ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตะโดธรรมราชาที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
วาสุเทพ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
==พระเจ้าแปรในฐานะประเทศราช==
===เส้นทางการขึ้นครองราชย์===
หลังการล่มสลายของ[[อาณาจักรพุกาม]] [[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]ทรงปรารถนาจะขยายพระราชอำนาจ แห่งอาณาจักรตองอูให้แผ่ไพศาล ทรงเริ่มประกาศสงครามเพื่อรวบรวมอาณาจักร โดยทรงมีเมงเยสีหตูและตะโดธรรมราชาเป็นที่ปรึกษาในราชการทั้งการปกครองและการศึกสงคราม แต่ทั้งสองนั้นก็มิได้เชี่ยวชาญยุทธวิธีนัก จึงมักได้รับโปรดเกล้าให้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อทรงกรีฑาทัพไปทำศึก พระองค์เคยสำเร็จราชการกรุง[[หงสาวดี]]แทนพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไปตีเมือง[[เมาะตะมะ]] รบกับ[[สอพินยา]] ในปี พ.ศ. 2083 ครั้งที่ 2 เมื่อทรงยกทัพไปตีเมืองแปร รบกับกับ[[พระเจ้ามังฆ้องแห่งแปร|พระเจ้ามังฆ้อง]] เมื่อสำเร็จโทษพระเจ้ามังฆ้องแล้ว ก็จึงตั้งตะโดธรรมราชาให้ครองเมืองแปร
 
===สงครามกับอาณาจักรสยาม===
{{main|สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้}}
[[File:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|สมเด็จพระสุริโยทัย (กลาง) ยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรตะโดธรรมราชา (ซ้าย) ป้องกัน[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (ขวา).]]
ในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงกรีฑาทัพใหญ่ หมายจะพิชิตกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในทัพก็มีพระเจ้าแปรตะโดธรรมราชาและเมงเยสีหตู นำทัพมาร่วมด้วย ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าแปรทรงเป็นทัพหน้า เข้าตีทัพของ[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช|พระมหาธรรมราชา]] เจ้าเมืองพิษณุโลก แล้วล่าถอยมา ซึ่งมีทัพของพระยาพะสิม และ[[พระเจ้าบุเรงนอง|พระอุปราชบุเรงนอง]]ซุ่มรออยู่ ทัพเมืองพิษณุโลกต้องกลศึกกระหนาบ ทัพหลวงของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้นำทัพเข้าสมทบตีทัพพระมหาธรรมราชา ขณะนั้น [[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]]นำทัพหลวงมาสมทบตีโต้ และได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร พระองค์ทรงเสียทีพระเจ้าแปร เบี่ยงพระคชาธารหนี [[สมเด็จพระสุริโยทัย]] เบี่ยงพระคชาธารเข้ามารับแทน และถูกพระเจ้าแปรฟันด้วยพระแสงของ้าว สิ้นพระชนม์ขาดคอช้าง [[พระบรมดิลก]]เข้าสัประยุทธ์กับพระเจ้าแปร ก็ถูกฟันขาดคอช้างเช่นเดียวกัน อย่างไรเสีย เหตุการณ์เสียพระสุริโยทัยนี้ ไม่มีในฝ่ายพงศาวดารพม่า
 
หลังจากที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ถอยทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทรงขึ้นไปตีหัวเมืองเหนือ พระเจ้าแปร เข้าตีเมืองกำแพงเพชร แต่มิสามารถหักเอาเมืองได้ ฝ่ายอยุธยา นำโดยพระมหาธรรมราชา พระราเมศวร พระมหินทร์ นำทัพไปตามตีทัพหงสาวดี แต่ถูกกลศึกพระอุปราชบุเรงนองปิดล้อม โดยมีทัพพระเจ้าแปร ไพร่พล 1,500 นาย ช้าง 50 เชือก ม้า 300 ตัว เป็นปีกขวา และเมื่อจับกุมทั้งหมดเป็นเชลยศึกได้ ทำให้สถานการณ์ขณะนั้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องส่งช้างเผือกไปไถ่พระโอรสและพระชามาดาออกมา
 
==พระเจ้าแปรในฐานะเอกราช==
หลังจากสงครามกับสยามเพียงหนึ่งปี วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2093 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ก็ถูกลอบปลงพระชนม์โดย[[สมิงสอตุด]] เมื่อพระเจ้าตะโดธรรมราชาทราบข่าว จึงชิงประกาศตัวขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งพุกามประเทศ แทนที่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เถลิงพระนามว่า '''พระเจ้าตะโดตู''' ประกาศเป็นกษัตริย์เอกราช ไม่ขึ้นกับหงสาวดี
 
เมื่อบุเรงนอง เสร็จศึกจากเมืองทะละ ก็กลับมาปราบกบฏ กู้ราชบัลลังก์ ขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตริย์ หลังทรงเสด็จไปปราบ[[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|พระเจ้ามังฆ้อง (สีหตู)]] ซึ่งเป็นพระอนุชาแล้ว ก็ทรงยกทัพไปปราบเมืองแปร ทัพของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] ไพร่พล 9,000 นาย ม้า 300 ตัว ช้าง 25 เชือก เข้าปิดล้อมเมืองแปร แต่ทัพเมืองแปรนั้นมีปืนใหญ่และปืนคาบศิลาที่ทรงอานุภาพ ยากแก่การเข้าตี สุดท้าย ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2094 ก็ทรงถอยทัพออกจากแปร แต่ในไม่ช้า พระองค์ก็ทรงนำทัพใหญ่กว่าครั้งก่อน เข้าปิดล้อมเมืองแปรอีกครั้ง พระเจ้าบุเรงนองทรงระดมไพร่พลเข้าปล้นเมืองทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาด ระดมยิงปืนใหญ่เข้าโทรมเมือง วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2094 เวลาเที่ยงคืน การป้องกันภายในเมืองแปรระส่ำระสาย พระเจ้าบุเรงนองทรงบัญชาให้ พระเจ้ามังฆ้องทรงพระคชาธารเข้าชนประตูเมืองแปร จนประตูเมืองแตก ทัพหงสาวดีจึงเข้าเมืองแปรได้ พระเจ้าตะโดตู จะทรงเสด็จหนีไปยะไข่ แต่ก็ถูกกุมตัวไว้ได้ พระเจ้าบุเรงนอง จึงสั่งสำเร็จโทษพระเจ้าตะโดตู แม้จะทรงมีพระยศเสมือนพระปิตุลาก็ตามที แล้วทรงราชาภิเษก นันทโยธา พระอนุชาของพระองค์ เป็นพระเจ้าแปรองค์ใหม่ คือ [[ตะโดธรรมราชาที่ 2]]
 
==อ้างอิง==