้มตายที่ริมตลิ่งจำนวนมากและทัพเรือญวนถอยกลับไป ฝ่ายเจ้าพระยาพระคลังซึ่งนำทัพเรือล่องผ่านคลองหวิญเต๊กลับบันทายมาศ ปรากฏว่าคลองหวิญเต๊ในเวลานั้นน้ำน้อยตื้นเขินทำให้ทัพเรือไปต่อไม่ได้ เจ้าพระยาพระคลังฯจึงให้ยกเรือขึ้นบกแล้วใช้ช้างลากไปยังเมือง[[กำปอต (เมือง)|กำปอต]] ปรากฏว่าชาวกัมพูชาในกองช้างนั้นลุกฮือขึนสังหารกองช้างฝ่ายไทยสิ้นและนำช้างไปหมด<ref name=":0" /> หลังจากที่เจ้าพระยาพระคลังละทัพเรือไปอยู๋ที่บันทายมาศแล้วในวันแรมสิบสามค่ำทัพเรือญวนมาโจมตีเมืองโจดกอีกครั้งแม้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจะต้านทานญวนได้แต่ก็เห็นว่าไม่อาจรักษาเมืองโจดกได้ จึงถอนทัพสยามออกจากเมืองโจดกไปยังเมืองเมืองเชิงกรรชุมในกัมพูชา และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ถอยออกจากเมืองบันทายมาศไปตั้งที่[[จันทบุรี]]
 
ฝ่ายกัมพูชาพระยาจักรี (หลง) และพระยายมราช (หู) ขุนนางเขมรผู้อยู่ข้างญวนเห็นว่าทัพสยามกำลังล่าถอยจึงปลุกระดมชาวกัมพูชาให้เข้าโจมตีทัพสยาม ทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯถูกชาวกัมพูชาเข้าโจมตีแบบกองโจร เมื่อเห็นว่าชาวกัมพูชาลุกฮือขึ้นต่อต้านสยามเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงให้นักองค์อิ่ม นักองค์ด้วง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (เชด) ทำลายกำแพงเมืองพนมเปญแล้วกวาดต้อนชาวเมืองพนมเปญกลับไปเมืองโพธิสัตว์ แต่ชาวเมืองพนมเปญลุกฮือขึ้นต่อต้าน เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มาพบกับนักองค์อิ่ม นักองค์ด้วง และเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่เมืองโพธิสัตว์ในวันขึ้นแปดค่ำเดือนสี่ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2377) แล้วทั้งหมดจึงล่าถอยไปอยู่ที่เมืองพระตะบอง ฝ่ายแม่ทัพญวนเจืองมิญสางและเหงียนซวนเมื่อเห็นว่าฝ่ายสยามล่าถอยกลับไปแล้ว จึงนำกำลังเข้ายึดเมืองโจดกและบันทายมาศ
บรรทัด 97:
 
== ช่วงระหว่างสงคราม พ.ศ. 2378 - 2382 ==
หลังจากที่ทัพสยามของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ถอยมาอยู่ที่เมืองพระตะบองแล้วนั้น เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (เชด) ถึงแก่อสัญกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงทรงมีตราออกไปหาเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯว่าพระราชโองการให้ตั้งนักองค์อิ่มขึ้นปกครองเมืองพระตะบองแทนที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร หลังจากจัดการเรื่องกัมพูชาจนเสร็จสิ้นแล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯในเดือนหก การล่าถอยของสยามในสงครามปีพ.ศ. 2377 ทำให้เวียดนามเข้ามามีอำนาจในอาณาจักรกัมพูชาอย่างเต็มที่นักองค์จันทร์กลับมาครองกัมพูชาดังเดิม ในปลายปีพ.ศ. 2378 เจืองมิญสางแม่ทัพญวนสามารถเข้ายึดเมืองไซ่ง่อนจากกบฏเลวันโคยได้สำเร็จ การกบฏของเลวันโคยสิ้นสุดลงทำให้เวียดนามสามารถมุ่งความสนใจมาที่กัมพูชาได้อย่างเต็มที่
 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (สมบุญ) กลับไปจัดการเรื่องเมืองพวนและเมืองหัวพันห้าทั้งหกอีกครั้ง เมื่อฝ่ายสยามเข้าครองเมืองพวนอาณาจักรเชียงขวางแล้ว เห็นว่าอาณาจักรเชียงขวางเป็นเมืองห่างไกลป้องกันยาก หากเวียดนามเข้าโจมตีอีกครั้งจะไม่สามารถป้องกันได้และจะยึดเชียงขวางเป็นเส้นทางเสบียง เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์จึงให้ปลัดเมืองพิษณุโลกและยกกระบัตรเมืองสุโขทัยกวาดต้อนเจ้าสานเมืองพวน ชาวเมืองพวน [[ชาวไทพวน]]จากเมืองพวนทั้งหมดสิ้นมาไว้ที่เมืองน่าน แพร่ ศรีสัชนาลัย พิชัย พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์<ref>e-shann.com/9042/ชุมชนลาวในภาคกลางของส-11/</ref> ทำให้อาณาจักรเชียงขวางกลายเป็นเมืองรกร้างปราศจากผู้คน เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ให้เพี้ยอรรคฮาตไปเกลี้ยกล่อมชาวไทดำไทแดงอีกครั้ง นำตัวแทนจากเมืองเหียม เมืองหัวเมือง เมืองซวน และเมืองซำเหนือ มาพบกับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ที่หลวงพระบาง บรรดาหัวเมืองของเมืองหัวพันฯจึงยินยอมเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของสยาม โดยขึ้นกับอาณาจักรหลวงพระบาง ฝ่ายเวียดนามจักรพรรดิมิญหมั่งเมื่อเห็นว่าสยามกวาดต้อนชาวไทพวนเชียงขวางไปจนหมดสิ้น บ้านเมืองว่างเปล่า จึงแต่งตั้งเจ้าโปซึ่งเป็นบุตรชาวของเจ้าน้อยมาครองเมืองพวน รวบรวมชาวไทพวนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่
บรรทัด 110:
*ให้[[เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)|พระยาราชสุภาวดี (โต)]] บูรณะกำแพงเมือง[[เสียมราฐ]]
 
พระอุไทยราชานักองค์จันกษัตริย์กัมพูชาสวรรคตเมื่อเดือนสองพ.ศ. 2377 นักองจันทร์ไม่มีโอรสมีแต่ธิดาสี่องค์ได้แก่ องค์แบน องค์มี องค์สงวน และองค์โพธิ์ พระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงตั้งองค์มีธิดาของพระอุไทยราชานักองค์จันขึ้นเป็นกษัตรีครองอาณาจักรกัมพูชาแต่ในฐานะหุ่นเชิดเท่านั้น เจืองมิญสางทูลเสนอพระจักรพรรดิมิญหมั่งให้ผนวกกัมพูชาเข้ากับเวียดนามปกครองโดยตรง ในพ.ศ. 2378 พระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงทรงยุบรวมอาณาจักรกัมพูชาเข้ามาปกครองโดยตรงกลายเป็น "มณฑลเจิ๊นเต็ย" (Trấn Tây, 鎮西) และแต่งตั้งเจืองมิญสางเป็น''เจิ๊นเตยเตื๊องเกวิน'' (Trấn Tây tướng quân, 鎭西將軍) หรือผู้บัญชาการทหารแห่งเจิ๊นเต็ยเป็นที่มาของชื่อ "องเตียนกุน" เมืองพนมเปญซึ่งญวนเรียกว่าเมืองนามวัง (Nam Vang, 南榮) หรือเมืองเจิ๊นเต็ยถ่าญ (Trấn Tây Thành) เป็นศูนย์กลางการปกครองของเวียดนามในกัมพูชา พระจักรพรรดิมิญหมั่งและเจืองมิญสางมีนโยบาลกลืนชาติกัมพูชาให้ชาวกัมพูชาเข้าสู่วัฒนธรรมจีนขงจื๊อและแต่งกายแบบญวน เจืองมิญสางให้มีการฝึกทหารกัมพูชาและเวียดนามในเมืองพนมเปญเพื่อเตรียมรับมือทัพสยาม
 
เมื่อกัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนามโดยมีเจ้าสตรีเป็นหุ่นเชิด นักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงซึ่งอยู่ที่เมืองพระตะบองจึงมีความคิดที่จะแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายญวนเพื่อให้ญวนตั้งขึ้นครองกัมพูชา "องเตียนกุน"เจืองมิญสางมีหนังสือลับมาถึงนักองค์อิ่มเกลี้ยกล่อมให้นักองค์อิ่มแปรพักตร์ เดือนสิบสอง (พฤศจิกายน) ปีพ.ศ. 2381 นักองค์ด้วงรวบรวมกำลังพลกัมพูชาในเมืองพระตะบองเพื่อเตรียมยกไปสวามิภักดิ์กับญวนที่พนมเปญ พระยาปลัดเมืองพระตะบองจึงจับคุมตัวนักองค์ด้วงส่งมายังกรุงเทพฯแล้วจำคุกไว้ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2381 นักองค์อิ่มยึดอำนาจในเมืองพระตะบองจับตัวปลัดเมืองพระตะบองรวมทั้งกรมการข้าราชการฝ่ายสยามและกวาดต้อนชาวเมืองพระตะบองเดินทางไปยังเมืองพนมเปญเพื่อสวามิภักดิ์ต่อเจืองมิญสาง เจืองมิญสางให้ประหารชีวิตกรมการผู้น้อยฝ่ายสยามที่เมืองพนมเปญ แล้วจับกุมนักองค์อิ่มและพระยาปลัดเมืองฯส่งไปที่เมืองเว้ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯทราบข่าวเมื่อเดือนมกราคมพ.ศ. 2382 จึงรีบเดินทางไปยังเมืองพระตะบองและเกณฑ์กำลังจากเขมรป่าดงเข้ามารักษาเมืองพระตะบอง
 
เดือนสิบ (กันยายน) พ.ศ. 2383 พระยาสังคโลกเจ้าเมืองโพธิสัตว์เข้าสวามิภักดิ์ต่อเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯ แจ้งสถานการณ์ของกัมพูชาว่าฝ่ายญวนกดขี่ขุนนางกัมพูชาอย่างมากและองเตียนกุนกำลังเตรียมทัพมาตีเมืองพระตะบอง บรรดาขุนนางเขมรต้องการให้นักองค์ด้วงมาครองกัมพูชา เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเกณฑ์กำลังพลจากเขมรป่าดงและอีสานมาเตรียมการสำหรับสงครามครั้งใหม่ ปลายปีพ.ศ. 2383 เมืองกัมพูชาลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของเวียดนามขึ้นทุกเมือง ''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวถึงการลุกฮือของชาวกัมพูชาชื่อว่าเลิมเซิม (Lâm Sâm) ในเวียดนามภาคใต้ พระจักรพรรดิมิญหมั่งพระราชโองการให้เจืองมิญสาง เหงียนกงจื๊อ (Nguyễn Công Trứ) และเหงียนเที้ยนเลิม (Nguyễn Tiến Lâm) นำทัพเข้าปราบการลุกฮือของกัมพูชา และให้ปลดนักองค์มีออกราชสมบัติให้เนรเทศนักองค์รวมทั้งพระขนิษฐาสององค์ไปที่เมืองเว้
บรรทัด 126:
* พระยาราชนิกูล และพระยาอภัยสงคราม นำทัพชาวลาว 2,000 คน ชาวเขมรป่าดง 11,000 คน รวม 13,000 คน เดินทางเหนือของโตนเลสาบไปช่วงพระยาเดโชขุนนางกัมพูชาเจ้าเมืองกำปงสวาย
 
ทัพของพระยาราชนิกูลเดินทางออกจากเมืองพระตะบองในเดือนสิบสอง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2383) ร่วมกับทัพเขมรของพระยาเดโช เข้ายึดเมืองกำปงธมของฝ่ายญวนและตีทัพญวนที่ค่ายชีแครงแตกไปได้ แต่หลังจากนั้นไม่นานองเตียนกุนเจืองมิญสางนำทัพเวียดนามมาตีทัพของพระยาราชนิกูลแตกและขับไล่ฝ่ายสยามออกไปลแตกไป ทัพของพระพิเรนทรเทพ พระพรหมบริรักษ์และเจ้าพระยานครราชสีมาออกจากเมืองโพธิสัตว์ในเดือนสิบสองเช่นกันเข้าล้อมเมืองโพธิสัตว์ไว้ทั้งสี่ด้าน เมืองโพธิสัตว์มี "องเดดก" อาจหมายถึงเลวันดึ๊ก (Lê Văn Đức) ป้องกันอยู่ส่งทหารญวนจากเมืองโพธิสัตว์ออกมาสู้รบ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้ขุนสนามเพลาะใช้ปืนระดงยิงใส่ป้อมเมืองโพธิสัตว์ฝ่ายญวนเสียชีวิตจำนวนมาก เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯทราบข่าวว่าทัพของพระยาราชนิกูลที่กำปงสวายถูกองเตียนกุนตีแตกไปแล้วและองเตียนกุนกำลังจะยกทัพมาช่วยเมืองโพธิสัตว์ จึงปรึกษากับเจ้าพระยานครราชสีมาว่าถ้าไม่สามารถยึดเมืองโพธิสัตว์ได้ก่อนที่องเตียนกุนจะมาถึงควรเจรจาสงบศึก เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงเจรจาสงบศึกกับองเดดกเลวันดึ๊ก เลวันดึ๊กเห็นว่าฝ่ายเวียดนามมีกำลังไม่เพียงพอที่จะป้องกันเมืองโพธิสัตว์จึงยินยอมถอนกำลังออกจากเมืองโพธิสัตว์ นอกจากนี้องเดดกยังและทำสัญญาให้ฝ่ายเวียดนามทั้งหมดล่าถอยไปอยู่ที่เมืองโจดกอีกด้วย สร้างความไม่พอใจให้แก่องเตียนกุน เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงยอมให้ขุนนางญวนเดินทางออกจากเมืองโพธิสัตว์ไปแต่โดยดี เมื่อยึดเมืองโพธิสัตว์ได้แล้วเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯเห็นว่าเมืองโพธิสัตว์ขาดเสียงไม่อาจตั้งทัพได้มีเสบียงน้อยจึงให้ขุนนางเขมรรักษาเมืองและถอยทัพกลับไปอยู่ที่พระตะบอง
 
พระเจ้ามิญหมั่งมีพระราชโองการให้ "องตาเตียงกุน"ฝั่มวันเดี๋ยน (Phạm Văn Điển) ยกทัพมาช่วยองเตียนกุน เมื่อฝั่มวันเดี๋ยนบกทัพมาถึงเมืองพนมเปญแล้วเกิดความขัดแย้งกับเจืองมิญสาง ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2384 โปรดฯให้นักองค์ด้วงไปที่เมืองพระตะบอง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงป่าวประกาศให้ชาวกัมพูชามาสวามิภักดิ์ต่อนักองค์ด้วงที่เมืองพระตะบอง [[นักองค์แบน]]พระเชษฐภคินีของนักองค์มีมีหนังสือลับถึงนักนางเทพพระมารดาที่เมืองพระตะบองว่าจะหลบหนีมาอยู่ฝ่ายสยาม ฝ่ายเวียดนามจับได้เจืองมิญสางจึงนำนักองค์แบนไปทารุณกรรมที่เมืองล่องโห้และสำเร็จโทษนักองค์แบนด้วยการถ่วงน้ำในแม่น้ำโขง พระยาจักรี (หลง) และพระยายมราช (หู) ขุนนางเขมรฝ่ายญวนพยายามทูลขอโทษพระจักรพรรดิมิญหมั่งที่เมืองเว้แต่กลับถูกจับกุมและเนรเทศไปเมือง[[ฮานอย]] พระจักรพรรดิมิญหมั่งสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2384 ทัพของเจืองมิญสางและฝั่มวันเดี๋ยนที่เมืองพนมเปญมี 20,000 คน ฝั่มวันเดี๋ยนยกทัพ 3000 คน เข้าตีเมืองโพธิสัตว์แต่ไม่สำเร็จ เจ้าพระยาบดินทรฯจึงให้นักองค์ด้วยไปรักษาเมืองโพธิสัตว์ในเดือนมีนาคม ในเดือนเมษายนเจืองมิญสางนำนักองค์อิ่ม นักองค์มี รวมทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนางเขมรซึ่งถูกจองจำอยู่ที่เว้มายังเมืองพนมเปญเพื่อเกลี้ยกล่อมชาวกัมพูชาอีกครั้ง เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงส่งนักองค์ด้วงไปอยู่ที่เมืองอุดงมีชัยเพื่อเกลี้ยกล่อมชาวเขมรเช่นกันโดยมีพระพรหมบริรักษ์เป็นผู้นำทัพถึงเมืองอุดงในเดือนพฤษภาคม
 
ในเวลานั้นอาณาจักรกัมพูชาแบ่งเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายนักองค์ด้วงที่เมืองอุดงและฝ่ายนักองค์อิ่มและนักองค์มีที่พนมเปญ พระจักรพรรดิเวียดนามพระองค์ใหม่คือพระ[[จักรพรรดิเถี่ยว จิ|จักรพรรดิเถี่ยวจิ]]ทรงมีนโยบายที่แตกต่างจากพระจักรพรรดิมิญหมั่ง ขุนนางชื่อว่าตะกวังกึ (Tạ Quang Cự) ได้กราบทูลพระจักรพรรดิเถี่ยวจิว่าสงครามในกัมพูชานั้นเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองทรัพยากรทำให้ราษฎรในเวียดนามภาคใต้ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกเกณฑ์ไปรบ จึงมีพระราชโองการให้ถอนกำลังทหารของเวียดนามออกจากกัมพูชาและเชียงขวางทั้งหมด ประกอบกับการที่เมืองพนมเปญเกิดโรคระบาดและภาวะขาดอาหาร ทำให้เจืองมิญสางจำต้องถอนกำลังออกจากกัมพูชารวมทั้งนำนักองค์อิ่มและเชื้อพระวงศ์เขมรลงใต้ไปอยู่ที่เมืองโจดกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2384 ''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าเจืองมิญสางเสียชีวิตอย่างกระทันกันที่เมืองโจดก ในขณะที่พงศาวดารไทยและเขมรกล่าวว่าองเตียนกุนเจืองมิญสางมีความเสียใจที่สูญเสียกัมพูชาจึงกินยาพิษฆ่าตัวตาย
 
=== สยามตีเมืองบันทายมาศและคลองหวิญเต๊ ===
เมื่อฝ่ายสยามเข้าครองกัมพูชาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯดำริว่าคลองหวิญเต๊ซึ่งเป็นคลองขุดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2362 ระหว่างเมืองโจดกและเมืองบันทายมาศเป็นคลองขนาดใหญ่ทำให้เวียดนามสามารถนำทัพเรือออกสู่อ่าวไทยได้ จึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชานำกำลังไปถมทำลายคลองหวิญเต๊ เจ้าพระยาบดินทรเดชาตอบว่าคลองหวิญเต๊มีกองกำลังญวนคุมอยู่เนื่องจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯล้มป่วยจึงทูลขอให้แต่งทัพเข้าตีคลองหวิญเต๊และตีเมืองบันทายมาศเพื่อเบนความสนใจ และทูลขอเสบียงอาหารเพิ่มเติมมาส่งที่เมืองกำปอต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงโปรดฯให้แต่งทัพไปโจมตีคลองหวิญเต๊และเมืองบันทายมาศดังนี้;
 
* [[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์]] ประทับเรือ''พุทธอำนาจ'' และจมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) เป็นทัพหน้าลงเรือ''เทพโกสินทร์'' นายกองอื่นๆลงเรือ''ราชฤทธิวิทยาคม'' เรือ''อุดมเดช'' และเรือ''ปักหลั่นมัจฉานุ'' นำกำลัง 2,000 คนไปรวมกับกำลังจากหัวเมืองตะวันออกได้แก่ระยอง จันทบุรี ตราด อีก 3,000 คน รวมเป็น 5,000 คน นำเสบียงไปส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯที่เมืองกำปอตและเข้าตีเมืองบันทายมาศ
บรรทัด 140:
เจ้าพระยายมราชและพระพรหมบริรักษ์นำนักองค์ด้วงออกจากเมืองอุดงในเดือนสาม (มกราคม) พ.ศ. 2385 ถึงเมืองเชิงกรรชุมส่งคนไปโจมตีคลองหวิญเต๊เป็นระยะ ทัพเรือของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ออกจากกรุงเทพฯในวันเดียวกัน กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ประทับที่จันทบุรีแล้วให้ทัพเรือของพระพิชัยรณฤทธิ์และพระราชวังสันยกไปก่อน ไปพบกับเรือฝ่ายญวนที่ช่องกระบือยิงต่อสู้กันเรือญวนถอยกลับไปยังบันทายมาศ พระยาอภัยพิพิธนำเสบียงลงเรือ''ปักหลั่นมัจฉานุ''ไปส่งให้เจ้าพระยาบดินทรเดชาที่กำปอต จากนั้นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์จึงยกทัพเรือเสด็จไปประทับที่[[เกาะฟู้โกว๊ก]]หรือเกาะกระทะคว่ำ ฝ่ายญวน"องตุมผู"เหงียนกงจื๊อทราบว่าทัพเรือสยามกำลังยกมาตีเมืองบันทายมาศจึงรายงานไปยังพระจักรพรรดิเถี่ยวจิ จึงมีพระราชโองการตามที่ใน''ดั่ยนามถึกหลุก''ให้เลวันดึ๊กเป็นเตียนกุนแม่ทัพใหญ่ ให้เหงียนจิเฟือง (Nguyễn Tri Phương) และเหงียนกงเญิน (Nguyễn Công Nhân) ป้องกันคลองหวิญเต๊ ฝั่มวันเดี๋ยนและเหงียนวันเญิน (Nguyễn Văn Nhân) ป้องกัน[[จังหวัดเหิ่วซาง]]
[[ไฟล์:Đồng lúa chín ở Cô Tô.jpg|thumb|200x200px|เขาโกนธมหรือเขาโกโต (Núi Cô Tô) ตั้งอยูทางทิศตะวันออกของเมืองบันทายมาศ อยู่ที่อำเภอจีโตน (Tri Tôn) [[จังหวัดอานซาง]]ในปัจจุบัน]]
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทรงให้จมื่นไวยวรนาถ (ช่วง) ยกทัพเข้าตีเมืองบันทายมาศ จมื่นไวยวรนาถให้พระยาอภัยพิพิธนำทัพหัวเมืองตะวันออก 600 คน และพระยาโสรัชชะเจ้าเมืองกำปอตชาวเขมรยกทัพเขมร 2,000 คนเข้ายึดเขาโกนธมหรือเขาโกโต (Núi Cô Tô) ทางทิศตะวันออกของเมืองบันทายมาศ ทำให้ฝ่ายสยามสามารถใช้ปืนใหญ่ยิงใส่เมืองบันทายมาศจากบนเขาโกนธมได้ นอกจากนี้จมื่นไวยวรนาถยังให้พระยาราชวังสันยกทัพเรือไปโจมตีป้อมหน้าเมืองบันทายมาศ และพระยาพิชัยรนฤทธิ์ยกทัพเรือไปโจมตีหอลำผี ฝ่ายสยามระดมยิงปืนใหญ่ใส่เมืองบันทายมาศทั้งทางบกและทะเล ฝ่ายองตุมผูเหงียนกงจื๊อผู้รักษาเมืองบันทายมาศจึงขอความช่วยเหลือไปยังเลวันดึ๊ก เลวันดึ๊กแม่ทัพใหญ่จึงส่งฝั่มวันเดี๋ยนนำทัพญวนมาเสริมกำลังที่เมืองบันทายมาศ ฝ่ายสยามระดมยิงใส่เมืองบันทายมาศเป็นเวลาติดต่อกันเจ็ดวันฝ่ายญวนยังสามารถยิงตอบโต้ได้ต่อเนื่อง จมื่นไวยวรนาถจึงให้เรือของพระยาพิชัยรนฤทธิ์ที่หอลำผีมาช่วยเรือของพระยาราชวังสันระดมยิงใส่ป้อมเมืองแล้วก็ยังไม่สามารถยึดเมืองบันทายมาศได้ จมื่นไวยวรนาถเห็นผิดสังเกตจึงสืบได้ความว่าฝ่ายญวนมี่กองกำลังมาเสริมแล้ว จมื่นไวยวรนาถจึงไปเข้าเฝ้าสมเด็จกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ที่เกาะฟู้โกว๊ก
 
กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ฯทรงมีพระวินิจฉัยว่า<ref name=":0" />ฝ่ายญวนนำกำลังเสริมมามากการยึดเมืองบันทายมาศทำได้ลำบาก อีกประการขณะนั้นกำลังจะเปลี่ยนฤดูมรสุมหากลมจากทิศตะวันตกพัดแรงขึ้นจะพัดกองเรือกำปั่นหลวงให้ได้รับความเสียหาย จึงมีพระบัญชาให้ถอนทัพสยามออกจากเมืองบันทายมาศทั้งหมดในเดือนห้า (เมษายน) พ.ศ. 2385 ฝ่ายญวนเหงียนจิเฟืองนำทัพเข้าโจมตีค่ายของพระยาอภัยพิพพิธและพระยาโสรัชชะบนเขาโกนธมแตกพ่ายไป ทัพเรือที่หอลำผีนั้นก็ถูกลมมรสุมตะวันตกพัดจนตั้งอยู่ไม่ได้ต้องถอยออกมา
บรรทัด 149:
 
=== ช่วงระหว่างสงครามพ.ศ. 2386 - 2388 ===
ผลของหลังจากสงครามปีพ.ศ. 2385 การถมคลองหวิญเต๊กระทำไม่สำเร็จและการส่งสะเบียงให้แก่เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯทำได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อาณาจักรกัมพูชามีนักองค์ด้วงปกครองอยู่ที่เมืองอุดงภายใต้ความคุ้มครองของพระพรหมบริรักษ์โดยมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) กำกับอยู่ที่เมืองพนมเปญ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯให้รื้อป้อมปราการของญวนที่นอกเมืองพนมเปญลงและสร้างป้อมใหม่ทางทิศใต้ ให้ชาวลาวจากนครราชสีมาจำนวน 5,000 คนและทหารเขมรอีก 3,000 คนรักษาเมืองพนมเปญ และให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ไปคุมการขุดคลองพระยาลือและการสร้างป้อมขึ้นที่เมืองอุดง
 
ฝ่ายเวียดนามนำโดย"จงตก"เหงียนจิเฟืองตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโจดกได้ส่งนักองค์อิ่มมาอยู่ที่เมืองโจดกและส่งพระสงฆ์ออกไปเกลี้ยกล่อมชาวกัมพูชา แต่ทว่านักองค์อิ่มถึงแก่พิราลัยในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2386 โดยที่นักองค์อิ่มไม่มีโอรสมีแต่ธิดาคือนักองค์ภิม ทำให้ฝ่ายญวนขาดเจ้ากัมพูชาที่เป็นชายอีกครั้ง เจ้าหญิงกัมพูชาที่อยู่กับญวนได้แก่นักองค์มี นักองค์สงวน นักองค์โพธิ์ และนักองค์ภิม รวมทั้งนักนางรศมารดาของนักองค์ด้วง
บรรทัด 167:
 
ในการล้อมเมืองอุดงนั้นเอกสารฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนามให้รายละเอียดต่างกัน พงศาวดารไทยกล่าวว่าเมื่อฝ่ายเวียดนามเข้าโจมตีเมืองอุดงเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯสามารถนำทัพขับทหารเวียดนามออกไปได้และแบ่งกำลังออกไปตีค่ายกำพงหลวงและพระยาลือ ในขณะที่''ดั่ยนามถึกหลุก''กล่าวว่าทั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯและเหงียนจิเฟืองต่างเห็นว่าการล้อมเมืองอุดงยืดเยื้อไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้นำไปสู่การเจรจาสงบศึก
 
ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ. 2390 เพราะทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง
 
=== การเจรจา ===