ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะเพียนขาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
}}
 
'''ปลาตะเพียนขาว''' หรือ '''ปลาตะเพียนเงิน''' หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า '''ปลาตะเพียน'''<ref name="ปลา"/> ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Barbonymus gonionotus}}) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ใน[[วงศ์ปลาตะเพียน]] (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน [[ภาคอีสาน]]เรียกว่า "ปลาปาก"
 
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลา[[ปลาตะเพียนสาน|ตะเพียนใบลาน]]<ref name="ปลา"/> มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น [[มาเลเซีย]], [[บอร์เนียว]], [[อินโดนีเซีย]] แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 [[เซนติเมตร]] (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย)<ref>[http://www.fishing-worldrecords.com/scientificname/Barbonymus%20gonionotus/show Fishing World Records]</ref>) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้น[[แม่น้ำสาละวิน]] อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็น[[ภาวะผิวเผือก|ปลาเผือก]] ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบ[[พีเอช (เคมี)|ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ]] (pH) หรือความเข้มข้นของ[[คลอรีน]] ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ<ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=Nanconnection
|ชื่อหนังสือ=(แอบ) คุยเรื่องปลาตู้โครงการ 2. ตอน ปลาอโรตัวเป็นวาน่าเลี้ยง
บรรทัด 41:
</ref>
 
มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-2–3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ <ref name="ปลา">{{cite web|url=http://tvshow.tlcthai.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2-25%E0%B8%81%E0%B8%A258/|title=กบนอกกะลา ตอน ปลาตะเพียน เรื่องเยอะก้างแยะ ดูรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง 25 กันยายน 2558 |date=25 September 2015|accessdate=26 September 2015|publisher=ช่อง 9}}</ref>
 
มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือ[[ปลาส้ม]] นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก<ref>[http://www.agriculturesnetwork.org/magazines/global/searching-synergy/women-integrate-fish-and-farming Women integrate fish and farming]</ref><ref>{{cite web|url=http://www.fao.org/fi/website/FIRetrieveAction.do?dom=countrysector&xml=naso_thailand.xml|title=National Aquaculture Sector Overview - Thailand|publisher=Food and Agriculture Organization of the United Nations}}</ref>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}