ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8810667 สร้างโดย 2403:6200:8813:A4F9:D012:3EB2:EE87:363 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
แก้คำตกหล่นที่เติมลงไปถูกต้องแล้วครับ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 53:
ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 คจร. ได้มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 โดยคำนึงถึงการขยายตัวของเมืองและแนวโน้มการพัฒนาเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กรุงเทพมหานครจึงได้นำส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าธนายงเดิมทั้ง 5 ระยะกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณาอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับส่วนต่อขยายทั้ง 5 ระยะ อันได้แก่ ส่วนต่อขยายช่องนนทรี–พระราม 3 ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ–พรานนก ส่วนต่อขยายอ่อนนุช–ลาดกระบัง ส่วนต่อขยายอ่อนนุช–แบริ่ง และส่วนต่อขยายอ่อนนุช–วัดศรีเอี่ยม ซึ่งส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนก และส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง เป็นส่วนต่อขยายที่ถูกเสนอให้บรรจุลงในแผนแม่บท URMAP เมื่อครั้งการปรับปรุงแผนแม่บทเมื่อ พ.ศ. 2543 ก่อนถูกปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงใน พ.ศ. 2547 (แผนแม่บท BMT) ในขณะที่ส่วนต่อขยายอื่นๆ ไม่ได้ถูกนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเนื่องมาจากมีข้อกังขาด้านการลงทุน ประกอบการสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นยังไม่ฟื้นตัวดี
 
อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานครไม่ได้ล้มเลิกโครงการไปทั้งหมด แต่ได้นำเอาเส้นทางอ่อนนุช–วัดศรีเอี่ยม มาดัดแปลงและขยายให้ไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บท CTMP เดิม เพื่อเป็นการขยายเส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ไปเชื่อมกับท่าอากาศยานโดยอาศัยเส้นทางตามแนว[[ถนนเทพรัตน]] จึงได้ริเริ่มจากการก่อสร้างโครงสร้างโยธารองรับไว้บางส่วนเมื่อครั้งการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงอ่อนนุช–แบริ่ง และยังได้รับความร่วมมือจาก บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ที่ยินดีสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการธนาซิตี้เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ รวมถึงยังได้รับความเห็นชอบจากบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้มีการปรับแบบการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้โดยเฉพาะ และจากจังหวัดสมุทรปราการที่เห็นชอบและสนับสนุนให้มีระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเพื่อที่จะได้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อันเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ
 
โครงการดังกล่าวถูกนำพิจารณาขึ้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหลายครั้ง และได้ถูกนำเสนอขึ้นต่อ [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]] เพื่อบรรจุลงแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง แต่ได้รับข้อวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการก่อสร้างเส้นทางอย่างต่อเนื่อง แต่กรุงเทพมหานครก็ยังคงผลักดันแนวคิดของโครงการให้สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชานในบริเวณดังกล่าว ซึ่งต่อมาเส้นทางสายนี้เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องที่ได้รับการบรรจุลงในร่างแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่สอง ซึ่งจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มเติมถึง 10 เส้นทางที่ขยายเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต และ[[กรมการขนส่งทางราง]] (สถานะปัจจุบันของ สำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง [[สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร]]) ยังได้ร่วมมือกับ [[องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น]]ได้พิจารณาต่อขยายเส้นทางไปตามถนนสรรพาวุธ และถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับโครงการพัฒนา[[สถานีรถไฟแม่น้ำ]]บริเวณถนนพระรามที่ 3 เพื่อเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่จะขนส่งผู้โดยสารเข้าสถานีหลักของกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว