ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจริญ เชาวน์ประยูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
ต่อมาได้ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] ในปี พ.ศ. 2522 สังกัด[[พรรคกิจสังคม]] ซึ่งได้รับเลือกตั้งเนื่องจากตอนเป็นครูโรงเรียนบูรณศักดิ์ จึงได้รับคะแนนจากลูกศิษย์จำนวนมาก เอาชนะ[[เจ้าบุญเลิศ ณ เชียงใหม่]] อดีต ส.ส.เชียงใหม่ จากนั้นได้รับเลือกตั้งในอีก 5 สมัยต่อมา คือ สมัยที่สองในปี พ.ศ. 2526 สังกัด[[พรรคกิจสังคม]] ในปี พ.ศ. 2529 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคกิจประชาคม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/A/098/1.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)]</ref> แต่ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัด[[พรรคสหประชาธิปไตย]] ที่มีนาย[[บุญเท่ง ทองสวัสดิ์]] เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งการเลือกตั้งในปี 2529 เขาได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 101,480 คะแนน มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของประเทศ รองจากณรงค์ วงศ์วรรณ และนิพนธ์ พร้อมพันธุ์<ref>รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529</ref> ในปี พ.ศ. 2531 สังกัด[[พรรคเอกภาพ]] โดยได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/007/10.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค]</ref> และปี พ.ศ. 2535 ได้ร่วมก่อตั้ง[[พรรคสามัคคีธรรม]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/006/8.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)]</ref> ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งในสังกัด[[พรรคชาติพัฒนา]]<ref>[http://kpi.ac.th/kpith/pdf/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.pdf '''นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่'''. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551]</ref>
 
นายเจริญ เคยได้รับตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/250/1.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)]</ref> นอกจากนี้เคยได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมัยรัฐบาล[[พลเอกสุจินดา คราประยูร]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/070/6064.PDF คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 68/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง]</ref> เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/137/11997.PDF</ref>
 
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายเจริญ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัด[[พรรคราษฎร]]<ref>[http://www.khonthai.com/Election/Result/SS/5009100130013.html ประวัติผู้สมัคร ส.ส.]</ref> แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 3 รองจากนาย[[ยงยุทธ สุวภาพ]] จากพรรคประชาธิปัตย์ และนาย[[ทวีศักดิ์ สุภาศรี]] จากพรรคไทยรักไทย และได้คะนนใกล้เคียงกับนาย[[ณรงค์ นิยมไทย]] จากพรรคความหวังใหม่ คือประมาณ 2 พันคะแนนเศษ<ref>http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf</ref><ref>[http://www.khonthai.com/Election/Result/Informal/cc50.html ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่]</ref>