ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชินจิไต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
คำ_ตัว
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ชินจิไต''' (ชินจิไต: 新字体; [[คีวจิไต]]: 新字體; แปลว่าไทย
'''ชินจิไต''' (ชินจิไต: 新字体; [[คีวจิไต]]: 新字體; แปลว่า อักษรแบบใหม่) เป็นรูปแบบของตัวอักษร[[คันจิ]]ที่ใช้ในประเทศ[[ญี่ปุ่น]]ตั้งแต่การประกาศใช้ชุดอักษร[[โทโยคันจิ]] (当用漢字 ''Tōyō kanji'') หรือ "คันจิที่ใช้ทั่วไป" ที่ใช้มาตั้งแต่ [[พ.ศ. 2489]] ตัวอักษรชินจิไตบางตัวเป็นตัวอักษรเดียวกับ[[อักษรจีนตัวย่อ]] แต่อักษรชินจิไตจะมีหลักการย่อตัวอักษรที่แคบกว่า[[อักษรจีนตัวย่อ]] อย่างไรก็ตาม อักษรคันจิของญี่ปุ่นในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกับ[[อักษรจีนตัวเต็ม]]มากกว่า แต่มีจำนวนน้อยกว่าตัว[[อักษรจีน]]ที่ใช้กันใน[[ภาษาจีน]]ในปัจจุบันหลายเท่า เนื่องจากมีคำใน[[ภาษาญี่ปุ่น]]จำนวนมากต้องเขียนด้วยอักษร[[ฮิระงะนะ]]เท่านั้น เช่น คำง่ายๆ และคำช่วย เป็นต้น และยังมีคำที่ต้องเขียนด้วยอักษร[[คะตะคะนะ]] เช่น [[คำเลียนเสียงธรรมชาติ]] คำทับศัพท์ และชื่อสัตว์บางชนิด เป็นต้น
 
อักษรแบบชินจิไต สร้างมาจากการย่อจำนวนขีดของอักษรแบบ[[คีวจิไต]] (旧字体/舊字體 ''Kyūjitai'') หรืออักษรแบบเก่า ซึ่งเทียบได้กับ[[อักษรจีนตัวเต็ม]] (ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า “เซจิ” (正字 ''seiji'') แปลว่าอักษรที่ถูกต้อง) หลักการย่อ คือ จะย่อส่วนขวาของอักษร[[คันจิ]]ที่เรียกว่า “ทสึคุริ” (旁 ''tsukuri'') ซึ่งเป็นส่วนบอกเสียงองของคันจิตัวนั้น โดยนำตัวอักษรที่มีเสียงองเดียวกัน แต่มีจำนวนขีดน้อยกว่ามาใส่แทน อีกวิธีหนึ่ง คือ ย่ออักษรส่วนที่เขียนซับซ้อน ด้วยตัวที่เขียนง่ายกว่า (จำนวนขีดน้อยกว่า)